ข้ามไปเนื้อหา

สริตา ผ่องศรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้ได้รับเหรียญรางวัล
รายการเหรียญรางวัล
ตัวแทนของ  ไทย
เทควันโด หญิง
เอเชียนเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเชียนเกมส์ 2010 ไม่เกิน 53 กก.
เทควันโดชิงแชมป์โลก
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ เดนมาร์ก 2009 ไม่เกิน 53 กก.
กีฬามหาวิทยาลัยโลก
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 เซอร์เบีย 2009 ไม่เกิน 55 กก.
เทควันโดชิงแชมป์เอเชีย
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 อุซเบกิสถาน 2014 ไม่เกิน 53 กก.
ซีเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ซีเกมส์ 2009 ไม่เกิน 53 กก.
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ซีเกมส์ 2011 ไม่เกิน 53 กก.
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ซีเกมส์ 2013 ไม่เกิน 53 กก.
กีฬาแห่งชาติ
เหรียญทอง - ชนะเลิศ กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 41 ไม่เกิน 57 กก.
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 ไม่เกิน 57 กก.
กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
เหรียญทอง - ชนะเลิศ กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 40 ไม่เ���ิน 57 กก.
เหรียญทอง - ชนะเลิศ กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 ไม่เกิน 53 กก.

สริตา ผ่องศรี ชื่อเล่น หยิน เกิดวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ที่โรงพยาบาลรามคำแหง กรุงเทพมหานคร เป็นนักกีฬาเทควันโดหญิงทีมชาติไทย[1] และเป็นนักกีฬาชาวไทยคนแรก ที่ได้รับเหรียญทอง ในการแข่งขันเทควันโดในเอเชียนเกมส์ 2010[2] โดยเอาชนะเหงียน ธิ ฮอย ธู นักกีฬาจากเวียดนาม ในรุ่นน้ำหนักไม่เกิน 53 กก.หญิง ที่นครกว่างโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี ชเว ยองซอก เป็นหัวหน้าโค้ช สริตาสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนบางกะปิ ระดับชั้นอุดมศึกษา จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมีบ้านพักอาศัยอยู่ที่เขตบางกะปิ

ประวัติ

[แก้]

สริตา ผ่องศรี เป็นบุตรสาวของคุณพ่อสุวิทย์ ผ่องศรี และคุณแม่จำรูญศรี ผ่องศรี เริ่มเล่นเทควันโดครั้งแรกเมื่ออยู่ได้เพียง 6 ขวบ ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สริตามีนักกีฬาในดวงใจ คือ แม่น้ำ เชิดเกียรติศักดิ์ ซึ่งเป็นอดีตนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย ครั้นเมื่ออายุ 15 ปี เธอได้มีอาการบาดเจ็บที่หัวเข่าขวา ถึงขั้นเอ็นไขว้าหน้าขาด จนต้องรับการผ่าตัดและพักฟื้นนาน 1 ปี[3]

ส่วนในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2010 นั้น เธอได้ติดทีมชาติมาในฐานะที่ไม่ใช่นักกีฬาความหวังแต่อย่างใด ด้วยไม่เคยมีผลงานเด่นในระดับเยาวชนมาก่อน โดยในระดับทีมชาติชุดใหญ่ติดมาเพียง 3 ครั้ง แต่ทุกครั้งที่เธอแข่งก็ได้รับเหรียญรางวัลมาทุกครั้ง[4] ซึ่งเธอได้รับรางวัลเหรียญทองในการแข่งขัน นับเป็นนักเทควันโดไทยคนแรกที่ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันเอเชียนเกมส์[5]

สริตาเข้าร่วมการแข่งขันซีเกมส์ 3 ครั้ง ในรุ่นน้ำหนักไม่เกิน 53 กก.หญิง โดยสามารถคว้าเหรียญทอง และเป็นแชมป์ได้ถึง 3 สมัย ตั้งแต่ซีเกมส์ครั้งที่ 25 ที่ประเทศลาว ซีเกมส์ครั้งที่ 26 ที่ประเทศอินโดนีเซีย และซีเกมส์ครั้งที่ 27 ที่ประเทศเมียนมาร์[6]

