ข้ามไปเนื้อหา

เคอนิชส์แบร์ค

พิกัด: 54°43′00″N 20°31′00″E / 54.71667°N 20.51667°E / 54.71667; 20.51667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคอนิชส์แบร์ค
ปราสาทเคอนิชส์แบร์คก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ปราสาทเคอนิชส์แบร์คก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ถูกทำลายหลังการระเบิดในสงครามโลกครั้งที่สอง
เคอนิชส์แบร์คตั้งอยู่ในทะเลบอลติก
เคอนิชส์แบร์ค
เคอนิชส์แบร์คเป็นเมืองท่าทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลบอลติก ปัจจุบันมีชื่อเป็นคาลีนินกราดและอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซีย
พิกัด54°43′00″N 20°31′00″E / 54.71667°N 20.51667°E / 54.71667; 20.51667
ความเป็นมา
สร้างค.ศ. 1255
ละทิ้งค.ศ. 1945
เกี่ยวเนื่องกับแซมเบียน, เยอรมัน, โปแลนด์, ยิว, รัสเซีย, ลิทัวเนีย
เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ผู้ถือกรรมสิทธิ์รัฐอัศวินทิวทัน, ปรัสเซีย, สาธารณรัฐไวมาร์ และ นาซีเยอรมนี
เคอนิชส์แบร์คกับชายแดนของปรัสเซียตะวันออกระหว่าง ค.ศ. 1919–1939
ตราประจำเมืองเคอนิชส์แบร์ค

เคอนิชส์แบร์ค (เยอรมัน: Königsberg ออกเสียง: [ˈkøːnɪçsbɛʁk] ( ฟังเสียง)) เป็นชื่อเมืองปรัสเซียที่ปัจจุบันมีชื่อเป็นคาลีนินกราด ก่อตั้งใน ค.ศ. 1255 เพื่อยกย่องพระเจ้าออทโทคาร์ที่ 2 แห่งโบฮีเมีย[1] เดิมเมืองนี้เป็นเมืองของชาวแซมเบียนหรือชาวปรัสเซียเก่า ต่อมาตกเป็นของอัศวินทิวทอนิก, ดัชชีปรัสเซีย, ราชอาณาจักรปรัสเซีย, จักรวรรดิเยอรมัน, สาธารณรัฐไวมาร์ และนาซีเยอรมนีจนถึง ค.ศ. 1946 หลังจากที่ถูกทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองโดยกองทัพโซเวียตและฝ่ายสัมพันธมิตร เคอนิชส์แบร์คถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียต และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นคาลีนินกราดในเวลาต่อมา

ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 20 ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่พูดภาษาเยอรมัน แต่มีอิทธิพลของวัฒนธรรมลิทัวเนียและโปแลนด์อยู่ในนี้ด้วย[2] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เคอนิชส์แบร์คได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดโดยฝ่ายสัมพันธมิตรใน ค.ศ. 1944 และในช่วงถูกล้อมใน ค.ศ. 1945 เคอนิชส์แบร์คถูกยึดครองและปกครองโดยสหภาพโซเวียต ชาวเยอรมันที่อยู่ในเมืองถูกขับไล่ทั้งหมดและแทนที่ด้วยชาวรัสเซียและเชื้อชาติอื่นในสหภาพโซเวียต ตามนโยบายการแผลงเป็นรัสเซีย ในช่วงแรกเคอนิชส์แบร์คใช้ชื่อเป็นภาษารัสเซียว่า "คิออนิกส์เบิร์ก" (รัสเซีย: Кёнигсберг, อักษรโรมัน: Kyonigsberg) ก่อนถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมือง "คาลีนินกราด" ใน ค.ศ. 1946 ตามชื่อของมีฮาอิล คาลีนิน ประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียต

อ้างอิง

[แก้]
วรรณกรรม
อ้างอิง
  1. Bradbury, Jim (2004). Routledge Companion to Medieval Warfare. p. 75. ISBN -0-203-64466-2.
  2. Zieniukowa, J (2007). "On the History of Polish Language in Königsberg". Acta Baltico-Slavica. Archeologia, Historia, Ethnographia, et Linguarum Scientia. 31: 325–337.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]