สวนหลิว
Classical Gardens of Suzhou * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ประเทศ | China |
ภูมิภาค ** | Asia-Pacific |
ประเภท | Cultural |
เกณฑ์พิจารณา | i, ii, iii, iv, v |
อ้างอิง | 813 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 1997 (คณะกรรมการสมัยที่ 21st) |
เพิ่มเติม | 2000 |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
สวนหลิว (อังกฤษ: Lingering Garden; จีนตัวย่อ: 留园; จีนตัวเต็ม: 留園; พินอิน: Liú Yuán) เป็นหนึ่งในสวนจีนโบราณที่มีชื่อเสียง อยู่ทางด้านตะวันตกของเมืองซูโจว ตั้งอยู่เลขที่ 338 ถนนหลิวหยวน (留园路338号) เมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ได้รับการบันทึกเป็นมรดกโลก โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในปี ค.ศ. 1997 สวนหลิวยังมีมรดกโลกทางด้านศิลปะ (UNESCO Intangible World Heritage Arts) อีก 2 ชิ้นคือ ผิงถาน (อังกฤษ: Pingtan; จีนตัวย่อ:评弹) และกู่ฉิน (อังกฤษ: Guqin; จีนตัวย่อ: 古琴) ด้วย
ประวัติ
[แก้]สวนหลิวตั้งอยู่ด้านนอกของประตูชางเหมิน (แปลว่า ประตูสวรรค์ หรือประตูพระราชวัง; อังกฤษ: Changmen gate; จีนตัวย่อ: 阊门) ของเมืองซูโจว ในปี ค.ศ. 1593 สมัยสมเด็จพระจักรพรรดิว่านลี่ (อังกฤษ: Wanli; จีนตัวย่อ: 万历) แห่งราชวงศ์หมิง สูไท่ฉรือ (อังกฤษ: Xu Taishi; จีนตัวย่อ: 徐泰时) ข้าราช��ารผู้ซึ่งเคยถูกกล่าว���ทษและภายหลังพ้นจากความผิด ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบดูแลการก่อสร้าง โดยมีช่างหินชื่อ โจวชื่อเฉิง (อังกฤษ: Zhou Shicheng; จีนตัวย่อ:周时臣) เป็นผู้ออกแบบและสร้างสวนแห่งนี้ ซึ่งในตอนนั้นมีชื่อเรียกว่า สวนตะวันออก (อังกฤษ: the East Garden; จีนตัวย่อ:东园) ต่อมาเมื่อผู้ปกครองมณฑลอู๋และมณฑลฉางโจวได้กล่าวยกย่องความสวยงามและการออกแบบหิน Shi Ping Peak ที่สร้างเลียนแบบเขาเทียนไท่ (อังกฤษ: Tiantai Mountain; จีนตัวย่อ: 天台山) สวนตะวันออกจึงกลายเป็นสวนที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น[1]
ในปี ค.ศ. 1798 เจ้าของสวนชื่อ หลิวซู (Liu Su) ได้ปรับปรุงสวนใหม่และให้ชื่อสวนว่า "Cold Green Village" ตามบทกวีที่มีใจความว่า "สีเย็นสะอาดตาของต้นใผ่และแสงสีเขียวสดใสของพื้นน้ำ (clean cold colour of bamboo, limpid green light of water)" นอกจากนั้นเขายังได้เพิ่มต้นไพน์และต้นไผ่เข้าไปในการตกแต่งสวนเพื่อให้ได้ทัศนียภาพดังคำกวีนี้ หลังจานนั้นไม่นาน สวนตะวันออกนี้ก็ถูกเรียกชื่อว่า "สวนหลิว (Liu Yuan)" ตามชื่อสกุลของเจ้าของสวนผู้นี้เอง
ในปี ค.ศ. 1823 สวนแห่งนี้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าเที่ยวชมได้ ทำให้สวนหลิวกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมา[1]
