ออคัส
ผู้ลงนามในออคัส | |
ก่อตั้ง | 15 กันยายน 2021 |
---|---|
ประเภท | พันธมิตรทางทหาร |
วัตถุประสงค์ | ความมั่นคงร่วมกัน |
ภูมิภาค | อินโด-แปซิฟิก |
สมาชิก |
ออคัส (อังกฤษ: AUKUS, /ˈɔːkəs/; เป็นอักษรย่อจากชื่อของประเทศผู้ลงนามร่วม) เป็นกติกาสัญญาความมั่นคงไตรภาคีระหว่างประเทศออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐ[1]
ภายใต้กติกาสัญญานี้ สหรัฐและสหราชอาณาจักรตกลงที่จะช��วยเหลือออสเตรเลียในการพัฒนาและใช้งานเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ โดยเป็นการเพิ่มบทบาททางการทหารของชาติตะวันตกในภูมิภาคแปซิฟิก[2] แม้ว่าในการประกาศร่วมของนายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริซัน ของออสเตรเลีย, นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ของสหราชอาณาจักร และประธานาธิบดีโจ ไบเดิน ของสหรัฐ จะไม่มีการเอ่ยชื่อประเทศอื่นใด แต่แหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อจากทำเนียบขาวก็ระบุว่าการลงนามนี้ได้รับการวางแผนมาเพื่อต่อต้านอิทธิพลของประเทศจีนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกซึ่งเป็นคำอธิบายที่นักวิเคราะห์เห็นพ้องต้องกัน[3] นักวิเคราะห์และสื่อหลายรายยังมองว่าพันธมิตรดังกล่าวเป็นหนทางหนึ่งที่จะปกป้องสาธารณรัฐจีน (ประเทศไต้หวัน) จากการขยายตัวของประเทศจีน[4][5] ข้อตกลงในการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ได้รับการอธิบายว่าเป็นพฤติการณ์หนึ่งของการแผ่ขยายอาวุธนิวเคลียร์[6][7][8]
ออคัสมีลักษณะเป็นข้อตกลงที่สืบทอดจากกติกาสัญญาแอนซัสซึ่งมีอยู่แล้วระหว่างประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และสหรัฐ โดยประเทศนิวซีแลนด์ "ถูกกันออกไป" จากออคัสเนื่องจากมีนโยบายห้ามใช้พลังงานนิวเคลียร์ แต่ไม่มีคำแถลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับประเด็นนี้[9][10][11] ในวันที่ 17 กันยายน 2021 ประเทศฝรั่งเศสเรียกตัวเอกอัครราชทูตประจำออสเตรเลียและสหรัฐกลับประเทศเนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวมาพร้อมกับการยกเลิกข้อตกลงซื้อขายเรือดำน้ำระหว่างฝรั่งเศสกับออสเตรเลีย[12]
ออคัสครอบคลุมประเด็นสำคัญ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ สงครามไซเบอร์ สมรรถนะใต้น้ำ สมรรถนะในการโจมตีระยะไกล เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงส่วนประกอบนิวเคลียร์ (ซึ่งอาจจำกัดอยู่เฉพาะสหรัฐและสหราชอาณาจักร) ในโครงสร้างพื้นฐานด้านการป้องกันนิวเคลียร์[1] ข้อตกลงนี้จะเน้นที่ความสามารถทางการทหารโดยแยกจากกลุ่มพันธมิตรแบ่งปันข่าวกรองไฟฟ์อายส์ซึ่งรวมประเทศนิวซีแลนด์และประเทศแคนาดาไว้ด้วย[13]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Ward, Alexander. "Biden to announce joint deal with U.K. and Australia on advanced defense-tech sharing". Politico (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 September 2021.
- ↑ Sanger, David E.; Kanno-Youngs, Zolan (15 September 2021). "Biden Announces Defense Deal With Australia in a Bid to Counter China". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 16 September 2021.
- ↑ "Pact with U.S., Britain, will see Australia scrap French sub deal-media". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 16 September 2021. สืบค้นเมื่อ 16 September 2021.
- ↑ "China vows to resist 'interference' as Taiwan welcomes support from Aukus allies". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-09-17. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Improving defence capabilities is key for Taiwan to line up with Aukus, say experts". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2021-09-17. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
- ↑ "What does the Australian submarine deal mean for non-proliferation?". The Economist. 2021-09-17. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 2021-09-18.
- ↑ "China vows to resist 'interference' as Taiwan welcomes support from Aukus allies". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-09-17. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Improving defence capabilities is key for Taiwan to line up with Aukus, say experts". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2021-09-17. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
- ↑ "New Australia, United Kingdom, United States defence pact 'sidelines New Zealand', focus on nuclear capabilities". Newshub (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 September 2021.
- ↑ "New Zealand is missing from AUKUS". Australian Financial Review (ภาษาอังกฤษ). 15 September 2021. สืบค้นเมื่อ 15 September 2021.
- ↑ "Aukus submarines banned from New Zealand as pact exposes divide with western allies". The Guardian. 16 September 2021.
- ↑ Shields, Bevan (18 September 2021). "France recalls its ambassadors to Australia and United States amid submarine fury". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 18 September 2021.
- ↑ "Aukus: China denounces US-UK-Australia pact as irresponsible". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 16 September 2021. สืบค้นเมื่อ 16 September 2021.
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับสหรัฐ
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร
- พันธมิตรทางการทหารเกี่ยวข้องกับออสเตรเลีย
- พ.ศ. 2564
- สหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2564
- สหรัฐในปี พ.ศ. 2564
- ประเทศออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2564
- ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศจีน
- ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศฝรั่งเศส
- พันธมิตรทางการทหาร
- สนธิสัญญาด้านพันธมิตรทางการทหาร