หลักนิยมทางทหาร
หลักนิยมทางทหาร (อังกฤษ: Military doctrine) หมายถึง การจัดการกำลังทหารในการมีส่วนร่วมในการทัพ ปฏิบัติการทางทหาร ยุทธการและยุทธนาการต่าง ๆ โดยจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับทฤษฎี ประวัติศาสตร์ การทดลองและการปฏิบัติ และมีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์อีกด้วย
หลักนิยมทางทหารเป็นแนวทางสำหรับการดำเนินการ โดยเป็นการวางโครงร่างให้กับกำลังทหารทั้งหมด ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจัดมาตรฐานของปฏิบัติการ สร้างรูปแบบทั่วไปในการบรรลุเป้าหมายทางการทหาร เพื่อให้เกิดความง่ายและความคล่องแคล่ว และยังเป็นการวางพื้นฐานของการกำหนดรูปแบบการดำเนินการของปฏิบัติการทางทหาร สำหรับนักวางแผนทางการทหาร
การจำกัดความ
[แก้]คำว่า "หลักนิยม" (doctrine) มาจากคำ doctrina ในภาษาละติน ซึ่งแปลว่า คำสั่งสอน คำแนะนำ หลักนิยม สืบทอดมาจากรากฐานความเชื่อตามคำสอน ที่สั่งสอนกันมา เคยมีผู้แปล doctrine ว่า ลัทธิ หลัก คำสั่งสอน อันเป็นความเชื่อ และเป็นที่ย��มรับของผู้คน โดยสาระสำคัญแล้ว หมายถึง "สิ่งที่เราเชื่อ" (What We Believe)
อย่างไรก็ตาม ความหมายที่ชัดเจนที่สุด และเข้าใจได้ง่ายที่สุดของหลักนิยม ได้แก่
"หลักนิยม" คือ สิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นหนทางที่ "ดีที่สุด" ในการทำกิจกรรมใด ๆ
คำว่า หลักนิยมทางทหาร มีคำจำกัดความอยู่หลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น :-
- การจำกัดความของหลักนิยมทางทหาร โดยเนโท ซึ่งได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในรัฐสมาชิก ว่าเป็น "หลักการพื้นฐานอันเป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติการทางทหารเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ และแม้ว่าหลักการดังกล่าวจะเป็นพื้นฐาน แต่จำเป็นต้องอาศัยวิจารณญาณในทางปฏิบัติด้วย"[1]
- จาก Dictionary of Basic Military Terms ของโซเวียต ได้ระบุว่าเป็น "รูปแบบซึ่งได้รับการเห็นชอบจากรัฐ อันตั้งอยู่บนหลักเกณฑ์ของธรรมชาติของการทำสงครามสมัยใหม่ และการใช้กองกำลังติดอาวุธในการทำสงครามสมัยใหม่... หลักนิยมทางทหารสามารถแบ่งออกเป็นสองรูปแบบ: ในด้านสังคม-การเมือง และในด้านการทหาร-เทคนิค"[2] สำหรับด้านสังคม-การเมืองแล้ว "เป็นการตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี รากฐานทางเศรษฐกิจและสังคม เป้าหมายทางการเมืองของการทำสงคราม อันเป็นการจำกัดความและด้านที่มีเสถียรภาพมากกว่า" ส่วนในอีกด้านหนึ่ง ในทางการทหาร-เทคนิคแล้ว นอกจากจะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกับเป้าหมายทางการเมืองแล้ว ยังรวมไปถึง "การสร้างโครงสร้างทางทหาร เครื่องมือทางเทคนิคของกองกำลังติดอาวุธ การฝึกอบรม เป็นการจำกัดความของรูปแบบและเจตนาของการลงมือปฏิบัติการทางทหารหรือการดำเนินสงครามโดยรวม"[3]
ความสัมพันธ์ระหว่างหลักนิยมกับยุทธศาสตร์
[แก้]ยุทธศาสตร์การทหาร เป็นการหาเหตุผลสำหรับปฏิบัติการทางทหาร ในขณะที่หลักนิยม เป็นการมุ่งตอบคำถามโครงร่างในรูปแบบของระบบกองทัพ อย่างเช่น :
- เป้าหมายของระบบ
- ภารกิจของกองทัพ
- วิธีการดำเนินการเพื่อบรรลุภารกิจ
- วิธีการดำเนินการเพื่อบรรลุภารกิจที่เคยปรากฏในอดีต
- และอื่น ๆ
ในทำนองเดียวกัน หลักนิยมก็ไม่ใช่ยุทธศาสตร์หรือยุทธวิธี แต่เป็นการรวมเอาโครงสร้างทั้งสามระดับของการทำสงคราม (ยุทธศาสตร์การทหาร ปฏิบัติการทางทหาร และยุทธวิธีทางทหาร) หลักนิยมทางทหาร จึงเป็นการสะท้อนถึงการตัดสินใจของนายทหารระดับสูง ไปจนถึงผู้นำพลเรือนที่สำคัญ เกี่ยวกับการตัดสินใจในสิ่งที่คาดว่าเป็นประโยชน์และเป็นไปได้หรือไม่ในทางทหาร ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ :-
- เทคโนโลยีทางทหาร
- ภูมิศาสตร์ของประเทศ
- ความสามารถในการปรปักษ์
- ความสามารถในองค์กรของตน[4]
หลักนิยมกับยุทธศาสตร์นั้น คำทั้ง 2 คำนี้ เป็นนามธรรมที่ละเอียดอ่อนแล้วแต่ความเข้าใจของแต่ละคน แต่ก็พอจะจับประเด็นเปรียบเทียบระหว่าง "หลักนิยม" กับ "ยุทธศาสตร์" ได้ดังนี้คือ ยุทธศาสตร์ เป็นศาสตร์และศิลป์ ในการใช้พลังอำนาจต่าง ๆ ในทุกโอกาสไม่ว่าในสภาวะสงครามหรือปกติ ค่อนข้างจะมีลักษณะเป็นแผนการปฏิบัติมากกว่าหลักนิยม แต่มีวัตถุประสงค์ที่คล้ายกันคือ ให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบคู่แข่งขัน หรือให้ได้มาซึ่งชัยชนะ ยุทธศาสตร์ จึงมีลักษณะเป็นศาสตร์ในการกำหนดหนทางการปฏิบัติ แต่หลักนิยม เป็นเครื่องกำกับ หรือชี้แนะ จึงมีความอ่อนตัวมากกว่า
อย่างไรก็ตาม เพราะว่า ยุทธศาสตร์ เป็นหนทางปฏิบัติ ที่มาจากการวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์พลังอำนาจแห่งชาติ หรือของกองทัพฝ่ายเรา และฝ่ายข้าศึก จากสถานการณ์ที่เป็นสภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน แต่หลักนิยม มีที่มาจาก หลักความจริงอันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป มาจากความเชื่อของผู้คน และมาจากบทเรียนในประวัติศาสตร์สงครามซ้ำแล้วซ้ำเล่า บนเงื่อนไขสถานการณ์อันหนึ่งที่ระบุไว้ หรือสภาวะแวดล้อมในอดีต ดังนั้น หากสถานการณ์ที่ประเมินได้ในปัจจุบันตรงกับเงื่อนไขสถานการณ์ที่ระบุไว้ในหลักนิยมแล้ว หลักนิยมนั้น จะกลายเป็นยุทธศาสตร์ ที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "AAP-06 Edition 2021 - NATO Glossary of Terms and Definitions" (PDF). Universitatea Națională de Apărare "Carol I" (ภาษาอังกฤษ และ ฝรั่งเศส).
- ↑ William E. Odom (Winter 1988–89). "Soviet Military Doctrine". Foreign Affairs: 6–7. JSTOR 20043776.
Moscow: Voenizdat, 1965
- ↑ William E. Odom (Winter 1988–89). "Soviet Military Doctrine". Foreign Affairs: 7. doi:10.2307/20043776.
A. Beleyev, "The Military-Theoretical Heritage of M. V. Frunze," Krasnaya Zvezda (Red Star), November 4, 1984
- ↑ Posen, Barry R. (1984). The Sources of Military Doctrine: France, Britain, and Germany Between the World Wars. Cornell University Press. p. 13. ISBN 0-8014-9427-3. JSTOR 10.7591/j.ctt1287fp3.
บรรณานุกรม
[แก้]- Harriet Fast Scott & William F. Scott (1979). The Armed Forces of the USSR. Boulder, CO: Westview Press. ISBN 0-89158-276-2.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "หลักนิยมไทย", E-book เพื่อทหารอาชีพ, ศูนย์พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารบก[ลิงก์เสีย]
- ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ร่วม, Defense Technical Information Center, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กันยายน 2008 จากกองทัพสหรัฐ.
- Defense Department - Intelligence and Security - Doctrine, Directives and Instructions, Federation of American Scientists
- Air War College - Gateway to the internet, วิทยาลัยการทัพอากาศสหรัฐ, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กรกฎาคม 2019 ประกอบด้วยหลักนิยมกองทัพอากาศสหรัฐ มีออนไลน์จำนวนมาก และเชื่อมโยงไปยังแหล่งอ้างอิงภายนอก.
- "General Gareyev: Russia changing its military doctrine", Sputnik International, 18 มกราคม 2007