สริตาเข้าร่วมการแข่งขันเทควันโดชิงแชมป์เอเชีย ในรายการ "Asian Taekwondo Championships 2014" ที่ประเทศอุซเบกิสถาน โดยคว้าเหรียญทองแดงในรุ่นน้ำหนักไม่เกิน 53 กก.หญิง[7] จากนั้นเข้าร่วมการแข่งขันเทควันโดในกีฬามหาวิทยาลัยโลก ที่เมืองโฮฮอท สาธารณรัฐประชาชนจีน คว้าเหรียญเงินในรุ่นน้ำหนักไม่เกิน 53 กก.หญิง และคว้าเหรียญทองในการแข่งขันต่อสู้ทีมหญิงร่วมกับคาสซานดร้า ฮาลเลอร์ ศิริพร บวบสด รุ่งรวี ขุระสะ รังสิญา นิสัยสม ซึ่งเป็นการคว้าเหรียญทองประเภททีมหญิงได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์[8]

ต่อมาเข้าร่วมการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2014 ที่เมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ ในการแข่งขันเทควันโดรุ่นน้ำหนักไม่เกิน 53 กก.หญิง ซึ่งเป็นการเข้าร่วมแข่งขันเอเชียนเกมส์เป็นครั้งที่ 2 โดยเข้าร่วมการแข่งขันกับนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย จำนวน 10 คน ประกอบด้วย พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 46 กก.หญิง ชนาธิป ซ้อนขำ รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 49 กก.หญิง รังสิญา นิสัยสม รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 57 กก.หญิง อิศรินทร์ ทวีปถาวรวงศ์ รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 62 กก.หญิง รามณรงค์ เสวกวิหารี รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 54 กก.ชาย เป็นเอก การะเกตุ รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 58 กก.ชาย อัครินทร์ กิจวิจารณ์ รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 63 กก.ชาย เชษฐรพี ต่างใจ รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 68 กก.ชาย พีระเทพ ศิลาอ่อน รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 74 กก.ชาย ณัฐภัทร ตันตรามาตย์ รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 87 กก.ชาย[9]

สริตาได้อำลาทีมชาติเรียบร้อยแล้ว หลังจากการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2014 ที่ประเทศเกาหลีใต้ ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นโค้ชให้กับนักกีฬา

ผลงานที่ผ่านมา

[แก้]

ระดับประเทศ

[แก้]
  • พ.ศ. 2549 เหรียญทอง : เทควันโดเยาวชนชิงแชมป์ประเทศไทย
  • พ.ศ. 2550 เหรียญทอง : เทควันโดชิงแชมป์ประเทศไทย
  • พ.ศ. 2555 เหรียญทองแดง : เทควันโดชิงแชมป์ประเทศไทย
  • พ.ศ. 2555 เหรียญทอง : กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 41 "เชียงใหม่เกมส์"
  • พ.ศ. 2556 เหรียญทอง : กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 40 "พลบดีเกมส์"
  • พ.ศ. 2557 เหรียญเงิน : กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 "สุพรรณบุรีเกมส์"
  • พ.ศ. 2557 เหรียญทอง : กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 "มอดินแดงเกมส์"

ระดับนานาชาติ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sarita Phongsri Taekwondo Data
  2. <아시안게임> 泰, 태권도 금메달 획득 대서특필, 연합뉴스 (เกาหลี)
  3. 3.0 3.1 ไทยคว้าเหรียญทองแรก! สำเร็จ จอมเตะสาว"สริตา ผ่องศรี" พลิกชนะเวียดนามหวุดหวิด 4-3 ข่าวมติชนออนไลน์
  4. "หยิน"สริตา ผ่องศรี จากเกือบเลิกสู่รองแชมป์โลก[ลิงก์เสีย] จากข่าวสด
  5. สริตา ผ่องศรี - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
  6. น้องหยินป้องแชมป์สมัย3 จอมเตะไทยกวาดเพิ่ม3ทอง[ลิงก์เสีย]
  7. ทีมหญิงไทย ซิวอันดับ 3 ส่งท้ายเทควันโดเอเชีย
  8. "จอมเตะสาวไทยดับโสมซิวแชมป์ม.โลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-06-14.
  9. "โค้ชเช ลั่นดับฝันกวาด 7 ทองของโสมขาว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-15. สืบค้นเมื่อ 2015-12-16.
  10. 10.0 10.1 ช่วยกันลุ้น สริตา ผ่องศรี คอลัมน์หนังสือพิมพ์ข่าวสด
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2022-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๒๗, ๙ มกราคม ๒๕๕๘

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]