เทวรูปพระโพธิสัตว์ตารา
เทวรูปพระโพธิสัตว์ตารา | |
---|---|
วัสดุ | สำริดปิดทอง |
ขนาด | สูง 143 เซนติเมตร |
สร้าง | ศตวรรษที่ 7-8 |
ที่อยู่ปัจจุบัน | พิพิธภัณฑ์บริทิช ลอนดอน |
เลขประจำตัว | 1830,0612.4 |
เทวรูปพระโพธิสัตว์ตารา (อังกฤษ: Statue of Tara) เป็นประติมากรรมสำริดปิดทองแสดงภาพของพระโพธิสัตว์ตารา จากศรีลังกา อายุราวศตวรรษที่ 7-8 บ้างเชื่อว่าเทวรูปนี่ไปลักขโมยมาจากกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกัณฏิในช่วงที่อังกฤษเข้ายึดครองกัณฏิในต้นศตวรรษที่ 19 เทวรูปนี้ได้ถูกส่งมอบให้กับพิพิธภัณฑ์บริทิชในปี 1830 โดยผู้ว่าการซีลอนของอังกฤษ รอเบิร์ท บราวริง[1]
ภูมิหลัง
[แก้]เกาะศรีลังกามีประวัติศาสตร์การนับถือศาสนาพุทธมาอย่างยาวนาน ย้อนกลับไปได้ถึง 300 ปีก่อนคริสต์กาล เทวรูปนี้มาอายุในสมัยอาณาจักรอนุราธปุระ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ 377 ปีก่อนคริสต์กาล โดยกษัตริย์ปาณทุกาภัย ศาสนาพุทธมีส่วนสำคัญและอิทธิพลอย่างมากต่อวัฒนธรรม กฎหมาย การปกครอง ของอนุราธปุระ เทวรูปพระนางตารานี้แสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างศาสนาพุทธกับฮินดู พระนางตาราเดิมทีเป็นเทวีมารดาในคติของฮินดู และต่อมาได้รับการเปลี่ยนแบบใหม่เป็นเทวสตรีในศาสนาพุทธ[2] ปัจจุบัน ศรีลังกาเป็นประเทศเถรวาท[3] ในช่วงหนึ่งเคยเชื่อว่าเทวรูปนี้เป็นของเทพารักษ์ ปัฏฏิณี แต่ในปัจจุบันเป็นที่เห็นพ้องต้องกันว่าเป็นเทวรูปพระนางตารา[4]
เทวรูปนี้ทำให้ได้ข้อเสนอว่าอาจมีการบูชาพระนางตาราในฐานเทพเจ้า ไม่ใช่เพียงในฐานะพระชายาของเทวบุรุษอีกองค์[5] โดยทั่วไปแล้วเทวรูปนี้น่าจะประดิษฐานอยู่ในวิหาร เคียงข้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร[6] พระโพธิสัตว์ หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่สามารถตรัสรู้หลุดพ้นจากสังสารวัฏแล้ว แต่ได้ถอนตัวออกมาด้วยความเมตตา ประสงค์จะช่วยมุนษยชาติให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารของการเวียนว่ายตายเกิดเช่นกัน[6]
ลักษณะ
[แก้]เทวรูปแสดงเทวสตรีในอิริยาบถยืน ทำมาจากสำริดหล่อสูญขี้ผึ้ง มีขนาดราว 3/4 ของมนุษย์จริง และลงรักปิดทองเพื่อให้มีรูปแบบแสดงที่หรูหราและเป็นทองคำ ทรวดทรงของเทวรูปตอนบนคล้ายนาฬิกาทราย ไม่มีอาภรณ์ปกคลุม ในขณะที่ตอนล่างมีอาภรณ์คลุมมัดกับตะโพกยาวประเข่า มือขวาเป็นมุทราแสดงการมอบ ส่วนมือซ้ายเข้าใจว่าถือดอกบัวซึ่งปัจจุบันสูญหายไปแล้ว เทวรูปสวมมงกุกทรงสูงประดับประดาอย่างวิจิตร รูเปล่าในมงกุฏเข้าใจว่าเคยฝังอัญมณีล้ำค่าขนาดใหญ่ไว้[4] เทวรูปนี้ถือเป็นชิ้นงานที่มีขนาดเดียวกันจากอนุราธปุระชิ้นเดียวที่ยังเหลือถึงปัจจุบัน มูลค่าของเทวรูปยังมาจากการผลิต เทวรูปนี้ไม่ได้กลวงภายใน แต่แน่นด้วยโลหะราคาสูงที่ใช้เทคนิคการหล่อสูญขี้ผึ้งซึ่งถือว่าล้ำหน้ามาก[2]
การค้นพบ
[แก้]ว่ากันว่าเทวรูปนี้ถูกลักขโมยมาโดยผู้ว่าการซีลอนของอังกฤษในเวลานั้น รอเบิร์ท บราวริง ขโมยมาจากกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกัณฏิ ในสมัยที่อังกฤษเข้ายึดครองกัณฏิ[1] จากนั้นเขาได้บริจาคเทวรูปนี้แก่พิพิธภัณฑ์บริทิชในทศวรรษ 1830 ในขณะที่หลักฐานอีกชุดหนึ่งที่พิพิธภัณฑ์บริทิชใช้ ระบุว่าเทวรูปถูกค้นพบง่าย ๆ ในทศวรรษ 1800 ตอนต้น สักที่ระหว่างตริณโกมาลี และ ปัฏฏิกาลัว บนชายฝั่งตะวันออกของศรีลังกา และต่อมาได้มาอยู่เป็นสมบัติของรอเบิร์ท[7] กัณฏิมาอยู่ภายใต้ปกครองของอังกฤษในเดือนมีนาคม 1815 ภายใต้ข้อตกลงของการประชุมกันทยันที่รอเบิร์ทจัดขึ้น[8]
