เค้กวันเกิด
เค้กวันเกิดในงานวันเกิด | |
ประเภท | เค้ก |
---|---|
แหล่งกำเนิด | หลายประเทศในยุโรป |
เค้กวันเกิด เป็นเค้กที่กินเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองวันเกิด เค้กวันเกิดมักจะเป็นเลเยอร์เค้กที่ใส่ไอซิ่งและมีเทียนขนาดเล็กที่อยู่ด้านบนแสดงถึงอายุของผู้เฉลิมฉลอง นอกจากนี้แล้วยังมีการใช้ คัพเค้ก เค้กป็อป ขนมอบ และทาร์ตแทนที่เค้กอีกดวย เค้กมักจะตกแต่งด้วยคำอวยพรวันเกิด ("สุขสันต์วันเกิด") และชื่อผู้เฉลิมฉลอง
ประวัติศาสตร์
[แก้]เค้กวันเกิดเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองวันเกิดในประเทศในยุโรปตะวันตกตั้ง���ต่กลางศตวรรษที่ 19 แล้ว[1] อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมโยงระหว่างเค้กกับการฉลองวันเกิดอาจย้อนไปถึงสมัยโรมันโบราณ
ในวัฒนธรรมโรมันคลาสสิก 'เค้ก' ถูกเสิร์ฟในวันเกิดและงานแต่งงานเป็นครั้งคราว เค้กที่พูดถึงนี้เป็นวงกลมแบน ๆ ที่ทำจากแป้งและถั่ว โรยด้วยยีสต์ และให้ความหวานด้วยน้ำผึ้ง
ในศตวรรษที่ 15 ร้านเบเกอรี่ในเยอรมนีเริ่มขายเค้กแบบชั้นเดียวสำหรับวันเกิดของลูกค้านอกเหนือจากเค้กสำหรับงานแต่งงาน เค้กสมัยศตวรรษที่ 17 มีแง่มุมเช่น หลายชั้น ไอซิ่ง และของประดับตกแต่ง ที่คล้ายกับเค้กวันเกิดในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เค้กเหล่านี้มีให้เฉพาะคนรวยเท่านั้น เค้กวันเกิดเริ่มเข้าถึงคนชั้นล่างได้จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการแพร่กระจายของวัสดุและสินค้าที่เพิ่มมากมากขึ้น จึงกลายเป็นประเพณีการฉลองวันเกิดด้วยเค้กแสนอร่อยและคำอวยพรที่สวยงาม[2]
เทียนและทฤษฎีต้นกำเนิด
[แก้]ในหลายวัฒนธรรม บุคคลที่กำลังฉลองวันเกิดจะอธิษฐานและเป่าเทียน[3][4][5] ถึงแม้จะไม่ทราบที่มาและความสำคัญของพิธีกรรมนี้ แต่ก็มีหลายทฤษฎีที่สามารถอธิบายพิธีกรรมนี้ได้
จากกรีก
[แก้]ทฤษฎีหนึ่งที่อธิบายประเพณีการวางเทียนบนเค้กวันเกิดมีสาเหตุมาจากชาวกรีกยุคแรกซึ่งใช้เทียนเพื่อเป็นเกียรติแก่การประสูติของเทพธิดาอาร์เตมิสในวันที่หกของทุกเดือนตามจันทรคติ[6]
จากคนอกศาสนา
[แก้]การใช้ไฟในบางพิธีกรรมมีขึ้นตั้งแต่การสร้างแท่นบูชา กล่าวกันว่าเทียนวันเกิดมีพลังสัญลักษณ์[7]
ในอดีตมีความเชื่อกันว่าวิญญาณชั่วร้ายมาเยี่ยมผู้คนในวันเกิดของพวกเขา และเพื่อปกป้องบุคคลที่เกิดมาจากความชั่วร้าย ผู้คนจะต้องล้อมรอบบุคคลนั้นและทำให้พวกเขาร่าเริง
จากเยอรมัน
[แก้]ในศตวรรษที่ 18 ในเยอรมนี ประวัติศาสตร์ของเทียนบนเค้กสามารถสืบย้อนไปถึงงาน Kinderfest ซึ่งเป็นงานฉลองวันเกิดสำหรับเด็ก[8] ประเพณีนี้ใช้เทียนและเค้กด้วย เด็กเยอรมันถูกพาไปที่พื้นที่อย่างหอประชุม ที่นั่นจะมีเฉลิมฉลองในสถานที่ที่ชาวเยอรมันเชื่อว่าผู้ใหญ่ปกป้องเด็กจากวิญญาณชั่วร้ายที่พยายามจะขโมยวิญญาณของพวกเขา ในเวลานั้นยังไม่มีประเพณีการนำของขวัญมาให้ แขกจะนำความปรารถนาดีให้กับคนวันเกิด อย่างไรก็ตามหากแขกนำของขวัญมาจะถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับเจ้าของวันเกิด ต่อมาดอกไม้กลายเป็นขวัญวันเกิดที่นิยมอย่างมาก[9]
จากสวิส
[แก้]การอ้างอิงถึงประเพณีการเป่าเทียนได้รับการบันทึกไว้ในสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1881 นักวิจัยวารสารคติชนวิทยาได้บันทึก "ความเชื่อทางไสยศาสตร์" ต่างๆ ในหมู่ชนชั้นกลางชาวสวิส ข้อความหนึ่งระบุว่าเค้กวันเกิดมีการจุดเทียนซึ่งสอดคล้องกับแต่ละปีของชีวิต เทียนเหล่านี้จำเป็นต้องเป่าโดยบุคคลที่กำลังเฉลิมฉลองเป็นรายบุคคล[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Birthday Cakes: History & Recipes - Online article with an extensive bibliography".
- ↑ By Dhakal, Brian. "200+ Exceptional Happy Birthday Wishes, Messages, And Greetings". Status Crown (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ���ลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
- ↑
Sarah Zhang (2017-07-27). "Blowing Out Birthday Candles Increases Cake Bacteria by 1,400 Percent: But it's okay, really!". Atlantic magazine. สืบค้นเมื่อ 2017-12-03.
On average, blowing out the candles increased the amount of bacteria on the frosting by 14 times. But in one case, it increased the amount of bacteria by more than 120 times. “Some people blow on the cake and they don’t transfer any bacteria. Whereas you have one or two people who really for whatever reason ... transfer a lot of bacteria.” says Dawson.”
- ↑
Sarah Young (2017-07-31). "Blowing out birthday candles increases bacteria on cake by 1,400%, study reveals". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2017-12-03.
They then lit the candles and blew them out before diluting the frosting with sterilised water and spreading it out on agar plates for the bacteria to grow.
- ↑ Elizabeth Sherman (2017-07-28). "Blowing Out Birthday Candles Could Ruin the Cake". Food & Wine. สืบค้นเมื่อ 2017-12-03.
- ↑ Rusinek, Marietta (2012). "Cake:The Centrepiece of Celebrations". Celebration: Proceedings of the Oxford Symposium on Food and Cookery 2011. Oxford: Prospect Books. pp. 308–315.
- ↑ (The Lore of Birthdays (New York, 1952), Ralph and Adelin Linton, pp. 8, 18-20.)
- ↑ "Keeping the Legacy". German Hausbarn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-05. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
- ↑ "History of Birthdays". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-30. สืบค้นเมื่อ 2013-11-04.
- ↑ The Folk-lore Journal (ภาษาอังกฤษ). Folk-lore Society. 1883-01-01. p. 380.