ในช่วงกบฏไท่ผิง สวนหลิวก็ได้รับความเสียหายเช่นเดียวกับสวนโบราณอื่นๆ ในเมืองซูโจว เจ้าของสวนในสมัยนั้น คือ เชิ่งกัง (Sheng Kang) ซึ่งเป็นข้าราชการผู้ดูแลการคลัง (a provincial treasurer) ของมณฑลหูเป่ย์ (Hubei) จึงได้บูรณะสวนขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1873 และใช้เวลาในการบูรณะครั้งนี้นานถึง 3 ปี จึงเสร็จสิ้นลงในปี ค.ศ. 1876 หลังจากนั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อสวนเป็น "สวนหลิว (ใช้อักษรจีนที่แตกต่างกัน คือ 留园, Liu Yuan)"[2] ซึ่งชื่อนี้เป็นคำพ้องเสียงกับชื่อเดิมของสวนที่ตั้งตามชื่อเจ้าของเดิม และมีความหมายโดยนัยว่า การพักผ่อน ความไม่รีบร้อน ในช่วงเวลานี้เองที่หินหยุนถิง (Auspicious Cloud Capped Peak) ได้ย้ายมาตั้ง ณ ตำแหน่งปัจจุบันภายในสวน[1] หลังจากนั้นสวนนี้ก็เป็นมรดกตกทอดถึงเชิ่งซวนไหว๋ (อังกฤษ: Sheng Xuanhuai; จีนตัวย่อ: 盛宣怀) ผู้เป็นลูกชาย ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1911 เขาได้ย้ายออกไป ทำให้สวนหลิวอยู่ในสภาพทรุดโทรมลงหลังจากนั้นมา
ในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 (Second Sino-Japanese War) สวนหลิวก็ตกอยู่ในสภาวะที่เลวร้ายยิ่งกว่าเดิมเนื่องจากภาวะของสงคราม และยังถูกใช้เป็นสถานที่เพาะพันธุ์ม้าศึกอีกด้วย ต่อมาเมือมีการจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน (the People's Republic of China) เมืองซูโจวได้เข้าครอบครองสวนพร้อมบูรณะใหม่อีกครั้ง และเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้ประชาชนเข้าชมได้ในปี ค.ศ. 1954[2] ในปี ค.ศ.1997 สวนหลัวก็ได้รับการบันทึกให้เป็นมรดกโลกขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองซูโจวมาจนถึงปัจจุบัน
การออกแบบ
[แก้]สวนหลิวมีการพื้นที่ทั้งหมด 23,310 ตารางเมตร แบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน คือ สวนทางเข้าหรือด้านเหนือ (Entry Garden หรือ North Garden) สวนส่วนกลาง (Central Garden) สวนตะวันออก (East Garden) และสวนตะวันตก (West Garden)[3] ภายในสวนมีทั้งเนินเขา สระน้ำ ที่พักอาศัย และสวนหิน
สวนส่วนกลางเป็นส่วนที่มีอายุเก่แก่ที่สุดของสวนนี้ มีกลุ่มอาคารเป็นองค์ประกอบหลักในสวนซึ่งกินพื้นที่ถึงหนึ่งในสามของพื้นที่สวนทั้งหมด มีเอกลักษณ์ของสวนคือ ทางเดินที่คลุมด้วยหลังคายาว 700 เมตรที่เชื่อมต่อบริเวณต่างๆ เข้าด้วยกัน[3]
ส่วนทางด้านสวนตะวันออกจะมีการลักษณะการจัดวางตำแหน่งล้อมรอบหินหยุนถิง "Auspicious Cloud Capped Peak" สูง 6.5 เมตร ที่ได้มาจากทะเลสาบไท่ ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 40 กิโลเมตรเป็นศูนย์กลาง ซึ่งอยู่บริเวณใจกลางสวนมีสระน้ำตามแบบสวนจีน รายล้อมด้วยหอสูง ศาลา ถัดไปเป็น "the Old Hermit Scholars' House" "the Small Court of Stone Forest" และส่วนจัดแสดง "Scholar stones (หินลักษณะสวยงามที่ได้รับการยอมรับจากบรรดาบัณฑิต)"
