ข้ามไปเนื้อหา

ฮิกิโกโมริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพห้องของบุคคลที่มีอาการฮิกิโคโมริ

ฮิกิโกโมริ (ญี่ปุ่น: ひきこもり หรือ 引き籠もりโรมาจิHikikomori หมายถึง "ดึงออกห่าง หรือถูกกักกัน" กล่าวคือ "การถอนตัวจากสังคมอย่างปัจจุบัน") เป็นคำภาษาญี่ปุ่น ใช้เรียกปรากฏการณ์ที่บุคคลผู้รักษาสันโดษเลือกแยกตัวออกมาจากสังคม เพื่อแสวงหาความโดดเดี่ยวและกักตัวเองอย่างสุดโต่ง มีเหตุมีปัจจัยมาจากเรื่องราวส่วนบุคคลและเรื่องราวทางสังคมที่บุคคลนั้น ๆ ประสบมา เช่น ความผิดปรกติทางบุคลิกภาพแบบหลีกเลี่ยง หรือความอับอายอย่างแรง, อาการกลัวการเข้าสังคม, อาการกลัวที่โล่งหรือที่ชุมชน, อาการกลัวความล้มเหลว เป็นต้น

การจำกัดความ

[แก้]

กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่นได้จำกัดความฮิกิโกะโมะริว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่ปฏิเสธที่จะออกจากบ้าน และปลีกตัวจากสังคมในบ้านเป็นเวลาอย่างน้อยหกเดือน[1] ระดับของภาวะฮิกิโกะโมะรินี้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน ในกรณีที่ร้ายแรงอาจปลีกตัวจากสังคมเป็นเวลาหลายปีหรือหลายสิบปี โดยส่วนใหญ่ภาวะฮิกิโกะโมะริเริ่มต้นขึ้นจากการปฏิเสธโรงเรียนหรือสังคมในโรงเรียน

สามัญลักษณะ

[แก้]

คนส่วนใหญ่อาจรู้สึกกดดันกับโลกภายนอก แต่บุคคลในภาวะฮิกิโกะโมะรินั้นถึงขั้นปลีกตัวจากสังคมแบบสมบูรณ์ ในบางกรณีอาจขังตัวเองอยู่ในห้องเป็นเวลานานมาก กลุ่มบุคคลเหล่านี้มักจะมีเพื่อนน้อยหรือไม่มีเพื่อนเลย ผู้มีภาวะฮิกิโกะโมะริโดยทั่วไปชื่นชอบกิจกรรมในร่มหรือในห้อง แต่ก็มีบางคนที่นิยมกิจกรรมกลางแจ้งหรือนอกบ้านในบางโอกาส[2] การปลีกตัวออกจากสังคมมักจะเริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยค่อย ๆ สูญเสียเพื่อนไปทีละน้อย และอาจจะแสดงอาการที่ไม่มีความสุข ขาดความมั่นใจ ขี้อายมากขึ้น และพูดน้อยลง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Itou, Junichirou. 2003. Shakaiteki Hikikomori Wo Meguru Tiiki Seisin Hoken Katudou No Guide-line (Guideline on Mental Health Activities in Communities for Social Withdrawal)." Tokyo: Ministry of Health, Labor, and Welfare.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-05. สืบค้นเมื่อ 2009-06-05.