ข้ามไปเนื้อหา

สปรูซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Spruce
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Valanginian–Recent
สปรูซนอร์เวย์ (Picea abies)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophyta
เคลด: Gymnosperms
หมวด: Pinophyta
ชั้น: Pinopsida
อันดับ: Pinales
วงศ์: วงศ์สนเขา
วงศ์ย่อย: Piceoideae

Frankis
สกุล: Picea

Mill.

สปรูซ (อังกฤษ: Spruce) เป็นต้นไม้ในสกุล Picea ซึ่งประกอบไปด้วยพืชจำพวกสนไม่ผลัดใบประมาณ 35 สปีชีส์ จัดอยู่ในวงศ์ Pinaceae พบในเขตอบอุ่นและเขตไทกาของซีกโลกเหนือของโลก Picea เป็นสกุลเดียวในอนุวงศ์ Piceoideae สปรูซเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่จะสูงประมาณ 20-60 เมตร (ประมาณ 60–200 ฟุต) และมีกิ่งก้านเป็นวงรอบและมีรูปทรงกรวย สปรูซแตกต่างกับต้นไม้ในตระกูลสนอื่น ๆ ตรงที่ใบ ซึ่งมีสี่ด้านและยึดติดกับโครงสร้างที่มีลักษณะเหมือนหมุดขนาดเล็กบนกิ่ง และโดยโคน (ไม่นับใบประดับที่ยื่นออกมา) ซึ่งจะห้อยลงมาหลังจากผสมเกสรแล้ว ต้นสปรูซจะสลัดใบเมื่ออายุ 4-10 ปี ทำให้กิ่งก้านขรุขระเต็มไปด้วยหมุดที่ไม่ถูกสลัด ในสกุลอื่นที่คล้ายคลึงกัน กิ่งก้านจะค่อนข้างเรียบ

การใช้

[แก้]

การก่อสร้าง

[แก้]

ไม้สปรูซถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลากหลายอย่าง ตั้งแต่งานก่อสร้างทั่วไปและลังไม้ ไปจนถึงการใช้งานในเครื่องบินไม้ ฟลายเออร์เครื่องบินลำแรกของพี่น้องไรต์สร้างขึ้นจากไม้สปรูซ[1]

เนื่องจากสปรูซไม่มีคุณสมบัติต้านทานแมลงหรือการผุหลังจากตัด โดยทั่วไปจึงใช้สำหรับการก่อสร้างในที่ร่มเท่านั้น ไม้สปรูซเมื่อปล่อยไว้ข้างนอกจะอยู่ได้นานไม่เกิน 12-18 เดือน ขึ้นอยู่กับชนิดของสภาพอากาศที่สัมผัส[2]

อาหารและยา

[แก้]

ยอดสดของสปรูซหลายชนิดเป็นแหล่งวิตามินซีตามธรรมชาติ[3] กัปตันคุกทำเบียร์แอลกอฮอล์จากสปรูซระหว่างการเดินทางในทะเลเพื่อป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันให้ลูกเรือ[4][5] ใบและกิ่งก้านหรือน้ำมันหอมระเหย สามารถใช้ต้มเบียร์สปรูซได้

ไม้เครื่องดนตรี

[แก้]

ไม้สปรูซเป็นวัสดุมาตรฐานที่ใช้ในซาวด์บอร์ดสำหรับเครื่องดนตรีหลายชนิด เช่น กีตาร์ แมนโดลิน เชลโล ไวโอลิน เปียโน และพิณ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Milestones of Flight - 1903 Wright Flyer". Smithsonian National Air and Space Museum. 2016-04-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2004. สืบค้นเมื่อ 21 August 2016.
  2. "Picea Genus (spruce)". American Conifer Society. American Conifer Society. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019.
  3. "Tree Book - Sitka spruce (Picea sitchensis)". British Columbia Ministry of Forests, Lands and Natural Resource Operations. สืบค้นเมื่อ 29 July 2006.
  4. Crellin, J. K. (2004). A social history of medicines in the twentieth century: to be taken three times a day. New York: Pharmaceutical Products Press. p. 39. ISBN 978-0789018441.
  5. Stubbs, Brett J. (June 2003). "Captain Cook's beer: the antiscorbutic use of malt and beer in late 18th century sea voyages". Asia Pacific Journal of Clinical Nutrition. 12 (2): 129–137. PMID 12810402.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]