สงครามอังกฤษ–แซนซิบาร์
สงครามอังกฤษ-แซนซิบาร์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ฮาเร็มของสุลต่านภายหลังการระดมยิง | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
จักรวรรดิอังกฤษ | รัฐสุลต่านแซนซิบาร์ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
แฮร์รี รอว์ซัน ลอยด์ แมตทิวส์ |
คาลิด บิน บาร์กาช ซาลีห์ | ||||||
กำลัง | |||||||
ภาคพื้นดิน: 1,050 นาย ทะเล: เรือลาดตระเวน 3 ลำ เรือปืน 2 ลำ |
ภาคพื้นดิน: 2,800 นาย ปืนใหญ่ 4 กระบอก ป้อมปืนชายฝั่ง 1 ป้อม ทะเล: เรือยอชท์หลวง 1 ลำ เรือยนต์ 2 ลำ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
บาดเจ็บ 1 นาย[1] |
บาดเจ็บและเสียชีวิต 500 นาย[6] เรือยอชท์หลวงอับปาง 1 ลำ เรืออับปาง 2 ลำ ป้อมปืนชายฝั่งถูกทำลาย 1 ป้อม |
สงครามอังกฤษ-แซนซิบาร์ (อังกฤษ: Anglo-Zanzibar War) เป็นการสู้รบระหว่างสหราชอาณาจักรและรัฐสุลต่านแซนซิบาร์ในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1896 ความขัดแย้งนี้กินเวลาเพียง 38 นาที[nb 1] นับเป็นสงครามที่สั้นที่สุดในประวัติศาสตร์[7] สาเหตุที่ใกล้ชิดของสงครามนี้เกิดจากฮาเม็ด บิน ทูเวไน (Hamad bin Thuwaini) สุลต่านที่ได้รับความเห็นชอบจากสหราชอาณาจักร สวรรคตในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1896 และคาลิด บิน บาร์กาช (Khalid bin Barghash) สืบราชสันตติวงศ์ ขณะที่สหราชอาณาจักรเห็นชอบให้ฮามัด บิน มุฮามเม็ด (Hamud bin Muhammed) ผู้ที่จะอำนวยประโยชน์ให้แก่สหราชอาณาจักรได้มากกว่า เป็นสุลต่าน ตามสนธิสัญญาที่ลงนามใน ค.ศ. 1886 เงื่อนไขการขึ้นครองราชย์ คือ ผู้มีคุณสมบัติต้องได้รับการอนุญาตจากกงสุลสหราชอาณาจักรเสียก่อน แต่คาลิดนั้นมิได้เป็นไปตามข้อกำหนดนี้ สหราชอาณาจักรถือว่าเป็นเหตุแห่งสงคราม และยื่นคำขาดต่อคาลิดให้พระองค์มีพระบรมราชโองการให้กองกำลังของพระองค์วางอาวุธ และให้ออกจากพระราชวัง สุลต่านคาลิดโต้ตอบโดยทรงระดมยามพระราชวังและทรงขังพระองค์อยู่ในพระราชวัง
เส้นตายสิ้นสุดที่เวลา 09:00 น. ตามเวลาแอฟริกาตะวันออก (EAT) ของวันที่ 27 สิงหาคม ณ เวลานั้นกองกำลังของอังกฤษประกอบด้วยเรือลาดตระเวน 3 ลำ เรือปืน 2 ลำ นาวิกโยธินและลูกเรือ 150 นาย และชาวแซนซิบาร์ 900 คนได้ชุมนุมกันที่บริเวณท่าเรือ กองทัพเรือสหราชอาณาจักรอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของพลเรือตรีแฮร์รี รอว์ซัน (Harry Rawson) ขณะที่ชาวแซนซิบาร์อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลจัตวาลอยด์ แมตทิวส์ (Lloyd Mathews) แห่งกองทัพบกแซนซิบาร์ กองกำลังป้องกันพระราชวังฝ่ายแซนซิบาร์มีประมาณ 2,800 คน กองกำลังส่วนมากเกณฑ์มาจากประชาชนทั่วไป มียามพระราชวังปะปนอยู่บ้าง และมีคนรับใช้และทาสของคาลิดอีกหลายร้อยคน ฝ่ายป้องกันมีปืนใหญ่สองสามกระบอกและปืนกลที่ติดตั้งอยู่หน้าพระราชวังโดยเล็งไปยังเรือของอังกฤษ การระดมยิงเปิดฉากเมื่อเวลา 09:02 น. ผลทำให้พระราชวังไฟไหม้และปืนใหญ่ฝ่ายตั้งรับไม่สามารถใช้การได้ มีการปฏิบัติทางเรือขนาดเล็ก โดยฝ่ายอังกฤษสามารถจมเรือยอตช์หลวงของแซนซิบาร์และเรือที่เล็กกว่าได้สองลำ มีการยิงมาที่ทหารแซนซิบาร์ที่นิยมอังกฤษบ้างขณะที่เคลื่อนเข้าสู่พระราชวัง แต่ไร้ผล ธงที่พระราชวังถูกยิงล้ม และการยิงสิ้นสุดลงเมื่อเวลา 09:40 น.
