สมรถ คำสิงห์
สมรถ คำสิงห์ | |
---|---|
เกิด | พันโท สมรถ คำสิงห์ 24 กันยายน พ.ศ. 2514 |
สถิติเหรียญโอลิมปิก | ||
---|---|---|
มวยสากลสมัครเล่น | ||
ซีเกมส์ | ||
ซีเกมส์ 1995 | ไลท์ฟลายเวท |
พันโท สมรถ คำสิงห์ อดีตนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทยและอดีตนักมวยไทย ผู้เป็นพี่ชายแท้ ๆ ของ สมรักษ์ คำสิงห์ นักกีฬาชาวไทยคนแรกที่สามารถคว้าเหรียญทองโอลิมปิกมาได้
สมรถเกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2514 ที่บ้านโนนสมบูรณ์ อำเภอบ้านไผ่(ปัจจุบันแยกเป็นอำเภอบ้านแฮด) จังหวัดขอนแก่น โดยคลอดบนรถโดยสาร ขณะที่นางประยูร ผู้เป็นแม่กำลังเดินทางจะไปคลอดที่สถานีอนามัย จึงได้ชื่อเล่นว่า "บัส" หรือ "รถ"
ทั้งสมรถและสมรักษ์ได้ถูกพ่อ คือ นายแดง ฝึกให้ชกมวยมาตั้งแต่เด็ก โดยขึ้นชกตระเวนไปในแถวบ้านเกิด เนื่องจากความยากจน เมื่อได้เดินทางเข้ามาชกในกรุงเทพฯ พร้อมสมรักษ์น้องชาย สมรถได้ใช้ชื่อว่า "พิมพ์อรัญ ศิษย์อรัญ" ขณะที่สมรักษ์ใช้ชื่อว่า "พิมพ์อรัญเล็ก ศิษย์อรัญ" ซึ่งก็ถือว่าเป็นนักมวยไทยที่มีชื่อเสียงด้วยกันทั้งคู่
และเมื่อเบนเข็มมาชกมวยสากลสมัครเล่น ทั้งคู่ก็เริ่มชกพร้อมกัน โดยที่สมรถชกในพิกัดรุ่น 48 กิโลกรัม (ไลท์ฟลายเวท) ขณะที่สมรักษ์ชกในพิกัด 57 กิโลกรัม (เฟเธอร์เวท) เนื่องจากมีรูปร่างที่เล็กกว่าสมรักษ์น้องชาย
สมรถ คำสิงห์ สามารถคว้าเหรียญทองมาได้ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 18 ที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ติดทีมชาติไปแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก 1996 ที่นครแอตแลนตา สหรัฐอเมริกา พร้อมกับสมรักษ์ซึ่งก็ได้เหรียญทองมาในคราวเดียวกัน
ซึ่งในการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ ทั้งคู่ได้ถูกสื่อมวลชนสหรัฐฯ จับตามองว่าจะเป็นคู่พี่น้องที่สามารถคว้าเหรียญทองโอลิมปิกมาครองพร้อมกันได้เฉกเช่น ลีออง สปิ๊งคส์ และไมเคิล สปิ๊งคส์ ในโอลิมปิกที่นครมอนทรีออล ปี 1976 หรือไม่
ผลการแข่งขัน ในรอบแรก สมรถสามารถเอาชนะ ยาซา กีริทลี นักมวยชาวตุรกีไปได้ 19-4 หมัด ในรอบที่สอง สมรถเอาชนะ ซาบิน บรอไน นักมวยชาวโรมาเนียไป 18-7 หมัด แต่ในรอบที่สาม สมรถเป็นฝ่ายแพ้ เดเนียล เปทรอฟ นักมวยชาวบัลแกเรียไป 18-6 หมัด ซึ่งเปทรอฟต่อมาก็เป็นผู้ที่ได้เหรียญทองในการชกรุ่นนี้ด้วย หลังจากนั้น สมรถก็ได้แขวนนวมไปในที่สุด
ภายหลังได้เข้าทำงานเป็นโค้ชมวยสากลสมัครเล่น ให้กับสโมสรตำรวจ และได้รับการแต่งตั้งเป็นตำรวจเป็นกรณีพิเศษ ยศ ร้อยตำรวจเอก (ร.ต.อ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[1]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[2]
- พ.ศ. 2545 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[3]
- พ.ศ. 2560 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[4]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[5]
- พ.ศ. 2552 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2022-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗๓, ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2022-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๙๒, ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๑๗, ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๙ ข หน้า ๑๖, ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑๗, ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓
- sports-reference เก็บถาวร 2009-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน