ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพ���ะเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 แห่งจอร์แดน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 แห่งจอร์แดน

สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 แห่งจอร์แดน
เอมิเรตส์แห่งทรานส์จอร์แดน และ พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน
ครองราชย์1 เมษายน 1921 - 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1951
รัชกาลก่อนหน้าตั้งราชอาณาจักร
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระเจ้าเฏาะลาลแห่งจอร์แดน
ประสูติ2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1882
สวรรคต20 กรกฎาคม ค.ศ. 1951
พระมเหสีสมเด็จพระราชินีมุสบาห์ บิน นัสเซอแห่งจอร์แดน
พระราชบุตรเจ้าหญิงฮายา
สมเด็จพระเจ้าเฏาะลาลแห่งจอร์แดน
เจ้าชายนาเยฟ บิน อับดุลลอฮ์
เจ้าหญิงมานียา
เจ้าหญิงมาบูลา
เจ้าหญิงนาเฟีย
สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 แห่งจอร์แดน
ราชวงศ์ฮัชไมต์
พระบิดาฮุสเซน บิน อลี
พระมารดาอับดียา บินท์ อับดุลเลาะห์
ศาสนาศาสนาอิสลาม

สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 แห่งจอร์แดน หรือ อับดุลเลาะฮ์ อิบนิ ฮูไซน์ (Abdullah ibn Husein) เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ฮัชไมต์จอร์แดน เสด็จพระราชสมภพที่เมืองมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบียเมื่อ พ.ศ. 2425 เป็นโอรสของชะรีฟ ฮูไซน์ อิบนิ อาลี ผู้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฮิญาซ และ อับดียา บินท์ อับดุลเลาะฮ์เป็นพระมารดา ในวัยเยาว์ ทรงเติบโตในพระราชวังของสุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2 ต่อมาได้เป็นตัวแทนของฮิญาซในรัฐสภาออตโตมันระหว่าง พ.ศ. 2451 – 2457

การต่อต้านการปกครองของชาวเติร์กในหมู่ชาวอาหรับเริ่มขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ใน พ.ศ. 2457 อับดุลเลาะฮ์ได้เจรจากับกงสุลใหญ่อังกฤษประจำอียิปต์ก่อนจะนำชาวอาหรับเข้าร่วมกับอังกฤษในการต่อต้านออตโตมัน เมื่อสงครามสิ้นสุด ชารีฟ ฮูไซน์ได้แต่งตั้งฟัยศ็อล น้องชายของอับดุลเลาะห์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งซีเรีย และให้อับดุลเลาะห์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอิรัก แต่ฝรั่งเศสคัดค้านเพราะต้องการครอบครองซีเรีย อังกฤษจึงตัดสินใจแยกจอร์แดนออกจากปาเลสไตน์ แล้วยกให้อับดุลเลาะห์ปกครองในตำแหน่งเอมิเรตส์แห่งทรานส์จอร์แดนเมื่อ พ.ศ. 2464 ส่วนฟัยศ็อลนั้นให้ไปเป็นกษัตริย์ปกครองอิรัก

ในตอนแรก การแต่งตั้งอับดุลเลาะฮ์เป็นพระมหากษัตริย์จอร์แดนจะเป็นการชั่วคราวเพียง 6 เดือน แต่ภายหลัง อังกฤษประกาศต่ออายุการเป็นพระมหากษัตริย์จอร์แดนของอับดุลเลาะห์ออกไปอย่างไม่มีกำหนด และประกาศแยกจอร์แดนออกจากปาเลสไตน์ที่เตรียมยกให้ขบวนการไซออนิสต์อย่างถาวร การปกครองของอับดุลเลาะฮ์ได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษอย่างมาก จนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2489 ทรงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์แห่งจอร์แดน เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ปาเลสไตน์ และการจัดตั้งประเทศอิสราเอล พระองค์ต่อต้านชาวยิวอย่างเปิดเผย ส่งกองทัพเข้ายึดครองฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนและชายฝั่งทะเลแดงมาเป็นของจอร์แดน ใน พ.ศ. 2493 ต่อมา พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์เมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2494

อ้างอิง

[แก้]
  • มนัส เกียรติวาริช. อับดุลเลาะห์ อิบนิ ฮูไซน์ ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 14 - 15

ผู้สืบทอดตำแหน่ง

[แก้]
ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 แห่งจอร์แดน ถัดไป

พระมหากษัตริย์จอร์แดน
(ค.ศ. 1921— ค.ศ. 1951)
สมเด็จพระราชาธิบดีฎอลาลแห่งจอร์แดน

ดูเพิ่ม

[แก้]