ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอคลองขลุง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอคลองขลุง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khlong Khlung
ตลาดเก่าคลองขลุง
ตลาดเก่าคลองขลุง
คำขวัญ: 
ดินแดนหลวงพ่อปลอดภัย
ผลไม้รสดี มีชื่อไม้ดอกไม้ประดับ
แผนที่จังหวัดกำแพงเพชร เน้นอำเภอคลองขลุง
แผนที่จังหวัดกำแพงเพชร เน้นอำเภอคลองขลุง
พิกัด: 16°13′0″N 99°43′12″E / 16.21667°N 99.72000°E / 16.21667; 99.72000
ประเทศ ไทย
จังหวัดกำแพงเพชร
พื้นที่
 • ทั้งหมด783.332 ตร.กม. (302.446 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด67,553 คน
 • ความหนาแน่น86.24 คน/ตร.กม. (223.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 62120
รหัสภูมิศาสตร์6205
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอคลองขลุง ถนนสุขาภิบาล 1 ตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 62120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

คลองขลุง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร อดีตเป็นอำเภอที่เคยมีอาณาเขตพื้นที่ขนาดใหญ่มาก ซึ่งพื้นที่อำเภอคลองขลุงเดิมครอบคลุมพื้นที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี[1][2] อำเภอทรายทองวัฒนา[3][4] อำเภอบึงสามัคคี และอำเภอปางศิลาทอง[5][4] ทั้งหมด ซึ่งแยกการปกครองออกเรื่อยมา เดิมชื่อ "อำเภอขาณุ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอคลองขลุง"

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอคลองขลุง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

สะพานคลองขลุง-ท่ามะเขือ
ภายในเขตเทศบาลตำบลคลองขลุง

ประวัติ

[แก้]

อำเภอคลองขลุง เป็นอำเภอหนึ่งใน 7 อำเภอ ของจังหวัดกำแพงเพชร แต่เดิมเรียกชื่ออำเภอนี้ว่า "อำเภอขาณุ" ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการซึ่ง "ขาณุ" มีความหมายว่า "ตอ" ครั้นต่อมา ได้มี��ระราชกฤษฏีกาเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอนี้ใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพท้องที่ คือ "อำเภอคลองขลุง" เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอมีลำคลองขลุงไหลผ่าน

สาเหตุที่เรียกว่า “คลองขลุง” สืบเนื่องมาจาก 3 สาเหตุ คือ สาเหตุแรก ในสมัยก่อนน้ำจากคลองวังไทรไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิง จึงเรียกตรงจุดที่น้ำมาบรรจบกันว่า “คลองคลุ้ง” ชาวบ้านเรียกว่า “บ้านคลองคลุ้ง” สาเหตุที่สองของชื่อ “คลองขลุง” สืบเนื่องมาจากบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านคลองขลุงสมัยก่อนจะมีกรเลี้ยงช้างไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อชักลากซุง ชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านคลองโขลง” และอีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นที่มาของชื่อ “คลองขลุง” คือ บริเวณที่น้ำคลองวังไทรไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิงสมัยก่อนจะมีจระเข้ และตะโขงเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านว่า “บ้านคลองโขง” จากชื่อเรียกตามแหล่งกำเนิดต่างๆ ว่า คลองคลุ้ง, คลองโขลง, คลองโขง ต่อมาจึงเรียกเป็น “คลองขลุง” จนถึงปัจจุบันนี้

  • วันที่ 1 มกราคม 2450 แยกพื้นที่ตำบลแสนตอ ตำบลสลกบาตร ตำบลบ่อถ้ำ และตำบลยางสูง จากอำเภอขาณุ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอขาณุ[1][2] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอขาณุ
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอขาณุ อำเภอขาณุ (อำเภอคลองขลุง) จังหวัดกำแพงเพชร เป็น กิ่งอำเภอแสนตอ[6]
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอแสนตอ อำเภอขาณุ เป็น กิ่งอำเภอขาณุวรลักษบุรี และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอขาณุ จังหวัดกำแพงเพชร เป็น อำเภอคลองขลุง[7]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลวังยาง แยกออกจากตำบลคลองขลุง[8]
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน 2491 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอคลองขลุง เป็น อำเภอขาณุวรลักษบุรี[9]
  • วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลคลองขลุง ในท้องที่บางส่วนของตำบลคลองขลุง[10]
  • วันที่ 16 เมษายน 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าพุทรา ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าพุทรา[11]
  • วันที่ 31 มกราคม 2510 ตั้งตำบลท่ามะเขือ แยกออกจากตำบลคลองขลุง[12]
  • วันที่ 28 กรกฎาคม 2513 จัดตั้งสุขาภิบาลท่ามะเขือ ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่ามะเขือ[13]
  • วันที่ 19 กันยายน 2515 ตั้งตำบลทุ่งทราย แยกออกจากตำบลวังยาง[14]
  • วันที่ 2 ตุลาคม 2522 ตั้งตำบลโพธิ์ทอง แยกออกจากตำบลวังไทร[15]
  • วันที่ 21 กรกฎาคม 2524 ตั้งตำบลปางตาไว แยกออกจากตำบลโพธิ์ทอง[16]
  • วันที่ 25 กันยายน 2527 ตั้งตำบลวังบัว แยกออกจากตำบลท่าพุทรา ตั้งตำบลถาวรวัฒนา แยกออกจากตำบลวังแขม และตั้งตำบลทุ่งทอง แยกออกจากตำบลทุ่งทราย[17]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2528 ตั้งตำบลหินดาต แยกออกจากตำบลโพธิ์ทอง[18]
  • วันที่ 12 ธันวาคม 2529 ตั้งตำบลคลองสมบูรณ์ แยกออกจากตำบลหัวถนน[19]
  • วันที่ 22 เมษายน 2535 แยกพื้นที่ตำบลทุ่งทราย ตำบลทุ่งทอง และตำบลถาวรวัฒนา อำเภอคลองขลุง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอทุ่งทราย[3] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอคลองขลุง
  • วันที่ 8 มิถุนายน 2536 แยกพื้นที่ตำบลโพธิ์ทอง ตำบลหินดาต และตำบลปางตาไว อำเภอคลองขลุง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอปางศิลาทอง[5] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอคลองขลุง
  • วันที่ 5 มีนาคม 2539 เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอทุ่งทราย อำเภอคลองขลุง เป็น กิ่งอำเภอทรายทองวัฒนา[20]
  • วันที่ 26 กันยายน 2540 ยกฐานะกิ่งอำเภอทรายท��งวัฒนา และกิ่งอำเภอปางศิลาทอง อำเภอคลองขลุง เป็น อำเภอทรายทองวัฒนา และ อำเภอปางศิลาทอง[4]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลคลองขลุง สุขาภิบาลท่าพุทรา และสุขาภิบาลท่ามะเขือ เป็นเทศบาลตำบลคลองขลุง เทศบาลตำบลท่าพุทรา และเทศบาลตำบลท่ามะเขือ ตามลำดับ[21] ด้วยผลของกฎหมาย

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอคลองขลุงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 101 หมู่บ้าน ได้แก่

1. คลองขลุง (Khlong Khlung) 13 หมู่บ้าน 6. วังแขม (Wang Khaem) 16 หมู่บ้าน
2. ท่ามะเขือ (Tha Makhuea) 09 หมู่บ้าน 7. หัวถนน (Hua Thanon) 09 หมู่บ้าน
3. ท่าพุทรา (Tha Phutsa) 07 หมู่บ้าน 8. วังไทร (Wang Sai) 15 หมู่บ้าน
4. แม่ลาด (Mae Lat) 06 หมู่บ้าน 9. วังบัว (Wang Bua) 10 หมู่บ้าน
5. วังยาง (Wang Yang) 09 หมู่บ้าน 10. คลองสมบูรณ์ (Khlong Sombun) 09 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอคลองขลุงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลคลองขลุง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลคลองขลุง
  • เทศบาลตำบลท่าพุทรา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าพุทรา
  • เทศบาลตำบลท่ามะเขือ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่ามะเขือ
  • เทศบาลตำบลวังยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังยางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขลุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองขลุง (นอกเขตเทศบาลตำบลคลองขลุง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะเขือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ามะเขือ (นอกเขตเทศบาลตำบลท่ามะเขือ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพุทรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าพุทรา (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าพุทรา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ลาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังแขม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังแขมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวถนนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังไทรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสมบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสมบูรณ์ทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 576–583. February 26, 1921.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 294–297. November 12, 1922.
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตั้งเป็นกิ่งอำเภอทุ่งทราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง): (ฉบับพิเศษ) 3. April 22, 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
  4. 4.0 4.1 4.2 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองปรือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอปางศิลาทอง อำเภอเนินสง่า อำเภอนาทม อำเภอพระพรหม อำเภอแม่วงก์ อำเภอสองแคว อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอไทยเจริญ อำเภอกาบัง อำเภอพยุห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอภูพาน อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอนาวัง อำเภอพิบูลย์รักษ์ และอำเภอทุ่งศรีอุดม พ.ศ. ๒๕๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (50 ก): 24–27. September 26, 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
  5. 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ตั้งเป็นกิ่งอำเภอปางศิลาทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (74 ง): 14. June 8, 1993. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. April 17, 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
  8. "ประกาศกระท��วงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
  9. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอขาณุวรลักษณบุรี อำเภอคลองขลุงจังหวัดกำแพงเพชร ขึ้นเป็นอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (66 ง): 3649. November 16, 1948. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 61-62. May 30, 1956.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าพุทรา อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (37 ง): 1136–1137. April 16, 1963.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (10 ง): 307–309. January 31, 1967.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่ามะเขือ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (69 ง): 2232–2233. July 28, 1970.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (139 ง): 2363–2370. September 19, 1972.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอคลองขลุง อำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอไทรงาม และกิ่งอำเภอคลองลาน อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (171 ง): 3372–3387. October 2, 1979.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอลานกระบือ อำเภอพรานกระต่าย อำเภอไทรงาม อำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (120 ง): 2394–2406. July 21, 1981.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (130 ง): 3351–3356. September 25, 1984.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอคลองขลุง อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (152 ง): (ฉบับพิเศษ) 20-28. October 21, 1985.
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (219 ง): (ฉบับพิเศษ) 46-48. December 12, 1986.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอทุ่งทราย อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (19 ง): 4. March 5, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2019-12-18.
  21. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.