สุวบุญ จิรชาญชัย
ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2507 (60 ปี) |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | |
อาชีพ | นักวิจัย, นักวิทยาศาสตร์, อาจารย์, นักวิชาการ |
องค์การ | วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ศาสตราจารย์[1] สุวบุญ จิรชาญชัย (เกิด พ.ศ. 2507) เป็นคณบดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษาสมาคมโพลิเมอร์แห่งประเทศไทย[2] ศ.สุวบุญ จิรชาญชัย หรือ ศ.ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย มีความเชี่ยวชาญด้านสาขาเคมี โดยเฉพาะเรื่อง พอลิเมอร์ชีวภาพ ซุปปราโมเลกุล พอลิเมอร์สังเคราะห์ พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (biodegradable plastics) พอลิเมอร์เมมเบรนเซลล์ เชื้อเพลิง โดยได้สร้างผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำกว่า 80 เรื่อง[3] เขาได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติในสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประจำปี พ.ศ. 2552 และรางวัลด้านวิชาการต่าง ๆ อีกมากมาย
ประวัติการศึกษา
[แก้]ศ.สุวบุญ จิรชาญชัย สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 25069)[4] จากนั้นเขาศึกษายังโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นเวลาครึ่งปี ก่อนได้รับทุนรัฐบาลไทย (ทุน ก.พ.) เข้าศึกษาต่อยังประเทศที่ญี่ปุ่น ที่มหาวิทยาลัยโอซากะ ในสาขา Applied Fine Chem จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในปี พ.ศ. 2532 จากนั้นจึงศึกษาต่อยังสาขาวิชาเดิม ที่มหาวิทยาลัยโอซากะ จนจบปริญญามหาบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2534 หลังจากนั้นได้กลับมาเป็นอาจารย์ ก่อนที่จะไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเดิม ด้วยทุนมูลนิธิฮิตาชิ จนสำเร็จปริญญาดุษฎีบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2538[5]
ประวัติการทำงาน
[แก้]ภายหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตแล้ว ในปี พ.ศ. 2535 ศ.สุวบุญ จิรชาญชัย ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามความต้องการของวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมีในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงบุกเบิก หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อปริญญาเอก จนกลับมารับตำแหน่งสอนที่วิทยาลัยจวบจนปัจจุบัน โดยดำรงตำแหน่งเป็นคณบดี
รางวัล
[แก้]- รางวัลเมธีวิจัยนวัตกรรม (สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ) ปี พ.ศ. 2549
- รางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย (สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ปี พ.ศ. 2550
- รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติในสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประจำปี พ.ศ. 2552
- รางวัลนักวิจัยนวัตกรรม (สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย) พ.ศ. 2553 - 2554
- รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ จากประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2557[6]
วิทยากรในต่างประเทศ
[แก้]- สถาบันวิจัยโพลิเมอร์แม็กซ์พลังค์ ประเทศเยอรมนี
- สมาคมโพลิเมอร์ประเทศญี่ปุ่น
- สถาบันวิจัยขั้นพื้นฐานแห่งเกาหลี
- สถาบันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิจัย (A*STAR) ประเทศสิงคโปร์
- มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง"สุวบุญ จิรชาญชัย"เป็นศาสตราจารย์ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, matichon.co.th .วันที่ 24 เม.ย. 2554
- ↑ คณะกรรมการสมาคม[ลิงก์เสีย], thaipolymersociety.org/ .สืบค้นเมื่อ 20/06/2560
- ↑ ศ.ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, readgur.com .สืบค้นเมื่อวันที่ 19/06/2560
- ↑ แสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย อัสสัมชนิกผู้ได้รับทุน PTT NSTDA Chair Professor ประจำปี 2558[ลิงก์เสีย], สมาคมอัสสัมชัญ .สืบค้นเมื่อ 19/06/2560
- ↑ ประวัติสุวบุญ จิรชาญชัย, cop.car.chula.ac.th/ .สืบค้นเมื่อวันที่ 19/06/2560
- ↑ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ของวิทยาลัยฯ ที่ได้รับรางวัล[ลิงก์เสีย], วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ .วันที่ 19 ก.พ. 2557
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕๙, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเ���รื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๒๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๑๔๕, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่สิงหาคม 2024
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2507
- ศาสตราจารย์
- นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย
- บุคคลจากบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยโอซากะ
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร