สถานีอวกาศสกายแล็บ
หน้าตา
ภาพส่วนหนึ่งของสถานีอวกาศสกายแล็บในวงโคจร ภาพจากสถานีควบคุมภารกิจสกายแล็บ 4 | |
โครงการสถานีอวกาศสกายแล็บ | |
ข้อมูลของสถานี | |
---|---|
เลขทะเบียน COSPAR | 1973-027A |
หมายเลข SATCAT | 06633 |
สัญญาณเรียกขาน | Skylab |
จำนวนลูกเรือ | 3 ต่อภารกิจ (รวม 9) |
ส่งขึ้นเมื่อ | 14 พฤษภาคม 1973 17:30:00 UTC |
จรวดขนส่ง | ดัดแปลงจาก จรวดแซตเทิร์น V |
ฐานส่ง | ศูนย์อวกาศเคนเนดี, LC-39A |
กลับสู่บรรยากาศ | 11 กรกฎาคม 1979 16:37:00 UTC |
สถานะภารกิจ | Deorbited |
มวล | 168,750 ปอนด์ (76,540 กิโลกรัม)[1] w/o Apollo CSM |
ความยาว | 82.4 ฟุต (25.1 เมตร) w/o Apollo CSM |
ความกว้าง | 55.8 ฟุต (17.0 เมตร) w/ แผงโซลาร์เซลล์หนึ่งแผง |
ความสูง | 36.3 ฟุต (11.1 เมตร) w/ ติดกล้องโทรทรรศน์ |
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 21.67 ฟุต (6.61 เมตร) |
ปริมาตรอากาศ | 12,417 ลูกบาศก์ฟุต (351.6 ลูกบาศก์เมตร) |
ความดันบรรยากาศ | 5.0 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (34 กิโลปาสกาล) Oxygen 74%, nitrogen 26%[2] |
จุดใกล้โลกที่สุด | 269.7 ไมล์ (434.0 กิโลเมตร) |
จุดไกลโลกที่สุด | 274.6 ไมล์ (441.9 กิโลเมตร) |
ความเอียงวงโคจร | 50.0 องศา |
คาบการโคจร | 93.4 นาที |
จำนวนรอบโคจรต่อวัน | 15.4 |
จำนวนวันที่โคจร | 2249 วัน |
จำนวนวันที่มนุษย์อยู่ | 171 วัน |
จำนวนรอบโคจรรวม | 34,981 |
ระยะทางที่ทำได้รวม | ~890,000,000 mi (1,400,000,000 km) |
สถิติ ณ เข้าใหม่ 11 กรกฎาคม 1979 | |
องค์ประกอบ | |
สกายแล็บ (อังกฤษ: Skylab) เป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของสหรัฐอเมริกา และเป็นสถานีอวกาศแห่งที่สองของโลกที่มีลูกเรืออยู่ปฏิบัติงาน ถัดจากสถานีอวกาศซัลยุตของสหภาพโซเวียต สกายแล็บโคจรอยู่ในวงโคจรของโลกตั้งแต่ ค.ศ. 1973-1979 มีนักบินอวกาศไปประจำการทั้งสิ้น 3 ครั้งระหว่าง ค.ศ. 1973-1974 บนสถานีอวกาศมีห้องทดลองสำหรับศึกษาผลกระทบจาก microgravity รวมถึงเป็นที่ติดตั้งหอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ฐานกล้องโทรทรรศน์อพอลโล
สกายแล็บถูกส่งขึ้นจากโลก เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1973 จากฐานยิง LC-39A ของศูนย์อวกาศเคนเนดีโดยจรวด Saturn INT-21 (ซึ่งเป็นรุ่นดัดแปลงของจรวด Saturn V ที่ใช้ส่งคนไปดวงจันทร์) และตกกลับมาพื้นโลกเมื่อ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1979 ใกล้กับเมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย
- ↑ "EP-107 Skylab: A Guidebook". NASA. สืบค้นเมื่อ 28 February 2017. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Belew (1977), p. 18