ด้านสวนตะวันตกซึ่งมีลักษณะเป็นธรรมชาติมากกว่าเพราะมีอาคาร ศาลาต่างๆ เป็นจำนวนน้อยกว่า มีเขาจำลองใหญ่ และสวนถาดหรือบอนไซ (Penzai) อยู่ในส่วนนี้
บริเวณโดยรอบสวนประกอบด้วยห้องและโถงต่างๆ 42 ห้อง มีหน้าต่างลูกกรงลวดลายสวยงามมากกว่า 200 หน้าต่าง หินแกะสลัก 44 แท่ง หินจารึกถึง 373 แท่ง ต้นไม้โบราณสูงค่ามากกว่า 8 ชนิด รวม 17 ต้น เช่น ต้นแปะก๊วย ต้นวิสเทอเรีย เป็นต้น[4]
องค์ประกอบของสวนและคำอธิบาย | |
---|---|
สวนทางเข้า (Entry Garden) | |
ทางเข้า (Entry)
ทางเข้าสวนอยู่ทางด้านถนนหลิวหยวน (Liuyuan Lu) ประตูทางเข้านำสู่โถงทางเข้าสวนที่มีการออกแบบเรียบง่าย มีป้ายชื่อสวนทาด้วยสีทองประดับตกแต่งอยู่บริเวณทางเข้า | |
โถงทางเข้า (Gatehouse)
เป็นโถงทางเข้ามีทางเดินคลุมด้วยหลังคาโดยรอบทั้งสามด้าน และสนามเล็กๆด้านหน้า โดยทางเดิ��นี้จะเขื่อมกับทางเดินซิกแซกที่อยู่ทางด้านหลัง มีฉากเป็นรูปแผนที่สวนที่ทำจากหยกฝังประดับกั้นระหว่างโถงกับสนามด้านหน้านั้น และฉากนี้มีชื่อเรียกว่า "ทิวท้ศน์ของสวนหลิว (Full View of the Lingering Garden)" [1] | |
ลานกู่หมู่เจียว หรือไม้พันเกี่ยว (Old Intertwined Trees Court, 古木交柯)
ภายในคอร์ทประกอบด้วยสามส่วนหลัก คือ ลานขนาดเล็ก โถงพื้นที่ขนาด 3 ส่วน และทางเดินคลุมหลังคา ซึ่งจัดเป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนเดียวกัน ที่ลานขนาดเล็กมีต้นไม้ 2 ชนิด ที่เป็นสัญลักษณ์ของหยก (Magnolia soulangia) และสัญลักษณ์ของทอง (Osmanthus fragrans) ซึ่งหมายถึงความสำเร็จรุ่งเรือง บริเวณทางเข้ามีหินจารึกข้อความโดยรองนายกรัฐมนตรี Zhu Boqi มีใจความว่า "สรวงสวรรค์บนโลกมนุษย์ (Paradise on Earth)" [1] | |
วิลล่าริมทางเดินดอกไม้ (Small House by the Flowery Path, 花步小筑)
กลุ่มอาคารที่ประกอบด้วยทางเดินมีหลังคา โถงขนาดสามส่วน และบ่อนน้ำขนาดเล็กสองบ่อ ข้างบ่อน้ำมีต้นสน (Cypress) และต้นคามิเลีย (Camellia) สมัยราชวงศ์หมิงปลูกอยู่ | |
โถงทางเดินซิกแซก (Zigzag Path)
ทางเดินมีหลังคาทำหน้าที่เชื่อมต่อโถงทางเข้า ส่วนพักอาศัย และลานกู่หมู่เจียว (Old Intertwined Trees Court) เข้าด้วยกัน โดยมีหินจารึกข้อความโดยผู้ปกครองเมืองซูโจวชื่อ Wu Yun (Suzhou Magistrate Wu Yun) เขียนไว้ว่า "สวนหลิว (Lingering garden)" [1] | |
สวนส่วนกลาง (Central Garden) | |
โถงเขาห้ายอดแห่งสวรรค์ (Celestial Hall of Five Peaks, 五峰仙馆)
ได้รับแรงบันดาลใจจากบทกวีของหลี่ไป๋ (Li Bai; 李白) ซึ่งกล่าวไว้ว่า "ยอดทั้งห้าของเขาหลู๋ (Mount Lu; 庐山) ดูลักษณะเหมือนดอกบัวที่สรรค์สร้างขึ้นโดยธรรมชาติ (There are five peaks to the south of Mount Lu which seem to be the golden lotus flowers cut out by nature)" ที่บริเวณลานด้านหลังของโถงแห่งนี้มีหินบัณฑิต 12 ชิ้น เรียกว่า "Rhesus Monkey Peak" ซึ่งเป็นของสะสมของหลิวซู (Liu Su) ตั้งประดับอยู่ ภายในโถงมีหินจารึกโคลงกลอนอยู่เป็นจำนวนมาก | |
