อี กุซตี งูระฮ์ ไร
อี กุซตี งูระฮ์ ไร | |
---|---|
เกิด | 30 มกราคม ค.ศ. 1917 เขตผู้สำเร็จราชการบันดุง บาหลี หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ |
เสียชีวิต | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1946 มาร์กา บาหลี อินโดนีเซีย | (29 ปี)
รับใช้ | อินโดนีเซีย |
แผนก/ | กองทัพอินโดนีเซีย |
ประจำการ | 1938–1946 |
ชั้นยศ | พันโท |
การยุทธ์ | ยุทธการที่มาร์การานา |
บำเหน็จ | วีรบุรุษแห่งชาติอินโดนีเซีย |
พันโท อี กุซตี งูระฮ์ ไร (อินโดนีเซีย: I Gusti Ngurah Rai; 30 มกราคม 1917 – 20 พฤศจิกายน 1946) เป็นวีรบุรุษแห่งชาติอินโดนีเซียผู้นำการทัพในบาหลีต่อต้านชาวดัตช์ในสงครามการประกาศเอกราชอินโดนีเซีย เขาเสียชีวิตในยุทธการที่มาร์การานา[1][2]
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]งูระฮ์ ไร เกิดในจารังซารี เขตผู้สำเร็จราชการบันดุง บาหลี เมื่อ 30 มกราคม 1917 จบการศึกษาจากโรงเรียนประถมดัตช์ชื่อ HIS เด็นปาซาร์[3] ตามด้วยโรงเรียนมัธยมต้น MULO ที่มาลังในชวาตะวันออก[3] เขาได้รับการฝึกการยุทธ์จากกองทัพดัตช์ที่โรงเรียนกะเด็ตกองทัพในกียาญาร์ในบาหลี และที่มาเกอลังในชวากลาง หลังจบการศึกษา เขาเข้าร่วมกองทัพที่เนเธอร์แลนด์สนับสนุนในบาหลี[2][4]
อาชีพการงาน
[แก้]หลังจากที่อินโดนีเซียประกาศเอกราช เขาตั้งกองทัพเพื่อความมั่นคงประชาชน (Tentara Keamanan Rakyat) ซึ่งต่อมาคือกองทัพอินโดนีเซีย ประจำหมู่เกาะซุนดาน้อย เขาออกเดินทางจากยกยาการ์ตาไปยังบาหลีเพื่อต่อสู้กับกองทัพชาวดัตช์กว่า 2,000 นาย ที่ลงพื้นที่ในเดือนมีนาคม 1946[4]
ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 1946 กองทัพดัตช์โจมตีพื้นที่มาร์กาด้วยความช่วยเหลือจากกองพันจากเกาะลมบก งูระฮ์ ไร ออกคำสั่งให้กระทำปาปูตันหรือคือการสู้จนถึงทหารคนสุดท้าย เขาเสียชีวิตในการศึกนี้[2] กองทัพดัตช์จึงยึดครองเกาะบาหลีได้ในเวลาต่อมา[5]
สิ่งสืบเนื่อง
[แก้]ร่างของงูระฮ์ ไร ได้รับการฝังในมาร์กาเมื่อ 9 สิงหาคม 1975 เขาได้รับการยกย่องเป็นวีรบุรุษแห่งชาติของอินโดนีเซีย[2] ท่าอากาศยานนานาชาติงูระฮ์ ไร ในบาหลี ตั้งชื่อตามเขา และหน้าของเขายังปรากฏบนธนบัตรมูลค่า 50,000 รูปียะฮ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Pringle, Robert (2004). A short history of Bali : Indonesia's Hindu realm. Crows Nest, N.S.W.: Allen & Unwin. p. 161. ISBN 1-86508-863-3. OCLC 54517415.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Mutiara Sumber Widya (publisher) (1999) p89
- ↑ 3.0 3.1 Pendidikan pancasila dan kewarganegaraan kelas 8. 2014. ISBN 978-602-282-960-7.
- ↑ 4.0 4.1 Sudarmanto, J. B. (1992). Jejak-jejak pahlawan : dari Sultan Agung hingga Hamengku Buwono IX. Jakarta: Gramedia Widiasarana Indonesia. p. 205. ISBN 979-553-111-5. OCLC 29413875.
- ↑ Agung, Ide Anak Agung Gde (1996). From the formation of the state of East Indonesia towards the establishment of the United States of Indonesia. Linda Owens (1st ed.). Jakarta: Yayasan Obor Indonesia. p. 89. ISBN 979-461-216-2. OCLC 36860519.
บรรณานุกรม
[แก้]- Ide Anak Agung Gde Agung (1996) [1995]. From the Formation of the State of East Indonesia Towards the Establishment of the United States of Indonesia. แปลโดย Owens, Linda. Yayasan Obor. ISBN 979-461-216-2.
- Mutiara Sumber Widya (publisher) (1999) Album Pahlawan Bangsa (Album of National Heroes), Jakarta (Indonesian)
- Pringle, Robert (2004). Bali: Indonesia's Hindu Realm; A short history of. Short History of Asia Series. Allen & Unwin. ISBN 1-86508-863-3.
- Sudarmanto, Y.B. (1996) Jejak-Jejak Pahlawan dari Sultan Agung hingga Syekh Yusuf (The Footsteps of Heroes from Sultan Agung to Syekh Yusuf), Penerbit Grasindo, Jakarta ISBN 979-553-111-5 (Indonesian)