ข้ามไปเนื้อหา

สัญญาณว้าว!

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
The WOW! Signal

Wow! signal [1] [2] [3] เป็นชื่อเรียกสัญญาณวิทยุ ที่ตรวจพบโดย ดร.เจอร์รี อาร์. เอฮ์แมน นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันที่ทำงานให้กับโครงการเซติ ของหอดูดาว The Big Ear แห่งมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2520

สัญญาณที่ ดร.เอฮ์แมน ตรวจพบนี้ มีความเข้มสูงมาก ความยาว 72 วินาที และมีความเป็นไปได้ที่ จะเป็นสัญญาณจากนอกโลก และนอกระบบสุริยะ ด้วยความประหลาดใจ ดร.เอฮ์แมน ทำเครื่องหมายบนกระดาษคอมพิวเตอร์ เขียนข้อความว่า ว้าว! (WOW!) และเป็นที่มาของชื่อสัญญาณนี้

การแปลความหมายของแผนภูมิกระดาษ

[แก้]

รหัสตัวอักษรและตัวเลขที่วงกลมไว้ 6EQUJ5 จะอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสัญญาณ ช่องว่างจะหมายถึงความเข้มระหว่าง 0 และ 1, ตัวเลข 1 ถึง 9 แสดงถึงความเข้มตามลำดับหมายเลข (1.000-10.000), และความเข้มเท่ากับ 10.0 และสูงกว่าจะแสดงด้วยตัวอักษร ('A' สอดคล้องกับความเข้มระหว่าง 10.0 และ 11.0, 'B' สอดคล้องกับความเข้มระหว่าง 11.0 ถึง 12.0 ฯลฯ ) ค่า 'U' (ความเข้มระหว่าง 30.0 และ 31.0) เป็นค่าความเข้มระดับสูงสุดที่ตรวจพบโดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ; ในขนาดสเกลเชิงเส้นมันเป็นสัญญาณที่ปรากฏเป็นจำนวนกว่า 30 ครั้งที่ดังกว่าอวกาศห้วงลึกตามปกติ [4] ความเข้มในกรณีนี้คือ ปริมาณที่ไม่มีหน่วยของอัตราส่วนของสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน (unitless signal-to-noise ratio), เมื่อสัญญาณรบกวนเป็นค่าเฉลี่ยสำหรับย่านความถี่ในช่วงไม่กี่นาทีก่อนหน้านี้ [5]

สองค่าที่แตกต่างกันของสัญญาณคลื่นความถี่ที่ได้รับ ได้แก่: ที่ระดับความถี่ 1420.356 เมกกะเฮิร์ต (MHz) (ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ ชื่อ ด๊อกเตอร์ เจ ดี คราวส (J. D. Kraus)) และ ความถี่ 1420.4556 เมกกะเฮิร์ต (MHz) (ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ ชื่อ ด๊อกเตอร์ เจ อาร์ เอฮ์แมน (J. R. Ehman))

ตำแหน่งที่ตั้งของสัญญาณในกลุ่มดาวคนยิงธนูใกล้กลุ่มดาว คนยิงธนู 600 (Chi Sagittarii star group) (ไค (chi, ตัวใหญ่ Χ, ตัวเล็ก χ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 22 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 600) เพราะว่าการออกแบบของการทดลอง, ตำแหน่งที่ตั้งอาจอยู่ในตรงบริเวณจุดใดจุดหนึ่งของแถบสีแดงทั้งสอง, และยังมีความไม่แน่นอนอย่างมีนัยสำคัญในเดคลิเนชัน (แกนแนวตั้ง) เพื่อความชัดเจน, ความกว้างของแถบสีแดงไม่ได้วาดตามขนาดสเกล; โดยแท้ที่จริงนั้นขนาดควรจะแคบลง


ตำแหน่งที่ตั้งของสัญญาณ

[แก้]

