สมาคมประภาคารและเครื่องหมายทางเรือระหว่างประเทศ
อังกฤษ: International Association of Marine Aids to Navigation and Lighthouse Authorities | |
เครื่องหมาย | |
ชาติสมาชิก ชาติที่มีสมาคมเป็นสมาชิก ไม่ใช่ชาติสมาชิก | |
ชื่อย่อ | IALA |
---|---|
คําขวัญ | Successful voyages, sustainable planet. |
สถาปนา | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 |
ประเภท | องค์การระหว่างประเทศ |
สถานะตามกฎหมาย | สมาคม |
สํานักงานใหญ่ | แซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล, ประเทศฝรั่งเศส |
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ | ทั่วโลก |
เว็บไซต์ | www |
ชื่อในอดีต | สมาคมประภาคารระหว่างประเทศ |
สมาคมประภาคารและเครื่องหมายทางเรือระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Association of Marine Aids to Navigation and Lighthouse Authorities: IALA) ก่อนหน้าที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ สมาคมประภาคารระหว่างประเทศ (International Association of Lighthouse Authorities) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500 เพื่อรวบรวมและให้ความรู้และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเดินเรือ โดยมีชื่อภาษาฝรั่งเศสว่า Association Internationale de Signalisation Maritime (AISM) [1]
ประวัติ
[แก้]สมาคมประภาคารและเครื่องหมายทางเรือระหว่างประเทศ (IALA) เป็นการรวมตัวแทนด้านความช่วยเหลือในการให้บริการเดินเรือจากประมาณ 80 ประเทศเพื่อการประสานงานในด้านเทคนิค การแบ่งกันข้อมูล และการประสานการปรับปรุงความช่วยเหลือในการเดินเรือทั่วโลก ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2500[2] เพื่อจัดให้มีองค์กรถาวร���นการสนับสนุนการประชุมเทคนิคทางประภาคาร (Technical Lighthouse Conferences) ซึ่งก่อตั้งขั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 โดยจะจัดให้มีประชุมทุก ๆ สี่ปี มีสมาชิกจำนวน 24 คนที่มีการประชุมกันปีละสองครั้งเพื่อติดตามและดูแลโครงการที่กำลังเดินการอยู่
คณะกรรมการสี่ชุดที่ดูแลแผนงานที่จัดตั้งขึ้นเป็นระยะเวลาสี่ปี ประกอบไปด้วย
- ENAV: e-Navigation – ระบบการเดินเรืออิเล็กทรอนิกส์
- ARM: Aids to Navigation Requirements and Management ข้อกำหนดและการจัดการเครื่องหมายทางเรือ – มุ่งเน้นไปที่การจัดการปัญหาด้านการจัดการที่สมาชิกประสบ
- ENG: Engineering and Sustainability วิศวกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน – มุ่งเน้นในด้านของวิศวกรรมเครื่องหมายทางเรือทั้งหมดรวมถึงด้านผลกระทบต่อสิงแวดล้อม รวมไปถึงดูแลงานและกิจกรรมของ IALA ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ประภาคารและอุปกรณ์ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
- VTS: Vessel Traffic Services ระบบควบคุมการจราจรทางน้ำ – มุ่งเน้นไปที่ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระบบควบคุมการจราจรทางน้ำทั้งหมด
คณะกรรมการของ IALA ได้จัดทำเอกสารสำคัญให้แก่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization: IHO) และองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ ในขณะที่สำนักเลขาธิการ IALA ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางเทคนิค และจัดการสัมมนารวมถึงการสนับสนุนทางเทคนิคสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
ภารกิจหลักของสมาคมเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 คือการนำระบบทุ่นลอยทางทะเลของ IALA มาใช้งาน โดยนำระบบนี้มาแทนที่ระบบทุ่นลอยเดิมที่แตกต่างกันกว่า 30 ระบบที่มีการใช้งานมาก่อนหน้านี้แล้วทั่วโลกด้วยระบบหลักที่แบ่งเป็น 2 ระบบ ซึ่งระบบนี้มีที่มามาจากเหตุการณ์อุบัติเหตุสองครั้งในช่องแคบโดเวอร์ในปี พ.ศ. 2514 เมื่อเรือบรันเดินบวร์ก ชนเข้ากับซากเรือเทกซาโกแคริบเบียนนอกชายฝั่งโฟล์กสโตนและจมลง แม้ว่าซากเรือดังกล่าวจะได้รับการติดตั้งทุ่นลอยเตือนแล้วก็ตาม หลังจากนั้นไม่นาน เรือนิกิก็ได้ชนเข้ากับซากเรือเทกซาโกแคริบเบียนและจมลงอีกลำ แม้ว่าจะมีการทำเครื่องหมายป้องกันไว้แล้วเช่นกัน โดยเหตุการณ์ดังกล่าวทั้ง 2 ครั้งทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันถึง 51 ราย[3]
แม้ว่าข้อตกลงระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2525 ในการใช้ระบบทุ่นลอยร่วมกันจะเป็นอีกความสำเร็จของ IALA ได้ด้วยการทำงานหนักของคณะกรรมการ แต่ก็ยังมีผลสำเร็จอย่างอื่นอีกมากมายในเชิงเทคนิคที่ถูกนำมาใช้งาน เช่น ระบบสำแดงข้อมูลเรืออัตโนมัติ (Automatic. Identification System: AIS) ระบบการหาตำแหน่งแบบสัมพัทธ์ DGNSS (Differential Global Navigation System) และอื่น ๆ อีกมากมาย
สำหรับเป้าหมายความสำเร็จในอนาคต คือการนำระบบการเดินเรืออิเล็กทรอนิกส์ไปใช้งาน โดยไม่ได้มุ่งเป้าไปที่เรือที่เดินเรือด้วยระบบอิเล็กทรอกนิกส์ แต่เป็นการรวบรวมข้อมูลและการนำทางทั้งผมดผ่านฐานข้อมูลที่เชื่อมต่อกันและมีการแลกเปลี่ยนประสานข้อมูลกัน
สมาคมประภาคารและเครื่องหมายทางเรือระหว่างประเทศ (IALA) ตั้งอยู่ใกล้กับปารีส ในเมืองแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล ประเทศฝรั่งเศส
ข้อเสนอแนะหลัก
[แก้]องค์กร IALA เป็นที่รู้จักกันในด้านของระบบทุ่นลอยทางทะเลของ IALA หรือระบบเครื่องหมายทางทะเลที่ใช้ในการนำร่องเรือในทะเล[4]
- เครื่องหมายทางข้าง ใช้ในการระบุขอบของร่องน้ำ
- เครื่องหมายจตุรทิศ ใช้ในการระบุทิศทางน่านน้ำที่ปลอดภัยและจุดอันตราย
- เครื่องหมายแสดงที่ปลอดภัย (Safe water marks) ใช้ในการระบุระดับน้ำลึกและปลายเปิดของร่องน้ำ
- เครื่องหมายพิเศษ (Special marks) ใช้ในการระบุพื้นที่หรือลักษณะพิเศษ เช่น ท่อระบายน้ำ พื้นที่ในการบริหารจัดการเฉพาะ พื้นที่จำกัดความเร็ว เป็นต้น
- เครื่องหมายสิ่งอันตรายโดดเดี่ยว (Isolated danger marks) ใช้ในการระบุสิ่งอันตรายต่อการเดินเรือ
- ทุ่นเรืออับปางฉุกเฉิน (Emergency Wreck Buoy) เป็นมาตรการชั่วคราวที่ใช้เพื่อทำเครื่องหมายบริเวณที่พึ่งมีเรืออัปปาง (ข้อเสนอแนะของ IALA, O-133 เริ่มใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2549)
โดยแต่ละประเภทของเครื่องหมายมีสี รูปร่าง และลักษณะเฉพาะของแสงไฟกระพริบที่แตกต่างกันออกไป
ภูมิภาคเครื่องหมายทางทะเลของ IALA
[แก้]ระบบทุ่นลอยของ IALA แบ่งออกเป็นสองภูมิภาคบนโลกด้วยกัน คือ ภูมิภาค A และภูมิภาค B โดยภูมิภาค B ครอบคลุมทั่วทั้งทวีปอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ ในขณะที่ส่วนที่เหลือของโลกอยู่ในภูมิภาค A[5]
แหล่งที่มา
[แก้]ข้อมูลความเป็นมาของบทความนี้มาจากมาตรา 125 ของ American Practical Navigator ซึ่งเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นโดยรัฐบาลสหรัฐ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ IALA 2013, p. 24.
- ↑ "International Association of Marine Aids to Navigation and Lighthouse Authorities | UIA Yearbook Profile | Union of International Associations". uia.org.
- ↑ "The Mariner's Handbook", Admiralty, UKHO, p206
- ↑ IALA (13 August 2013), Maritime buoyage system and other aids to navigation (PDF), pp. 3–4, สืบค้นเมื่อ 29 June 2019 http://www.cil.ie/media/11141/IALA-MBS.pdf IALA Maritime Buoyage System
- ↑ IALA 2013, pp. 12–13.