หวายขริง
หน้าตา
หวายขริง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Commelinids |
อันดับ: | Arecales |
วงศ์: | Arecaceae |
วงศ์ย่อย: | Calamoideae |
เผ่า: | Calameae |
สกุล: | Calamus |
สปีชีส์: | C. palustris |
ชื่อทวินาม | |
Calamus palustris |
หวายขริง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Calamus palustris) เป็นหวายกอเริ่มออกดอกเมื่อความสูงไม่มากนัก มีมือเกาะ กาบหุ้มลำมีสีเขียวออกเหลืองเมื่อสด เมื่อแห้งมีสีน้ำตาลแกมเทา มีหนามสีน้ำตาล โคนหนามสีเหลือง กาบหุ้มลำที่อ่อนมีผงรังแคสีน้ำตาลแดงปกคลุมหนา ปลอกใบสีน้ำตาลเข้มไม่มีหนาม ดอกช่อ ผลรูปรีมีสีเขียวเมื่อสดและมีสีเหลืองแกมส้นเมื่อแห้ง สันเกล็ดหุ้มผลเป็นร่อง ขอบเกล็ดมีสีดำ กระจายพันธุ์ตั้งแต่พม่า จีนตอนใต้ ไปจนถึงมาเลเซียและหมู่เกาะในทะเลอันดามัน ใช้เป็นโครงของเฟอร์นิเจอร์ได้ดี
อ้างอิง
[แก้]- พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6: หวาย. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 67 - 68
- [1] เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน