อนันต์ กรุแก้ว
อนันต์ กรุแก้ว | |
---|---|
เกิด | 8 มีนาคม พ.ศ. 2468 |
เสียชีวิต | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 (96 ปี) |
สัญชาติ | ไทย |
มีชื่อเสียงจาก | อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล |
คู่สมรส | สลวย กรุแก้ว |
หมายเหตุ | |
อดีตนายกสโมสรนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
อนันต์ กรุแก้ว | |
---|---|
เกิด | ไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า |
|
ผลงานสำคัญ |
|
ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว (8 มีนาคม พ.ศ. 2468 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564) อดีตอธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2531)[1]
ประวัติ
[แก้]ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2468 สมรสกับ รศ.สลวย กรุแก้ว (บุตรของพระยาผดุงวิทยาเสริม (กำจัด พลางกูร)) มีบุตรสาว คือ นางอังสนา กรุแก้ว รศ.ปิยานันต์ ประสารราชกิจ (สมรสกับ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ)[2] และนางวรรณวิภา สุขกนิษฐ (สมรสกับ ดร.จักรพงษ์) จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 10749) และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา[3] จากนั้นเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่ สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต และได้รับทุนการศึกษาโครงการความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลไทย ศึกษาระดับปริญญาโท สาขา Industrial Education จากมหาวิทยาลัยเวย์นสเตต รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 22
ในปี พ.ศ. 2550 ได้รับพระราชทานปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ประสบการณ์การทำงาน
[แก้]ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว เริ่มรับราชการเมื่อปี พ.ศ. 2493 ในตำแหน่งสถาปนิก สังกัดกรมโยธาธิการทหารบก กระทรวงกลาโหม ต่อมาได้ย้ายมาเป็นสถาปนิกประจำการรถไฟแห่งประเทศไทย จากนั้นได้มาปฏิบัติหน้าที่ราชการในด้านการศึกษา ในปี พ.ศ. 2497 ตำแหน่งอาจารย์ตรี แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ การปฏิบัติหน้าที่เจริญก้าวหน้าเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้ร่วมก่อตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และเป็นรองอธิการบดี 2 สมัย และอธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา (พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2531)
ผลงาน
[แก้]ด้านการศึกษา
[แก้]ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว เป็นผู้เจรจาขอเวนคืนที่ดินราชพัสดุบริเวณคลองหก จังหวัดปทุมธานี ของกรมธนารักษ์ จำนวน 741 ไร่ เพื่อก่อสร้างศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
ด้านสถาปัตยกรรม
[แก้]ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว เป็นสถาปนิกออกแบบอาคารราชการและเอกชนหลายแห่ง อาทิกรมประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล อาคารสังคีตศาลา สวนหลวง ร.9 ฯลฯ
ด้านกิจกรรมและสังคม
[แก้]ศาสตราจารย์อนันต์ กรุแก้ว เป็นนายกสโมสรนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยได้รับคัดเลือกเป็นนักกีฬาดีเด่นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลงานการเป็นนักกีฬารักบี้ทีมชาติไทย ร่วมแข่งขันกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ในประเทศอื่นๆ เมื่อปี พ.ศ. 2495 และเป็นนายกสโมสรโรตารี่กรุงเทพ นอกจากนี้ยังเคยได้รับรางวัลต่างๆ อาทิ ได้รับรางวัลพ่อตัวอย่าง ในปี พ.ศ. 2528 ได้รับรางวัลครูดีเด่นของกระทรวงศึกษาธิการ 2 ครั้ง เป็นบุคคลดีเด่นจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2524 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
- ↑ เปิดประวัติ “โอม COCKTAIL”
- ↑ รายนามนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษารุ่น 6 จำนวน 59 คน[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๗๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
ก่อนหน้า | อนันต์ กรุแก้ว | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ศ.สวาสดิ์ ไชยคุณา | อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา (12 มิถุนายน พ.ศ. 2527 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2531) |
รศ.ธรรมนูญ ฤทธิมณี |
- Pages using infobox architect with unknown parameters
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2468
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2564
- บุคคลจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- ศาสตราจารย์
- นักการศึกษาชาวไทย
- สถาปนิกชาวไทย
- นักกีฬาทีมชาติไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
- นักรักบี้
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา