หมู่เกาะมาร์เคซัส
ภูมิศาสตร์ | |
---|---|
ที่ตั้ง | มหาสมุทรแปซิฟิก |
พิกัด | 9°27′S 139°23′W / 9.450°S 139.383°W |
กลุ่มเกาะ | พอลินีเชีย |
เกาะทั้งหมด | 15 |
เกาะหลัก | นูกูฮีวา, อูอาโปอู, อูอาฮูกา, ฮีวาโออา, ฟาตูฮีวา, ตาฮูอาตา |
พื้นที่ | 1,049.3 ตารางกิโลเมตร (405.1 ตารางไมล์)[1] |
ระดับสูงสุด | 1,230 ม. (4040 ฟุต) |
จุดสูงสุด | เขาโออาเว (อูอาโปอู) |
การปกครอง | |
ฝรั่งเศส | |
อาณานิคมโพ้นทะเล | เฟรนช์พอลินีเชีย |
เมืองใหญ่สุด | ไตโอฮาเอ (ประชากร 2,183 (2017[2]) คน) |
ประชากรศาสตร์ | |
ประชากร | 9,346 (2017[2]) |
ความหนาแน่น | 8.9/กม.2 (23.1/ตารางไมล์) |
ภาษา | ฝรั่งเศส, มาร์เคซัส |
ข้อมูลอื่น ๆ | |
เขตเวลา |
เตเฮนูอาเอนาตา – หมู่เกาะมาร์เคซัส * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ป่าดิบชื้นบนเกาะฟาตูฮีวา | |
ประเทศ | ฝรั่งเศส |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
ประเภท | มรดกแบบผสม |
เกณฑ์พิจารณา | (iii), (vi), (vii), (ix), (x) |
อ้างอิง | 1707 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2024 (คณะกรรมการสมัยที่ 46) |
พื้นที่ | 345,749 เฮกตาร์ |
พื้นที่กันชน | 6,841 เฮกตาร์ |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
หมู่เกาะมาร์เคซัส (อังกฤษ: Marquesas Islands; ฝรั่งเศส: Îles Marquises, Archipel des Marquises หรือ Marquises; มาร์เคซัสเหนือ: Te Henua Enana; มาร์เคซัสใต้: Te Fenua ʻEnata) เป็นหมู่เกาะภูเขาไฟในเฟรนช์พอลินีเชีย อาณานิคมโพ้นทะเลของฝรั่งเศสในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ โดยมีจุดสูงสุดคือยอดเขาโออาเว (Mont Oave) บนเกาะอูอาโปอู ด้วยความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,230 เมตร (4,035 ฟุต)[3]
งานวิจัยทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่าหมู่เกาะนี้ถูกนักเดินทางจากพอลินีเชียตะวันตกตั้งอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ 10[4] หลายศตวรรษต่อมา หมู่เกาะนี้ยังคงมี "วัฒนธรรม ชีววิทยา และภาษาที่มีความสม่ำเสมออย่างน่าทึ่ง"[5] หมู่เกาะมาร์เคซัสได้รับชื่อมาจากภรรยาของมาร์ควิสแห่งกัญเญเต (Marqués de Cañete) เจ้าเขตอุปราชแห่งเปรูของสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยอัลบาโร เด เมนดัญญา นักสำรวจชาวสเปนที่เดินทางพบหมู่เกาะนี้ใน ค.ศ. 1595 ต่อมานักสำรวจชาวอังกฤษชื่อ กัปตันเจมส์ คุก ได้เดินเรือมาถึงใน ค.ศ. 1775 ตกอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1842 แต่การตั้งถิ่นฐานของฝรั่งเศสมีขึ้นหลัง ค.ศ. 1870
เมืองหลวงชื่อไตโอฮาเอ ตั้งอยู่บนเกาะนูกูฮีวา หมู่เกาะมีประชากร 9,346 คน จากการสำรวจประชากรในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2017[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "R1- Population sans doubles comptes, des subdivisions, communes et communes associées de Polynésie française, de 1971 à 1996". ISPF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-10-13.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Population". Institut de la statistique de la Polynésie française (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2019. สืบค้นเมื่อ 7 June 2019.
- ↑ "Communes des Îles Marquises". Haut-commissariat de la Polynésie Française. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2008.
- ↑ Allen, Melinda S. and McAlister, Andrew J., 2010, "The Hakaea Beach Site, Marquesan colonisation, and Models of East Polynesian Settlement" Archaeology in Oceania, Vol. 45, p. 54-65.[1]
- ↑ Janet M. Wilmshurst, Terry L. Hunt, Carl P. Lipo, and Atholl J. Anderson. "High-precision radiocarbon dating shows recent and rapid initial human colonisation of East Polynesia" เก็บถาวร 24 กันยายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, PNAS, vol. 108 no. 5, doi: 10.1073/pnas.1015876108, accessed 26 October 2015
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Kjellgren, Eric & Ivory, Carol S. (2005). Adorning the world: art of the Marquesas Islands. New York: The Metropolitan Museum of Art. ISBN 9781588391469.
- Robert Louis Stevenson, In the South Seas, 1896.
- Urmenyhazi, Attila. 2013 book publication: Samoan & Marquesan Life in Oceania: a probing travelogue. ISBN 9780646909127. NLA 6377055.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 17 (11 ed.). 1911. pp. 750–751.
- Stevenson, Robert L. (1896), In the South Seas
- Official website Les îles Marquises en polynésie française
- Administrative divisions of the Marquesas Islands (archived)
- Effects of the 1946 Aleutian Tsunami on the Marquesas Is. (archived)
- Flora of the Marquesas Islands
- WorldAtlas.com's map of the Marquesas—includes most of the islands
- Sailing Schedule to the Marquesas Islands (archived)