สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย
ประเภท | เอกชน |
---|---|
อุตสาหกรรม | |
ก่อตั้ง | 1966 |
ผู้ก่อตั้ง | สายรัส เอส ปูนาวาลา |
สำนักงานใหญ่ | ปูเณ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | อาดาร์ ปูนาวาลา (CEO) |
ผลิตภัณฑ์ | |
รายได้ | แม่แบบ:INRconvert (FY 2019–20)[1] |
รายได้สุทธิ | แม่แบบ:INRconvert (FY 2019–20)[1] |
บริษัทแม่ | Cyrus Poonawalla Group |
บริษัทในเครือ | Bilthoven Biologicals BV[2] Vakzine Projekt Management GmbH[3] |
เว็บไซต์ | seruminstitute.com |
สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย (อังกฤษ: Serum Institute of India; SII) เป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ และ เภสัชศาสตร์ชีวภาพ สัญชาติอินเดีย สำนักงานใหญ่อยูที่ในเมืองปูเณ และเป็นผู้ผลิตวัคซีนที่ใหญ่ที่สุดในโลก[4][5] บริษัทก่อตั้งขึ้นโดยสายรัส ปูนาวาลา ในปี 1966[6] และปัจจุบันเป็นบริษัทลูกในเครือสายรัส ปูนาวาลา (Cyrus Poonawalla Group)[7]
ภาพรวม
[แก้]สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียก่อตั้งขึ้นในปี 1966 ในเมืองปูเณ ประเทศอินเดีย โดยตั้งขึ้นเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพภูมิคุ้มกัน (immunobiologicals) ซึ่งก่อนหน้าจะต้องนำเข้ามายังอินเดียด้วยมูลค่ามหาศาล ในบรรดาผลิตภัณฑ์แรก ๆ ของบริษัท ที่ได้ผลิตในจำนวนมาก คือ เตตานัสแอนติท็อกซิน, แอนติเวนอมงู, วัคซีนไอกรน บาดทะยัก คอตีบ และ วัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน ปัจจุบันบริษัทผลิตวัคซีนทั้งวัคซีนต่อแบคทีเรีย, ไวรัส, วัคซีนรวม, วัคซีนไข้หวัดใหญ่, วัคซีนเมนิงโงค็อกคอล, แอนติเซอรา, น้ำเลือด และฮอร์โมนสังเคราะห์ ข้อมูลในปี 2014 ระบุว่าวัคซีนของบริษัทได้ถูกนำไปใช้ในโครงการสร้างภูมิคุ้มกันของทั้ง องค์การอนามัยโลก (WHO), UNICEF และ องค์การอนามัยแพนอเมริกัน (PAHO) ปัจจุบันบริษัทบริหารงานโดยเครือปูนาวาลา และใีกิจการในการวิจัย พัฒนา และผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง[8]
ข้อมูลในปี 2020 ระบุว่าบริษัทเป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลกตามจำนวนโดสที่ผลิต[9] โดยผลิตวัคซีนกว่า 1.5 พันล้านโดสต่อปี[10] ผลิตภัณฑ์สำคัญของบริษัท เช่น วัคซีน Tubervac (BCG), Poliovac สำหรับ โปลิโอ และวัคซีนอื่น ๆ ตามโปรแกรมการฉีดวัคซีนในเด็ก[11][12][13]
วัคซีนโควิด-19
[แก้]บริษัทได้ร่วมมือกับบริษัทยาข้ามชาติ AstraZeneca ซึ่งกำลังพัฒนาวัคซีน AZD1222 (Covishield) ร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซเฟิด[14] มีรายงานว่าบริษัท SII จะสามารถผลิตวัคซีน 100 ล้านโดสให้กับอินเดีย และประเทศรายได้ปานกลางถึงต่ำประเทศอื่น ๆ[15][16][17] This target was later increased to 1 billion doses by the end of 2021.[18] โดยคาดการณ์ราคาจำหน่ายอยู่ที่ ₹225 (ราว 3 ดอลล่าร์, ราว 100 บาท) ต่อโดส[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "How profitable is Adar Poonawalla's Serum Institute?". www.businesstoday.in. สืบค้นเมื่อ 25 June 2021.
- ↑ "Bilthoven Biologicals acquired by Serum Institute of India". www.thepharmaletter.com. สืบค้นเมื่อ 2020-07-10.
- ↑ "Profile". www.vpm-consult.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-06. สืบค้นเมื่อ 2020-07-10.
- ↑ "Serum Institute of India Pvt. Ltd.: Private Company Information". bloomberg.com. สืบค้นเมื่อ 2018-09-30.
- ↑ "SERUM INSTITUTE OF INDIA PRIVATE LIMITED - Company, directors and contact details". zaubacorp.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-30.
- ↑ "About Us". Serum Institute of India. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
- ↑ "Poonawalla Investments AND Industries Private Limited Information - Poonawalla Investments AND Industries Private Limited Company Profile, Poonawalla Investments AND Industries Private Limited News on The Economic Times". The Economic Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2020-07-10.
- ↑ Burns, Lawton R. (2014). India's Healthcare Industry: Innovation in Delivery, Financing, and Manufacturing. Cambridge University Press. p. 488-489. ISBN 9781316021217.
- ↑ Reuters Staff (2020-11-23). "Serum Institute to focus on supplying COVID-19 vaccine to India first". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-26.
- ↑ Krishnan, Murali (2020-09-29). "Coronavirus vaccine: Why does India's Serum Institute have a head start?". Deutsche Welle (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-11-26.
- ↑ "Serum Institute Tubervac (BCG)". Serum Institute of India. สืบค้นเมื่อ 2020-06-15.
- ↑ "Serum Institute Poliovac". Serum Institute of India. สืบค้นเมื่อ 2020-06-15.
- ↑ "Vaccination Schedule". Vaccination as per the National Immunization schedule by Government of India. สืบค้นเมื่อ 2020-06-15.
- ↑ "AstraZeneca & Serum Institute of India sign licensing deal for 1 million doses of Oxford vaccine". The Economic Times. สืบค้นเมื่อ 2020-06-15.
- ↑ "Covid-19 vaccine: Serum Institute signs up for 100 million doses of vaccines for India, low and middle-income countries". The Financial Express. 7 August 2020.
- ↑ Banerjee, Shoumojit (7 July 2020). "Oxford COVID-19 vaccine at least 6 months away from launch: Serum Institute CEO". The Hindu (ภาษาIndian English).
- ↑ "Coronavirus (Covid-19) vaccine latest update: Oxford-AstraZeneca corona vaccine production starts; US says 2 billion doses 'ready to go'". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 10 June 2020.
- ↑ "Indian company aims for a billion Covid vaccines". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
- ↑ "Serum Institute of India to provide Covid-19 vaccines through COVAX at Rs 225 a dose". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 7 August 2020.