กองกำลังของสุลต่านคาลิดมีกำลังพลสูญเสียประมาณ 500 คน ขณะที่ลูกเรืออังกฤษบาดเจ็บเพียงคนเดียว สุลต่านคาลิดเสด็จลี้ภัยไปยังกงสุลเยอรมนี ก่อนที่จะหลบหนีต่อไปยังแอฟริกาตะวันออกของเยอรมนี (ปัจจุบัน คือ ประเทศแทนซาเนียส่วนแผ่นดินใหญ่) อังกฤษตั้งฮามัดขึ้นเป็นสุลต่านอย่างรวดเร็วเพื่อเป็นผู้นำของรัฐบาลหุ่น สงครามยุติสถานะรัฐเอกราชของแซนซิบาร์และเริ่มต้นยุคที่อังกฤษเข้ามามีอิทธิพลอย่างสูง
จุดเริ่มต้น
[แก้]แซนซิบาร์เป็นประเทศบนเกาะในมหาสมุทรอินเดีย นอกชายฝั่งแทนแกนยิกา ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศแทนซาเนีย เกาะอยู่ภายใต้การปกครองแต่เพียงในนามของสุลต่านแห่งโอมานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1698 เมื่อขับไล่ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวโปรตุเกสผู้อ้างสิทธิ์ในเกาะในปี ค.ศ. 1499 ออกไป[8] สุลต่านฮาจีด บิน เซด (Majid bin Said) ประกาศอิสรภาพจากโอมานใน ค.ศ. 1858 ซึ่งการครั้งนี้บริเตนใหญ่ให้การรับรอง และแบ่งแยกรัฐสุลต่านออกจากโอมาน[8] ต่อมาสุลต่านทรงตั้งเมืองหลวงและทำเนียบรัฐบาลขึ้นที่แซนซิบาร์ทาวน์ อันเป็นที่ซึ่งมีการสร้างกลุ่มอาคารพระราชวังติดทะเล ในปี ค.ศ. 1896 กลุ่มอาคารพระราชวังนี้ประกอบด้วย บีต อัล ฮุก์ม (Beit al-Hukm) ฮาเร็มที่ติดกัน และ บีต อัล อาเจบ (Beit al-Ajaib) หรือ "House of Wonder (บ้านมหัศจรรย์)" พระราชวังอันใหญ่โตที่กล่าวกันว่าเป็นสิ่งก่อสร้างแรกในแอฟริกาตะวันออกที่มีไฟฟ้าใช้[9] กลุ่มอาคารส่วนใหญ่สร้างขึ้นจากไม้ท้องถิ่น และมิได้ถูกกำหนดมาให้เป็นสิ่งก่อสร้างเพื่อใช้ป้องกัน[10] อาคารหลังทั้งสามสร้างติดกันเป็นเส้นตรง และเชื่อมต่อกันด้วยสะพานไม้อยู��สูงเหนือถนน[11]
อังกฤษมีปฏิสัมพันธ์ฉันมิตรกับแซนซิบาร์มาช้านาน และยอมรับอธิปไตยและรัฐสุลต่านในปี ค.ศ. 1886[8][12][13] และโดยทั่วไปธำรงความสัมพันธ์อันดีกับประเทศและสุลต่าน[8] อย่างไรก็ตาม เยอรมนีก็สนใจในแอฟริกาตะวันออกเช่นกัน และมหาอำนาจทั้งสองก็แข่งขันเพื่อควบคุมสิทธิการค้าและดินแดนในพื้นที่ตลอดปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19[14] สุลต่านคาริฟฟาห์พระราชทานสิทธิในดินแดนเคนยาแก่อังกฤษและสิทธิในดินแดนแทนแกนยิกาแก่เยอรมนี อันส่งผลให้เกิดการเลิกระบบทาสในดินแดนเหล่านั้น[8] ชนชั้นปกครองชาวอาหรับจำนวนมากหัวเสียจากการรบกวนการค้าอันมีค่านี้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่สงบอยู่บ้าง[8] นอกจากนี้ ทางการเยอรมนีในแทนแกนยิกาปฏิเสธที่จะชักธงของรัฐสุลต่านแซนซิบาร์ขึ้น ซึ่งนำไปสู่การปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างทหารเยอรมันและประชาชนท้องถิ่น[15] หนึ่งในความขัดแย้งในเมืองแทนกามีชาวอาหรับเสียชีวิต 20 คน[15]