การกำหนดตำแหน่งที่แม่นยำในท้องฟ้าที่ซับซ้อนโดยใช้กล้องโทรทรรศน์ เดอะบิ๊กเอียร์ (the Big Ear telescope) ที่เป็นสายอากาศลำโพงแบบฟีดฮอร์น (Feed horn) สองตัว เพื่อค้นหาสัญญาณนั้น, สายอากาศแต่ละข้างจะชี้ไปยังทิศทางที่แตกต่างกันเล็กน้อยในท้องฟ้าตามการหมุนของโลก; สัญญาณ ว้าว! ถูกตรวจพบได้ในสายอากาศข้างหนึ่ง และข้อมูลที่ถูกประมวลผลได้อยู่ในลักษณะที่ว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะกำหนดขนาดของสัญญาณที่จะป้อนเข้ามาสู่สายอากาศลำโพงทั้งสองนั้นกันได้เอาเองแบบตามใจชอบ ดังนั้นจึงมีค่าไรต์แอสเซนชั่นที่มีความเป็นไปได้สองค่า:

  • 19h22m24.64s ± 5s (positive horn)
  • 19h25m17.01s ± 5s (negative horn)
B1950 equinox J2000 equinox
RA (positive horn) 19h22m24.64s ± 5s 19h25m31s ± 10s
RA (negative horn) 19h25m17.01s ± 5s 19h28m22s ± 10s

เดคลิเนชันถูกกำหนดอย่างไม่น่าสงสัยที่จะเป็น -27 ° 03 '± 20' ค่าก่อนหน้านี้จะแสดงทั้งหมดในเทอมของวิษุวัต B1950.0 [6]

B1950 equinox J2000 equinox
dec −27°03′ ± 20′ −26°57′ ± 20′

อาณาบริเวณของท้องฟ้าที่เป็นปัญหานั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกระจุกดาวทรงกลม เอ็ม55 (globular cluster of M55) ในกลุ่มดาวคนยิงธนู, ประมาณ 2.5 องศาทางตอนใต้ขนาด 5-แมกนิจูด (fifth-magnitude) ของกลุ่มดาวไคในกลุ่มดาวคนยิงธนู (Chi Sagittarii) [7], และประมาณ 3.5 องศาใต้ของระนาบสุริยวิถี (plane of the ecliptic) ดาวที่อยู่ใกล้ที่สุดที่สามารถมองเห็นได้อย่างง่ายดาย คือ ดาวเทาในกลุ่มดาวคนยิงธนู (Tau Sagittarii) [8]

การเปลี่ยนแปลงของเวลา

[แก้]
พล็อตกราฟของความแรงของสัญญาณเทียบกับเวลา (Plot of signal strength vs time)

กล้องโทรทรรศน์ "หูช้าง" (The Big Ear) ได้รับการติดตั้งให้อยู่ประจำตำแหน่งอย่างคงที่และใช้การหมุนของโลกในการสแกนไปในท้องฟ้าเบื้องบนแทน

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://www.youtube.com/watch?v=OkycNvrpjCs
  2. https://www.youtube.com/watch?v=pcSWDzd2cDU
  3. https://www.youtube.com/watch?v=2Neo_1LGVqE
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ npr
  5. Ehman, Jerry. "Explanation of the Code "6EQUJ5" On the Wow! Computer Printout". สืบค้นเมื่อ 2010-01-01.
  6. Gray, Robert; Kevin Marvel (2001). "A VLA Search for the Ohio State 'Wow'" (PDF). The Astrophysical Journal. 546 (2): 1171–1177. Bibcode:2001ApJ...546.1171G. doi:10.1086/318272.
  7. https://www.google.co.th/search?site=&source=hp&q=chi+sagittarii&oq=Chi+Sagittarii&gs_l=hp.1.0.0i19l3j0i22i30i19l2.748942.753593.1.756978.25.10.0.0.0.0.182.917.6j3.9.0....0...1c.1.64.hp..22.1.96.0.uDAVYyYkhAA
  8. https://www.google.co.th/search?biw=1525&bih=736&q=Tau-Sagittarii&stick=H4sIAAAAAAAAAONgFuLUz9U3MC8zt8xRQjC11LOTrfQTi0uK8vPycyv1k1NzUotLMhNz4vOTslKTS6yKM1NSyxMriwHwDlKiQQAAAA&sa=X&ved=0ahUKEwjrs7C13-LNAhXKPY8KHZV1Di4QzToIlQEoATAW&dpr=0.9

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:Radio-astronomy แม่แบบ:Extraterrestrial life