สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย
สาธารณรัฐโครเอเชีย แห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย หรือ ประชาคมเฮิร์ตเซก-บอสเนีย Hrvatska Republika Herceg-Bosna (โครเอเชีย) | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1992–ค.ศ. 1994 | |||||||||
ที่ตั้งของสาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย (สีแดง) ภายในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (สีชมพู) | |||||||||
สถานะ | หน่วยการเมืองที่ไม่ได้รับการรับรอง | ||||||||
เมืองหลวง | มอสตาร์ | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาโครเอเชีย | ||||||||
การปกครอง | สาธารณรัฐ | ||||||||
ประธานาธิบดี | |||||||||
• ค.ศ. 1991-1993 | มาเท บอบัน | ||||||||
• ค.ศ. 1993-1994 | เครชีมีร์ ซูบัก | ||||||||
รองประธานาธิบดี | |||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||
• ค.ศ. 1993-1994 | ยาดรังคอ เพอร์ลิช | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามยูโกสลาเวีย | ||||||||
25 มิถุนายน ค.ศ. 1991 | |||||||||
• สาธารณรัฐได้รับการประกาศจัดตั้ง | 27 เมษายน ค.ศ. 1992 | ||||||||
• การเริ่มต้นสงครามโครแอต-บอสเนีย | 19 มิถุนายน ค.ศ. 1992 | ||||||||
• สาธารณรัฐถูกประกาศว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายก | 14 กันยายน ค.ศ. 1992 | ||||||||
18 มีนาคม ค.ศ. 1994 | |||||||||
สกุลเงิน | ดีนาร์โครเอเชีย | ||||||||
| |||||||||
|
สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย (อังกฤษ: Croatian Republic of Herzeg-Bosnia; โครเอเชีย: Hrvatska Republika Herceg-Bosna) เป็นหน่วยการเมืองแห่งหนึ่งซึ่งดำรงอยู่ในสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาระหว่าง ค.ศ. 1991 ถึง ค.ศ. 1994 ในช่วงสงครามบอสเนีย ดินแดนนี้ได้รับการประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991 โดยใช้ชื่อว่า ประชาคมโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย (Croatian Community of Herzeg-Bosnia) และอ้างว่าเป็น "หน่วยรวมทางการเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และดินแดน" ซึ่งเป็นเอกเทศอยู่ภายในดินแดนของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา[1] บรรดาผู้นำของเฮิร์ตเซก-บอสเนียไม่เคยประสบความสำเร็จในการแยกตัวจากบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และไม่เคยยอมรับอย่างเปิดเผยว่ามีเป้าหมายดังกล่าวโดยใช้ภาษาดังกล่าว[2]
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001[3] คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียได้มีคำวินิจฉัยว่า เฮิร์ตเซก-บอสเนียได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่จะแยกตัวออกจากบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาและไปรวมกับโครเอเชีย[4] ตามความเห็นของคณะตุลาการฯ ความปรารถนาเหล่านั้น (ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐโครเอเชีย) เป็นที่ประจักษ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการที่เฮิร์ตเซก-บอสเนียประกาศใช้ภาษาโครเอเชียและหน่วยเงินดีนาร์ของโครเอ��ชีย และจากการที่สาธารณรัฐโครเอเชียมอบความเป็นพลเมืองโครเอเชียแก่ชาวโครแอตในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาประกาศให้ประชาคมโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนียไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1992[1]
สาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนียยุติการดำรงอยู่อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1994 โดยรวมเข้ากับสหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (หน่วยการปกครองของสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา) หลังจากที่ทางการสาธารณรัฐโครเอเชียและทางการสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาร่วมลงนามในความตกลงวอชิงตัน เมืองหลวงอย่างเป็นทางการของเฮิร์ตเซก-บอสเนียคือเมืองมอสตาร์ส่วนตะวันตก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในขณะนั้นมอสตาร์อยู่ในพื้นที่สงคราม ศูนย์กลางการปกครองที่มีประสิทธิภาพจึงอยู่ที่เมืองกรูเด[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ICTY - Mladen Naletilic and Vinko Martinovic judgment" (PDF).
- ↑ Lučić, Ivica (2013). Uzroci rata. Zagreb: Hrvatski institut za povijest. ISBN 978-953-7892-06-7.
- ↑ Background, icty.org; accessed 13 August 2015.
- ↑ "ICTY - Kordic and Cerkez judgment - E. The Parties' Cases and Trial Chamber Findings". สืบค้นเมื่อ 7 April 2015.
Having considered all the evidence on this topic, the Trial Chamber rejects that given on behalf of the Defence and finds that the weight of the evidence and all the circumstances point to the conclusion that the HZ H-B was founded with the intention that it should secede from Bosnia and Herzegovina and with a view to unification with Croatia.