สุลต่านคาริฟฟาห์ทรงส่งทหารแซนซิบาร์นำโดยพลเอกลอยด์ แมตทิวส์ (Lloyd Mathews) อดีตเรือโทแห่งกองทัพเรืออังกฤษ ไปฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยในแทนแกนยิกา[16] ปฏิบัติการนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่ความรู้สึกต่อต้านเยอรมนีในหมู่ชาวแซนซิบาร์ยังแรงกล้าอยู่[15] ความขัดแย้งปะทุขึ้นอีกที่เมืองบากาโมโย (Bagamoyo) เมื่อชนพื้นเมือง 150 คนถูกทหารเยอรมันสังหาร และที่เคตวา (Ketwa) ที่ข้าราชการเยอรมนีและบ่าวถูกฆ่าตาย[16] สุลต่านคาริฟฟาห์พระราชทานสิทธิการค้ากว้างขวางแก่บริษัทแอฟริกาตะวันออกของจักรวรรดิอังกฤษ (IBEAC) ซึ่ง ด้วยความช่วยเหลือจากเยอรมนี ได้ปิดล้อมทางทะเลเพื่อหยุดการค้าทาสในประเทศที่ดำเนินต่อไป[16] เมื่อสุลต่านคาริฟฟาห์สวรรคตในปี ค.ศ. 1890 อะลี บิน ซัยด์ได้สืบราชบัลลังก์รัฐสุลต่าน[17] สุลต่านอะลีทรงห้ามการค้าทาสในประเทศ (แต่มิได้ทรงห้ามการเป็นเจ้าของทาส) ทรงประกาศให้แซนซิบาร์เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษและแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีชาวอังกฤษให้นำคณะรัฐมนตรีในพระองค์ อังกฤษยังได้รับประกันการยับยั้งการแต่งตั้งสุลต่านในอนาคตด้วย[18]
ปีที่สุลต่านอะลีสวรรคต มีการลงนามในสนธิสัญญาเฮลิโกแลนด์-แซนซิบาร์ระหว่างบริเตนและเยอรมนี สนธิสัญญานี้ปักปันเขตอิทธิพลในแอฟริกาตะวันออกและยกสิทธิของเยอรมนีในแซนซิบาร์ให้แก่สหราชอาณาจักร[19] ทำให้รัฐบาลอังกฤษมีอิทธิพลมากขึ้นในแซนซิบาร์ ซึ่งรัฐบาลอังกฤษตั้งใจใช้เพื่อกำจัดความเป็นทาสที่นั่น อันเป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งเป้าไว้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1804[20][21]
ฮาเม็ด บิน ทูเวไนเป็นสุลต่านสืบต่อจากสุลต่านอะลีในปี ค.ศ. 1893 สุลต่านฮาเม็ดรักษาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอังกฤษไว้ แต่กลับเกิดความไม่เห็นพ้องในบรรดาคนในบังคับของสุลต่านเรื่องการควบคุมของอังกฤษที่เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ กองทัพที่นำโดยอังกฤษ และการเลิกการค้าทาสอันมีค่า[18] เพื่อควบคุมความไม่เห็นพ้องนี้ ทางการอังกฤษจึงอนุญาตให้สุลต่านตั้งองครักษ์พระราชวังชาวแซนซิบาร์จำนวน 1,000 นาย แต่ไม่นานองครักษ์เหล่านี้กลับเข้าไปปะทะกับตำรวจที่นำโดยอังกฤษ[22][23] นอกจากนี้ยังมีคำร้องทุกข์เกี่ยวกับกิจกรรมขององครักษ์จากผู้อยู่อาศัยชาวยุโรปในแซนซิบาร์ทาวน์[18]
25 สิงหาคม
[แก้]สุลต่านฮาเม็ดสวรรคตอย่างกะทันหันเมื่อเวลา 11:40 EAT (08:40 UTC) ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1896[18] พระราชนัดดาวัย 29 พรรษา คาลิด บิน บาร์กาช ซึ่งถูกสงสัยว่ามีส่วนในการลอบปลงพระชนม์[18] ย้ายเข้าประทับในพระราชวังที่แซนซิบาร์ท��วน์โดยปราศจากการอนุมัติจากอังกฤษ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนสนธิสัญญาที่อังกฤษตกลงกับสุลต่านอะลี[18] รัฐบาลอังกฤษนิยมผู้มีคุณสมบัติอีกคนหนึ่ง คือ ฮามัด บิน มุฮามเม็ด ผู้มีใจเอนเอียงต่ออังกฤษมากกว่า กงสุลและเจ้าหน้าที่ทางทูตที่ถูกส่งไปยังแซนซิบาร์ บาซิล เคฟ (Basil Cave) และพลเอกแมตทิวส์ เตือนสุลต่านคาลิดให้ทรงดำริถึงการกระทำของพระองค์อย่างรอบคอบ[23][24] วิธีปฏิบัตินี้เคยประสบความสำเร็จเมื่อสามปีก่อนเมื่อสุลต่านคาลิดทรงพยายามอ้างสิทธิเหนือรัฐสุลต่านหลังสุลต่านอะลีสวรรคต และกงสุลใหญ่อังกฤษ เรนแนลล์ รอดด์ (Rennell Rodd) โน้มน้าวให้พระองค์ทราบถึงภยันตรายของการกระทำนั้น[25]
สุลต่านคาลิดทรงเมินเฉยต่อคำเตือนของเคฟ กองกำลังของพระองค์เริ่มรวมพลที่จัตุรัสพระราชวังภายใต้การบังคับบัญชาของร้อยเอกซาเลห์ (Saleh) องครักษ์พระราชวัง เมื่อสิ้นสุดวัน กองกำลังนี้มีจำนวนถึง 2,800 นาย ติดอาวุธปืนเล็กยาวและปืนคาบศิลา[24] ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน แต่กองกำลังนี้มีอัสคารีชาวแซนซิบาร์ที่เข้าข้างสุลต่านคาลิด 700 นาย[24][26] ปืนใหญ่ของสุลต่าน ประกอบด้วย ปืนกลแม็กซิมหลายกระบอก ปืนแก็ตลิง 1 กระบอก ปืนใหญ่วิถีราบสำริดสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 หนึ่งกระบอก และปืนใหญ่สนามขนาด 12 ปอนด์ 2 กระบอก ทั้งหมดเล็งไปที่เรือรบอังกฤษในท่า[24][26][27] ปืนใหญ่สนามขนาด 12 ปอนด์นี้ สุลต่านได้รับถวายจากสมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 จักรพรรดิเยอรมนี[24] กองกำลังสุลต่านยังครอบครองกองทัพเรือแซนซิบาร์อันประกอบด้วย เรือสลุปไม้หนึ่งลำ เรือหลวงกลาสโกว์ (HHS Glasgow) ซึ่งต่อเป็นเรือยอชท์หลวงของสุลต่านในปี ค.ศ. 1878 โดยมีแบบมาจากเรือฟริเกตของอังกฤษ กลาสโกว์ (Glasgow)[28]
แมตทิวส์และเคฟก็เริ่มรวมพลด้วยเช่นกัน ซึ่งบังคับบัญชาอัสคารีชาวแซนซิบาร์อยู่แล้ว 900 คน ในบังคับบัญชาของร้อยโทอาเทอร์ เอ็ดวาร์ด ฮาริงตัน ไรคีส (Arthur Edward Harington Raikes) แห่งกรมทหารวิลท์ไชร์ (Wiltshire Regiment) ผู้เป็นรองผู้บัญชาการกองทัพแซนซิบาร์และมียศพลจัตวา[24] กะลาสีและนาวิกโยธิน 150 นายขึ้นบกจากเรือลาดตระเวนหุ้มเกราะชั้นเพิร์ล ฟิโลเมล (HMS Philomel) และเรือปืน ทรูช (HMS Thrush) ซึ่งทอดสมออยู่ในท่า[24] กองทัพเรือฉุกเฉินภายใต้การบังคับบัญชาของนาวาเอก โอคาล์เลกแฮน (O'Callaghan) ขึ้นฝั่งในสิบห้านาทีหลังได้รับการร้องขอให้จัดการกับจลาจลใด ๆ ที่เกิดจากประชาชนทั่วไป[24][29] กะลาสีกลุ่มเล็กกว่าภายใต้การบังคับบัญชาของเรือเอก วัตซัน (Watson) แห่งเรือทรูชถูกส่งขึ้นฝั่งเพื่อพิทักษ์สถานกงสุลอังกฤษ ที่ซึ่งพลเมืองอังกฤษถูกขอให้มารวมกันเพื่อการคุ้มครอง[24] เรือหลวงสแพร์โรว์ (HMS Sparrow) เรือปืนอีกลำหนึ่ง แล่นเข้าสู่ท่าเรือและทอดสมอตรงข้ามกับพระราชวังถัดจากเรือทรูช[24]
เกิดความกังวลขึ้นในหมู่นักการทูตอังกฤษเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของทหารอัสคารีของไรคีส แต่พวกเขาพิสูจน์แล้วว่าเป็นทหารที่มั่นคงและเป็นมืออาชีพที่กรำด้วยการฝึกทางทหารและการรบนอกประเทศไปยังแอฟริกาตะวันออกหลายครั้ง ภายหลังทหารอัสคารีเหล่านี้เป็นทหารภาคพื้นดินเพียงกลุ่มเดียวที่ถูกฝ่ายตั้งรับยิงใส่[1] ทหารของไรคีสติดอาวุธปืนแม็กซิมสองกระบอก และปืนใหญ่วิถีราบเก้ากระบอก และประจำอยู่ที่โรงภาษีใกล้ ๆ[30] สุลต่านพยายามให้กงสุลสหรัฐ ริชาร์ด ดอร์ซีย์ โมฮัน (Richard Dorsey Mohun) ยอมรับการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ แต่ผู้ส่งสารได้รับแจ้งว่า "เนื่องจากการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ยังไม่ถูกรัฐบาลในสมเด็จพระราชินีทวนสอบ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะตอบ"[27]
เคฟส่งสารถึงคาลิดอย่างต่อเนื่อง ขอให้พระองค์ยุติปฏิบัติการของกองทหาร เสด็จออกจากพระราชวัง และกลับบ้าน แต่กลับถูกเพิกเฉย และคาลิดทรงตอบกลับมาว่าพระองค์จะประกาศสถาปนาตนเป็นสุลต่านในเวลา 15.00 น. เคฟแถลงว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นการกบฏและการเป็นสุลต่านของคาลิดจะไม่ได้รับการรับรองโดยรัฐบาลอังกฤษ[24] เมื่อเวลา 14.30 น. พระศพสุลต่านฮาเม็ดถูกฝัง หลังจากนั้น 30 นาทีพอดี เสียงยิงสลุตจากปืนในพระราชวังประกาศการสืบราชสันตติวงศ์ของคาลิด เคฟไม่สามารถเปิดฉากสงครามได้หากรัฐบาลไม่อนุมัติ จึงส่งโทรเลขถึงกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลลอร์ดแห่งซอลสบรีในกรุงลอนดอน ความว่า "เราได้รับอนุญาตให้ยิงพระราชวังจากเรือรบหรือไม่ หากความพยายามทั้งหมดที่จะแก้ปัญหาอย่างสันติไร้ผล"[31] ขณะเดียวกัน เคฟแจ้งกงสุลต่างประเทศอื่นทุกคนว่า ธงทุกผืนจะลดลงครึ่งเสาเพื่อถวายเกียรติแด่สุลต่านฮาเม็ด ธงหนึ่งเดียวที่มิลดครึ่งเสานั้นคือธงสีแดงคันใหญ่ซึ่งปลิวสะบัดที่พระราชวังของคาลิด เคฟยังแจ้งกงสุลด้วยว่า ไม่รับรองคาลิดเป็นสุลต่าน ซึ่งเหล่ากงสุลเห็นด้วย[32]
26 สิงหาคม
[แก้]เมื่อเวลา 10.00 น. ของวันที่ 26 สิงหาคม เรือลาดตระเวนหุ้มเกราะชั้นอาร์เชอร์ แรคคูน (HMS Racoon) เดินทางถึงแซนซิบาร์ทาวน์และทอดสมอในแนวเดียวกับเรือทรูชและเรือสแพร์โรว์ เมื่อเวลา 14.00 น. เรือลาดตระเวนหุ้มเกราะชั้นเอ็ดการ์ เซนต์จอร์จ (HMS St George) ซึ่งเป็นเรือธงของสถานีแหลมและแอฟริกาตะวันออก (Cape and East Africa Station) เคลื่อนเข้าไปในท่าเรือ บนเรือบรรทุกพลเรือตรี แฮร์รี รอว์ซัน (Harry Rawson) และนาวิกโยธินและกะลาสีเพิ่มเติม ในเวลาใกล้เคียงกันนั้น คำตอบของลอร์ดแห่งซอลสบรีก็มาถึง โดยอนุญาตให้เคฟและรอว์ซันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อโค่นสุลต่านคาลิดลงจากอำนาจ[33] โทรเลขนั้นเขียนว่า "คุณได้รับอนุญาตให้มาตรการใดก็ตามที่คุณคิดว่าจำเป็น และรัฐบาลในสมเด็จพระราชินีสนับสนุนการกระทำของคุณ อย่างไรก็ตาม อย่าพยายามกระทำการใด ๆ ที่คุณไม่มั่นใจว่าสามารถบรรลุผลสำเร็จได้"[31]
เคฟพยายามเจรจาเพิ่มเติมกับคาลิดแต่ล้มเหลว และรอว์ซันยื่นคำขาดว่า สุลต่านคาลิดต้องลดธงของพระองค์ลงและออกจากพระราชวังภายในเวลา 09.00 น. ของวันที่ 27 สิงหาคม มิฉะนั้นเขาจะเปิดฉากยิง ในตอนบ่าย เรือพ่อค้าทุกลำแล่นออกจากท่าเรือ และสตรีและเด็กชาวอังกฤษถูกนำตัวไปยังเรือเซนต์จอร์จ และเรือของบริษัทเดินเรือไอน้ำอังกฤษ-อินเดีย (British-India Steam Navigation Company) เพื่อความปลอดภัย คืนนั้น กงสุลโมฮันบันทึกว่า "ความเงียบที่ปกคลุมแซนซิบาร์น่ากลัวยิ่ง ปกติมีการตีกลองหรือทารกร้องไห้ แต่คืนนั้นไม่มีแม้สักเสียง"[34]
27 สิงหาคม
