ข้ามไปเนื้อหา

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย

Latvijas Padomju Sociālistiskā Republika (ลัตเวีย)
Латви́йская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика
(รัสเซีย)
1940–1941
1944–1991
ธงชาติลัตเวีย
ธงชาติ (1953–1990)
ตราแผ่นดิน (1940–1990)ของลัตเวีย
ตราแผ่นดิน (1940–1990)
ที่ตั้งของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียภายในสหภาพโซเวียต
ที่ตั้งของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียภายในสหภาพโซเวียต
เมืองหลวงรีกา
ภาษาทั่วไปภาษาลัตเวียและภาษารัสเซีย
การปกครองสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
เลขาธิการคณะกรรมการกลาง 
• 1940-1959
Jānis Kalnbērziņš
• 1990
Alfrēds Rubiks
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 · สงครามเย็น
17 มิถุนายน 1940
21 กรกฎาคม 1940
• ถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียตอย่างผิดกฎหมาย (ลัตเวียยังดำรงอยู่ต่อไป โดยนิตินัย)
5 สิงหาคม 1940
1941–1945
• สหภาพโซเวียตยึดครองอีกครั้ง
1944/1945
• เปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐลัตเวีย
1990
21 สิงหาคม 1991
• สหภาพโซเวียตรับรอง
6 กันยายน 1991
พื้นที่
198964,589 ตารางกิโลเมตร (24,938 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1989
2666567
รหัสโทรศัพท์7 013
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ลัตเวีย

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย (อังกฤษ: Latvian Soviet Socialist Republic; ลัตเวีย: Latvijas Padomju Sociālistiskā Republika; รัสเซีย: Латви́йская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียถูกจัดตั้งเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 (ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2)[1] ในอาณาบริเวณที่ก่อนหน้านั้นเคยเป็นสาธารณรัฐลัตเวียซึ่งเป็นรัฐเอกราช แต่ถูกกองทัพโซเวียตเข้ายึดครองตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1940 ตามถ้อยคำในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนีกับสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ)

ด้วยผลจากคำประกาศของซัมเนอร์ เว็ลส์ (เจ้าหน้าที่การต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา) ในวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 สหรัฐอเมริกาและประชาคมยุโรปจึงไม่ยอมรับว่าการผนวกลัตเวียเข้ากับสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1940 เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย และการรับรองว่าลัตเวียเป็นสาธารณรัฐองค์ประกอบแห่งที่สิบห้าของสหภาพโซเวียตก็ถูกยับยั้งไว้เป็นเวลาห้าทศวรรษ[2] ในเวลาต่อมา ลัตเวียถูกเยอรมนีนาซีเข้ายึดครองในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ค.ศ. 1941 ก่อนที่จะถูกสหภาพโซเวียตยึดกลับคืนในปี ค.ศ. 1944–1945 ถึงกระนั้น ลัตเวียก็ยังมีฐานะเป็นประเทศเอกราช "โดยนิตินัย" โดยบางประเทศยังคงยอมรับคณะทูตและกงสุลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในนามของอดีตรัฐบาลลัตเวียต่อไป

อำนาจปกครองของสหภาพโซเวียตมาถึงจุดสิ้นสุดในช่วงการล่มสลายของสหภาพ รัฐสภาสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวียซึ่งได้รับการเลือกตั้งอย่างเป็นอิสระครั้งแรกได้อนุมัติคำประกาศ "ว่าด้วยการฟื้นฟูเอกราชของสาธารณรัฐลัตเวีย" เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 โดยกลับมาใช้ชื่อทางการของรัฐลัตเวียว่า สาธารณรัฐลัตเวีย[3] รวมทั้งนำแบบธงและเพลงชาติที่เคยถูกยกเลิกกลับมาใช้อีกครั้ง เอกราชของสาธารณรัฐลัตเวียได้รับการฟื้นฟูอย่างสมบูรณ์ในวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ในช่วงที่มีความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต และได้รับการรับรองอย่างสมบูรณ์จากสหภาพโซเวียตในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1991

ล่มสลาย (ค.ศ. 1990/1991)

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ronen, Yaël (2011). Transition from Illegal Regimes Under International Law. Cambridge University Press. p. 17. ISBN 978-0-521-19777-9.
  2. Seventy-Fifth Anniversary of the Welles Declaration
  3. Declaration of the Supreme Soviet of the Latvian SSR on May 4, 1990