เมื่อครั้นพิพิธภัณฑ์บริทิชได้ถือครอบครองเทวรูปในทศวรรษ 1830 ได้มีความกังวลว่าหน้าอกเปลือยขนาดใหญ่ของเทวรูป, เอวคอด และตะโพกที่เป็นทรงโค้งของเทวรูปนั้นจะอีโรติก (erotic) เกินไปสำหรับการจัดแสดงให้สาธารณชนได้ดู เทวรูปจึงไม่ถูกนำมาจัดแสดงสู่สาธารณะเป็นเวลาสามสิบปี[2] เทวรูปนี้สามารถเข้าถึงได้โดยนักวิชาการที่จะศึกษาเท่านั้น ถึงแม้ว่ารู้กันอย่างแน่ชัดว่าเป้ามหายของเทวรูปนี้มีไว้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนา ไม่ใช่เอาไว้กระตุ้นทางเพศ การเข้าถึงเพื่อศึกษาทางวิชาการนี้คล้ายคลึงอย่างมากกับสถานะของเทวรูปตั้งแต่สมัยโบราณในศรีลังกา ซึ่งว่ากันว่าเฉพาะนักบวชระดับสูงเท่านั้นจะสามารถชมเทวรูปนี้ได้ และประชาชนทั่วไปไม่สามารถมองเห็นเทวรูปได้เลย[2] พิพิธภัณฑ์บริทิชยังมีของสะสมอีกจำนวนหนึ่งจากปี 1830 ที่ถูกมองว่าอีโรติกเกินไป ในทศวรรษ 1860 ของสะสมเหล่านี้ได้รับการติดป้ายให้เป็น "Secretum" ของพิพิธภัณฑ์[9]
องค์จำลอง
[แก้]ปัจจุบันมีการจัดสร้างและประดิษฐานเทวรูปองค์จำลองอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติโกลัมโบ ในประเทศศรีลังกา[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Greenfield, Jeanette (1996). The return of cultural treasures (2nd ed.). Cambridge: Cambridge university press. p. 132. ISBN 0521477468.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Episode 54 – Statue of Tara, BBC, retrieved 25 July 2014
- ↑ Buddhism in Sri Lanka, buddhanet.net, retrieved 9 December 2013
- ↑ 4.0 4.1 Statue of Tara, Highlights, British Museum, accessed 9 December 2013
- ↑ 5.0 5.1 The female as Cult Object in Buddhism เก็บถาวร 2021-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Digital Library, retrieved 10 December 2013
- ↑ 6.0 6.1 Datta, Sona. "Statue of Tara". BBC.
- ↑ figure, Collection Online, British Museum, retrieved 9 December 2013
- ↑ The signing of the Kandyan Convention เก็บถาวร 2013-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, S. B. Karalliyadda, 25 February 2006, LankaLibrary, retrieved 9 December 2013
- ↑ Gaimster, David (2000). "Sex and Sensibility at the British Museum". History Today. 50 (9). สืบค้นเมื่อ 25 July 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- W. Zwalf (ed.), Buddhism: art and faith (London, The British Museum Press, 1985)
- R.E. Fisher, Buddhist art and architecture (London, Thames & Hudson, 1993)
- R. Thapar, The Penguin History of Early India from the Origins to AD 1300 (London, 2002)
- K.M. De Silva, A History of Sri Lanka (Berkeley, 1981)
- R. Coningham et al., "The State of Theocracy: Defining an Early Medieval Hinterland in Sri Lanka", Antiquity, 81 (2007), 699–719