อุโมงค์เขาพังเหย
หน้าตา
ข้อมูลทั่วไป | |
---|---|
สาย | สายตะวันออกเฉียงเหนือ – สายแก่งคอย–บัวใหญ่ |
ที่ตั้ง | ตำบลหนองรี อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี (ระหว่างสถานีรถไฟโคกคลี กับสถานีรถไฟช่องสำราญ) |
สถานะ | เปิดให้บริการ |
ระบบ | รถไฟทางไกล |
ลอดผ่าน | เขาพังเหย |
การดำเนินงาน | |
เปิด | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2510 |
ผู้ดำเนินงาน | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
ลักษณะ | คอนกรีต |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ความยาว | 235.60 เมตร |
ช่วงกว้างราง | 1 เมตร |
อุโมงค์เขาพังเหย เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 8 แห่งของประเทศไทย และเป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดเพียงแห่งเดียวของเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองรี อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี อยู่ระหว่างสถานีรถไฟโคกคลี กับสถานีรถไฟช่องสำราญ บริเวณกิโลเมตรที่ 248.800-249.031 ห่างจากกรุงเทพประมาณ 248 กิโลเมตร[1]
อุโมงค์เขาพังเหย เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดบนเส้นทางรถไฟสายลำนารายณ์-เขาพังเหย-บัวใหญ่ (ความยาว 166 กิโลเมตร) เริ่มเปิดเดินรถเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2510
ตัวอุโมงค์
[แก้]อุโมงค์เขาพังเหย ภายในก่อสร้างเป็นผนังคอนกรีต หมอนรถไฟเป็นหมอนคอนกรีต ความยาวของตัวอุโมงค์ 235.60 เมตร[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-21. สืบค้นเมื่อ 2009-10-07.
- ↑ "ประวัติอุโมงค์ขุนตาน และการก่อสร้างอุโมงค์ขุนตาน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-08-08. สืบค้นเมื่อ 2013-10-08.