ศาลาสีเขียว (Green Shade Pavilion, 绿荫)
ได้ชื่อมาจากบทกวีของ Gao Qi ชื่อ Ode to Sunflowers กล่าวว่า "ความงามได้จากแสงที่สาดกระทบและดอกไม้าที่อยู่ในร่มเงา (brightness and beauty come from the vermillion light brushes and flowers lean on the shade side.)"[1] โดยร่มเงาที่กล่าวถึงคือร่มเงาจากต้นเมเปิลอายุกว่า 300 ปี เป็นศาลาสามส่วนที่เปิดด้านหน้าเข้าหาสระน้ำโล่ง | |
วิลล่าหานบี้ซาน หรือเขาหานบี้ (Hanbi Mountain Villa, 涵碧山房)
มีการออกแบบเหมือนบ้านชาวนาทั่วไป ซึ่งตอกย้ำถึงความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย | |
ศาลาเหาปู๋ (Hao Pu Pavilion, 濠濮亭)
เป็นศาลาเดี่ยวทรงสี่เหลี่ยมเปิดโล่งทั้งสี่ด้านตั้งอยู่ในสระน้ำ ชื่อของศาลานี้ได้มาจากรีสอร์ทตกปลาที่มีชื่อเสียงมากสองแห่งที่ชื่อ Hao และ Pu อย่างไรก็ดี อีกด้านหนึ่งก็มีการกล่าวว่าชื่อนี้ได้มาจากบทสนทนาในภาษาท้องถิ่นที่เรียกว่า "The Happiness of Fish (魚之樂)" ระหว่าง จวงจึ (Zhuang Zi; 莊子) และฮุ่ยชรือ (Hui Zi หรือ Hui Shi; 惠施) แต่โดยสรุปแล้วชื่อของศาลานี้มีความหมายถึงความปรารถนาของท่านผู้เป็นเจ้าของสวนที่จะมีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ศาลานี้หันหน้าเข้าหาหินบิณฑิตที่มีชื่อเสียง 3 ใน 12 ชิ้น ซึ่งเป็นของสะสมของหลิวซู (Liu Su) คือ หินพระจันทร์ หินดอกเห็ด และหินหงอนไก่ (The Moon, The Magic Fungus, The Cockscomb) | |
ศาลาส่องผ่าน (Passable Pavilion, 可亭)
ศาลานี้ได้ชื่อมาจากบทกวีของหลิวอยู่ซี (Liu Yuxi; 刘禹锡) ซึ่งกล่าวว่า "แสงจันทร์ส่องสว่างพาดผ่านศาลา (the bright moon passes the pavilion)" [1] มีลักษณะเป���นศาลาเดี่ยวทรงหกเหลี่ยม ขนาบข้างทั้งสองด้านด้วยต้นแปะก๊วย (Ginkgo) อายุกว่า 300 ปี | |
หอกระจ่างแจ้ง (Pellucid Tower, 明瑟楼)
หอนี้สร้างเป็นส่วนขยายจากวิลล่าหานบี้ซาน (Hanbi Villa) ในช่วงที่ 3 ของการก่อสร้างสวนหลิว โดยต้องการให้มีรูปแบบคล้ายกับเรือที่อยู่ในสระน้ำ | |
ศาลาดอกหอมหมื่นลี้ (Osmanthus fragrans Pavilion, 闻木樨香斩)
ศาลาทรงสี่เหลี่ยมหลังคาปั้นหยา เชื่อมต่อกับทางเดินมีหลังคาที่อยู่ด้านหลัง | |
ศาลาสายลมสดชื่น (Refreshing Breeze Pavilion, 清风池馆)
ได้ชื่อมาจากบทกวีของซูขื่อ (Su Shi หรือ Su Dongpo; 蘇軾)ใน Ode to Chi Bi ซึ่งกล่าวไว้ว่า "The soothing breeze slowly blow this way but the pond is rippless..."[1] การก่อสร้างออกแบบให้มีช่องลม (Venturi effect) เพื่อให้เกิดทางลมเข้าสู่สระน้ำ อาคารมีลักษณะเป็นศาลาทรงสี่เหลี่ยมปิดล้อมด้วยผนังทึบสามด้าน | |
ห้องเรียนแห่งการรู้แจ้ง (Study of Enlightenment) | |
หอสายธารคดเคี้ยว (Winding Stream Tower)
เป็นอาคารสูงสองชั้น ได้ชื่อมาจากบทกวีของเหวินเจิงหมิง (Wen Zhengming; 文征明) กล่าวไว้ว่า "สายธารอันคดเคี้ยวนำไปสู่ท้องน้ำกว้างใหญ่ (The winding stream leads to the open place.)" | |
