ข้ามไปเนื้อหา

เซอร์เบียในสงครามยูโกสลาเวีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดินแดนของสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาและสาธารณรัฐโครเอเชียควบคุมโดยกองกำลังเซิร์บในบอสเนียและโครเอเชีย หลังจากปฏิบัติการซอรีดอร์ (กรกฎาคม 1992)
อนุสาวรีย์รำลึกถึงเหยื่อในสงครามยูโกสลาเวียในกรุงเบลเกรด

เซอร์เบีย ได้มีส่วนร่วมในสงครามยูโกสลาเวีย ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างปี 1991 ถึงปี 1999 โดยมีสงครามสิบวัน สงครามประกาศอิสรภาพโครเอเชีย สงครามบอสเนีย และสงครามคอซอวอ โดยตั้งแต่ปี 1991 ถึงปี 1997 สลอบอดัน มีลอเชวิช ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเซอร์เบียในช่วงที่เซอร์เบียเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย (FRY) แต่ศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (ICTY) ได้กำหนดว่ามีลอเชวิชเป็นผู้ควบคุมกองกำลังเซิร์บในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาและโครเอเชียในช่วงสงครามมีการสู้รบตั้งแต่ปี 1991 ถึงปี 1995[1][2][3][4][5]

สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนกองกำลังกบฏเซิร์บในโครเอเชียและบอสเนีย จึงได้ถูกองค์กรและสถาบันระหว่างประเทศส่วนใหญ่ระงับการเป็นสมาชิก และมีการบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการเมือง[5] ซึ่งส่งผลให้เกิดหายนะทางเศรษฐกิจและผู้คนจำนวนมหาศาลอพยพออกนอกประเทศ การทิ้งระเบิดของเนโทในยูโกสลาเวียในช่วงสงครามคอซอวอสร้างความเสียหายอย่างมากต่อโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจของประเทศ หลังสงครามยูโกสลาเวีย เซอร์เบียกลายเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศจำนวนมากที่สุดในยุโรป

หลังจากการขึ้นสู่อำนาจของมีลอเชวิชและการปะทุของสงครามยูโกสลาเวีย ขบวนการต่อต้านสงครามก็ได้เพิ่มขึ้นในเซอร์เบียเป็นจำนวนมาก คาดว่ามีผู้คนระหว่าง 50,000 ถึง 200,000 คนถูกปลดจากกองทัพประชาชนยูโกสลาเวีย ในขณะที่ผู้คนระหว่าง 100,000 ถึง 150,000 คนอพยพออกจากเซอร์เบียหลังจากปฏิเสธที่จะเข้าร่วมสงคราม การโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลมีลอเชวิชมีบทบาทสำคัญในสงคราม

หลังจากพรรคของมีลอเชวิชพ่ายแพ้การเลือกตั้งท้องถิ่นเมื่อปี 1996 การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในปี 1996-1997 และการคว่ำบาตรการเลือกตั้งปี 1997 โดยฝ่ายค้าน เนื่องจากการเลือกตั้งที่ผิดปกติ พันธมิตรฝ่ายค้านได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในปี 2000 นำไปสู่การโค่นล้มมีลอเชวิชและยูโกสลาเวียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหประชาชาติ และได้จับกุมมีลอเชวิชเพื่อส่งผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อเข้ารับการพิจารณาคดีในข้อหาอาชญากรสงคราม

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Weighing the Evidence". Human Rights Watch. 13 December 2006. สืบค้นเมื่อ 18 November 2010.
  2. "Croatia Human Rights Practices, 1993". US Department of State. 31 January 1994. สืบค้นเมื่อ 13 December 2010.
  3. René van der Linden (29 March 1996). "Croatia's request for membership of the Council of Europe – Report". Council of Europe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2012. สืบค้นเมื่อ 17 January 2011. The Yugoslav National Army (JNA), under Mr Milošević's control, prevented Croatian authorities from restoring law and order.
  4. "The former Yugoslavia - Conflicts". The Hague: ICTY. สืบค้นเมื่อ 23 April 2011.
  5. 5.0 5.1 "Resolution 47/121, 91st plenary meeting, The situation in Bosnia and Herzegovina". United Nations General Assembly. 18 December 1992. สืบค้นเมื่อ 23 April 2011. Gravely concerned about the deterioration of the situation in the Republic of Bosnia and Herzegovina owing to intensified aggressive acts by the Serbian and Montenegrin forces to acquire more territories by force, characterized by a consistent pattern of unacceptable and systematic violations of human rights, a burgeoning refugee population resulting from mass expulsions of defenceless civilians from their homes and the existence in Serbian and Montenegrin controlled areas of concentration camps and detention centres, in pursuit of the abhorrent policy of "ethnic cleansing", considered a form of genocide. Strongly condemning Serbia and Montenegro and their surrogates in the Republic of Bosnia and Herzegovina for their continued non-compliance with all relevant United Nations resolutions, Deeply regretting that the sanctions imposed by the Security Council have not had the desired effect of halting the aggressive acts by Serbian and Montenegrin irregular forces and the direct and indirect support of the Yugoslav People's Army for the aggressive acts in the Republic of Bosnia and Herzegovina.