ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่
เจ้าหญิงจังหวัดเชียงใหม่
พระสวามีเจ้ากุย สิโรรส (หย่า)
พระยาวิสูตรสาครดิษฐ์ (สาย โชติกเสถียร)
เจ้าราชภาคินัย (เมืองชื่น ณ เชียงใหม่)
พระธิดาเจ้าสร้อยดารา สิโรรส
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระบิดาเจ้าแก้วนวรัฐ
พระมารดาเจ้าจามรีวงศ์
ศาสนาพุทธ

เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ เป็นพระธิดาในเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นพี่สาวของเจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) และเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่)

เจ้าบัวทิพย์มีความสนใจด้านศิลปวัฒนธรรม ด้วยส่งเสริมให้มีการ "ฟ้อนเล็บ" จัดแสดงแก่แขกบ้านแขกเมืองและประชาชนทั่วไปให้ได้รับชมช่วงเจ้าแก้วนวรัฐครองเมืองเชียงใหม่

พระประวัติ

[แก้]

เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ เป็นพระธิดาในเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 เกิดแต่เจ้าจามรีวงศ์ มีพี่น้องคือ เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) และเจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน ณ เชียงใหม่)

เจ้าสร้อยดารา สิโรรส พระธิดา

เจ้าบัวทิพย์สมรสครั้งแรกกับ ร้อยตรี เจ้ากุย สิโรรส มีธิดาด้วยกันหนึ่งคนคือ เจ้าสร้อยดารา สิโรรส ซึ่งถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 10 ปี ภายหลังทั้งเจ้าบัวทิพย์และเจ้ากุยได้แยกทางกัน[1] ต่อมาเจ้าบัวทิพย์ได้สมรสกับพระยาวิสูตรสาครดิษฐ์ (สาย โชติกเสถียร) ซึ่งขณะนั้นยังดำรงตำแหน่งเป็น พระยานริศรราชกิจ ข้าหลวงใหญ่เทศาภิบาลประจำมณฑลพายัพ[2][3]

เจ้าบัวทิพย์สมรสใหม่อีกครั้งกับเจ้าราชภาคินัย (เมืองชื่น ณ เชียงใหม่)[4] แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน เจ้าดารารัศมี พระราชชายาได้ทูลเจ้าแก้วนวรัฐ ว่าให้เจ้าบัวทิพย์รับเลี้ยงเจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี ธิดาของเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) มาเลี้ยงดูเป็นบุตร แทนลูกสาวคนเดียวที่เสียชีวิตไป[5] ต่อมาเจ้าเมืองชื่นสมรสใหม่กับหม่อมจันทร์เทพ ณ เชียงใหม่ มีบุตรธิดาสี่คน[6] เจ้าบัวทิพย์จึงให้ความอุปการะดูแลบุตรของสามีที่เกิดแต่อนุภรรยาเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ นอกจากนี้ยังอุปการะสมพันธ์ โชตนา (สกุลเดิม ดวงสิงห์) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์พื้นเมืองล้านนา) ปี พ.ศ. 2542 เป็นบุตรบุญธรรม[7]

เจ้าบัวทิพย์เป็นผู้ได้รับหน้าที่ดูแลคุ้มเจดีย์ก���่ว ริมแม่น้ำปิง[8] แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเจ้าบัวทิพย์ได้ลี้ภัยอยู่บ้านแม่ออน อำเภอสันกำแพงกับครอบครัว[9] เมื่อเจ้าบัวทิพย์สิ้นชีวิตลง ท่านได้เขียนพินัยกรรมมอบมรดกแก่เจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี แต่เพียงผู้เดียว[10]

ความสนใจ

[แก้]

เจ้าบัวทิพย์สนใจในด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นอันมาก ในปี พ.ศ. 2474 ได้ทรงรวบรวมเด็กผู้หญิงในคุ้มให้ครูหลวงฝึกสอนการรำท่วงท่าต่าง ๆ เจ้าแก้วนวรัฐผู้เป็นบิดาก็ทรงให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และได้ประทานให้หม่อมแส หม่อมในพระองค์ซึ่งเชี่ยวชาญเชิงฟ้อนเป็นผู้ควบคุมการฝึก ระหว่างนี้ได้มีการแสดงออกรับแขกบ้านแขกเมืองและประชาชนรับชม[11] แต่หลังการพิราลัยของเจ้าแก้วนวรัฐ การแสดงดังกล่าวจึงชะงักไป[11]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "แม่เจ้าจามรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2013-10-26.
  2. "ตามรอย "เจ้านายสตรีล้านนา" เครื่องมือทางการเมือง? ? และความรักที่ไม่สมหวัง…". ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ฮิมวัง (10 กันยายน 2565). "สัมพันธ์ เจ้านายสตรีล้านนา กับเจ้านาย-ขุนนางสยาม ความรัก ผลประโยชน์ การเมือง?". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. แม่เจ้าจามรี
  5. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ. 2540. p. 17.
  6. "บุคคลสำคัญด้านศิลปวัฒนธรรม:เชียงใหม่ (เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่)". เครือข่ายข้อมูลกาญจนาภิเษก. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-01-15. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์พื้นเมืองล้านนา) ปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ (นางสมพันธ์ โชตนา)". วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-10. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2539.
  9. อนุ เนินหาด (1 พฤษภาคม 2554). "ย่านถนนห้วยแก้ว (๑๑)". Thai News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-13. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าวงศ์จันทร์ คชเสนี. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ. 2540. p. 29.
  11. 11.0 11.1 "ฟ้อนเล็บ". โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-26. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)