สวนตะวันออก (East Garden) | |
หินหยุนถิง (Auspicious Cloud Capped Peak, 冠云峰)
เป็นหนึ่งในบรรดาหินบัณฑิต (scholar stone) ชิ้นหนึ่งที่มีคุณค่าสูงของประเทศจีน ซึ่งได้รับสืบทอดมาจากสมัยราชวงศ์ซ่ง | |
วัดคอยเมฆ (Awaiting Cloud Temple, 云)
ได้ชื่อมาจากหินหยุนถิง (Auspicious Cloud Capped Peak) | |
ศาลาหยุนถิง (Cloud Capped Pavilion, 冠云亭)
ศาลาทรงหกเหลี่ยม ตั้งอยู่ใกล้ the Auspicious Cloud Capped Peak | |
อาคารหยุนถิง (Cloud Capped Tower, 冠云楼)
อาคารหลังคาจั่วปั้นหยา ปัจจุบันใช้เป็นโรงน้ำชา (tea house) | |
ศาลาเหมาะแก่การเพาะปลูก (Good for Farming Pavilion, 佳晴喜雨快雪之亭)
ศาลาทรงสี่เหลี่ยมมีผนังปิดทึบทั้งสามด้าน | |
ศาลาหินบูชา (Worshipping Stone Pavilion, #峰斩)
ศาลาเล็กขนาดหนึ่งส่วน เชื่อมต่ออยู่กับทางเดินมีหลังคาและด้านหลังของศาลาเหมาะแก่การเพาะปลูก (Good for Farming Pavilion) ได้ชื่อมาจากหินหยุนถิง (Auspicious Cloud Capped Peak) ที่ตั้งอยู่ด้านหน้า | |
ศาลาแห่งสามัคคี (Pavilion of Oneness)
ศาลาทรงสี่เหลี่ยมที่อยู่ติดกับประตูทางเข้าของลานเล็กป่าหิน (Small Court of Stone Forest) | |
หอกลับสู่การเรียนรู้ (Return–to–Read Study, 还我读书斋)
เป็นอาคารที่หันหน้าเข้าสู่สวนและมีทางเดินคลุมด้วยหลังคาล้อมรอบ ตกแต่งด้วยหินศิลาจารึกเขียนด้วยอักษรวิจิตร (Calligraphy) สมัยราชวงศ์ซ่ง รวม 99 ชิ้น | |
ลานเล็กของป่าหิน (Small Court of Stone Forest)
เป็นพื้นที่สวนขนาด 100 ตารางเมตรที่แบ่งออกเป็น ส่วน ประดับด้วยหินบัณฑิต (scholar stone) และบนทางเดินตกแต่งด้วยรูปนกกระสา กวาง และค้างคาว 5 ตัว ที่เป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาว | |
'สวนเล็กของป่าหิน ('Small Garden of the Stone Forest)
สวนทางเข้าของประตูสภาวะสู่ความเงียบสงบ (View to Quietude Gate) ล้อมรอบด้วยทางเดินมีหลังคาคลุมสามด้าน ตรงบริเวณกลางสวนเป็นหินประดับ ชื่อ "Afterglow Peak" และ "Hound Peak" ชื่อของสวนได้มาจากชื่อของสวนในบทกวีชื่อ The Garden of Delicate Stones ที่เขียนโดยหลิวเหมิงเต๋อ (Liu Mengde) สม้ยราชวงศ์ซ่ง | |
ศาลาป่าหิน (Stone Forest Pavilion)
ศาลาเดี่ยวทรงหกเหลี่ยม หลังคาปั้นหยา ตั้งอยู่ในลานเล็กของป่าหิน (Small Court of Stone Forest) บางครั้งก็เรียกศาลานี้ว่า ศาลาสีท้องฟ้า (Azure Pavilion) | |
โถงหินบูชา (Worshipping Stone Hall)
เป็นโถงขนาดสามส่วนในบริเวณสวนเล็กของป่าหิน (Small Garden of the Stone Forest courtyard) มีผนังปิดทึบสามด้าน โดยได้ชื่อมาจากหินบัณฑิต (scholar stone) ที่ตั้งอยู่ด้านหน้า บริเวณกลางลาน ที่มีชื่อว่า "หินแสงค้างฟ้า (Afterglow Peak)" | |
สวนตะวันตก (West Garden) | |
ศาลาสุขใจ (Delightful Pavilion, 至乐亭)
ศาลาทรงหกเหลี่ยมด้วยหลังคาทรงปั้นหยาสำหรับชมสวนถาด (Penzai) ด้วยชื่อศาลาที่มีความหมายโดยนัยถึงประสบการณ์ที่น่ารื่นรมย์ยิ่งของผู้เยี่ยมชมสวน | |
ศาลาปลอดเสียงคำราม (Free Roaring Pavilion, 舒啸亭)
ศาลาเดี่ยวทรงหกเหลี่ยมมีหลังคาทรงกลม ตั้งอยู่บนเนินเขาเพื่อใช้ชมสวนดอกพีช (peach blossom garden) | |
'หมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง ('One More Village)
ชื่อได้มาจากบทกวีของ Lu Yu ซึ่งกล่าวว่า "เมือเขาและลำธารมาบรรจบกัน ท่ามกลางความร่มรื่นของสวนหลิวและดอกไม้บาน ก็ปรากฏเกิดหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง (Where the hills and streams end there seems no road beyond, amidst the shady willows and blooming flowers another village appears)" บริเวณนี้เคยเป็นสวนที่เลียนแบบหมู่บ้านชนบทที่งดงาม ปัจจุบันใช้เป็นที่เก็บรักษาสวนถาดหรือบอนไซ (Penjing หรือ Penzai) ที่มีการสะสมไว้ | |
'โถงดอกพีชบาน ('Peach Blossom Dock)
เป็นโถงสี่เหลี่ยมหลังคาสองชั้นเชื่อมต่อกับทางเดินที่มีหลังคาคลุม ได้ชื่อมาจากกลุ่มต้นพีชที่อยู่ด้านหน้าโถงนี้ | |
สถานที่แห่งความมีชีวิตชีวา (Place of Liveliness)
ตั้งชื่อตามแนวคิดปรัชญาจีนโบราณที่เกี่ยวกับธรรมชาติของชาวพุทธ |
-
หอตะวันตก
-
หอสีเข���ยว
-
ศาลาบนเกาะกลางสระน้ำ
-
สระน้ำ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 Yuan (袁), Xuehan (2004). "The Classical Gardens of Suzhou (苏州古典园林)". CIP. p. 217. ISBN 7-214-03763-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-25. สืบค้นเมื่อ 2014-04-13.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ 2.0 2.1 (Map) (2003 ed.). UNESCO http://whc.unesco.org/en/list/813. สืบค้นเมื่อ 2009.
{{cite map}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 Ministry of Culture, P.R. China (2003). "Lingering Garden". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2009.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Official website of Lingering Garden". 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2009.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
อ่านเพิ่ม
[แก้]- China culture เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
บรรณานุกรม
[แก้]- Garden Visit, 2008, สืบค้นเมื่อ 2009
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - Terebess LLC (June 24, 2004), The Lingering Garden, สืบค้นเมื่อ 2009-02-30
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - Suzhou Mingcheng Information Port Co., LTD, The Lingering Garden, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03, สืบค้นเมื่อ 2009-02-30
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)