[แก้]เมื่อเวลา 08.00 น. ของเช้าวันที่ 27 สิงหาคม หลังผู้ส่งสารจากสุลต่านคาลิดแจ้งขอเจรจากับเคฟ กงสุลตอบกลับไปว่า พระองค์มีทางรอดเดียว คือ ต้องตกลงตามเงื่อนไขของคำขาด[10][35] เวลา 08.30 น. ผู้ส่งสารที่สุลต่านคาลิดส่งมาประกาศว่า "เราไม่มีเจตนาลดธงของเราลงและเราไม่เชื่อว่าคุณจะเปิดฉากยิงใส่เรา" เคฟตอบว่า "เราไม่ต้องการเปิดฉากยิง แต่หากท่านไม่ปฏิบัติตามที่ท่านได้รับแจ้ง เราจะทำเช่นนั้นแน่นอน"[34] เวลา 08.55 น. เมื่อไม่ได้รับข่าวจากพระราชวังเพิ่มเติม รอว์สันบนเรือเซนต์จอร์จจึงยกธงสัญญาณ "เตรียมปฏิบัติการ"[36]
เมื่อเวลา 09.00 น. ตรง พลเอกลอยด์ แมตทิวส์สั่งการให้เรืออังกฤษเริ่มระดมยิง[31][37] เวล 09.02 น. เรือแรคคูน ทรูช สแพร์โรว เปิดฉากยิงไปยังพระราชวังอย่างพร้อมเพรียงกัน ปืนใหญ่นัดแรกของเรือทรูชทำให้ปืนใหญ่วิถีราบอาหรับขนาด 12 ปอนด์ใช้การไม่ได้ทันที ฝ่ายตั้งรับ บ่าวและทาสจำนวน 3,000 คนอยู่ในพระราชวังที่สร้างจากไม้เป็นส่วนใหญ่ และมีสิ่งกีดขวางเป็นกล่องลัง หีบห่อและยาง มีกำลังพลสูญเสียจำนวนมากจากกระสุนระเบิดแรงสูง แม้มีรายงานเบื้องต้นว่า สุลต่านคาลิดถูกจับได้และถูกเนรเทศไปยังอินเดีย[10][38] แต่สุลต่านคาลิดเสด็จหนีออกจากพระราชวัง ผู้สื่อข่าวรอยเตอร์รายงานว่า สุลต่าน "เสด็จหนีไปตั้งแต่กระสุนนัดแรก พร้อมกับชาวอาหรับผู้นำ ทิ้งให้ทาสและผู้ติดตามของพวกเขาสู้รบต่อไป" แต่แหล่งข้อมูลอื่นแถลงว่า พระองค์ประทับอยู่ในพระราชวังนานกว่านั้น[10] การระดมยิงสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ 09.40 น. ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น พระราชวังและฮาเร็มที่อยู่ติดกันเกิดเพลิงไหม้ ปืนใหญ่ฝ่ายแซนซิบาร์เงียบเสียง และธงสุลต่านโค่นลง[1]
ระหว่างการระดมยิง เกิดการรบปะทะนาวิกขนาดเล็ก เมื่อเวลา 9.05 น. เรือกลาสโกว์ที่ล้าสมัยแล้วเปิดฉากยิงใส่เรือเซนต์จอร์จโดยใช้ปืนใหญ่ขนาด 9 ปอนด์ 7 กระบอก และปืนแก็ตลิงซึ่งเป็นของขวัญจากสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียถึงสุลต่าน[39] การยิงตอบโต้ทำให้เรือกลาสโกว์อับปาง แต่เนื่องด้วยน้ำในอ่าวตื้นทำให้เสากระโดงยังโผล่พ้นน้ำ[1] ลูกเรือเรือกลาสโกว์ยกธงอังกฤษเป็นสัญญาณยอมจำนน และพวกเขาทั้งหมดได้รับการช่วยเหลือจากกะลาสีอังกฤษในเรือบด[1] เรือทรูชยังจมเรือยนต์ไอน้ำของแซนซิบาร์ลงอีกสองลำ เพราะลูกเรือแซนซิบาร์ยิงปืนเล็กยาวใส่เรือทรูช มีการสู้รบภาคพื้นดินบ้าง เมื่อคนของสุลต่านคาลิดยิงใส่ทหารอัสคารีของไรคีส เมื่อทหารอัสคารีเคลื่อนพลเข้าใกล้พระราชวัง แต่ได้ผลเล็กน้อย[1] การสู้รบยุติลงเมื่อหยุดระดมยิง อังกฤษเข้าควบคุมเมืองและพระราชวัง ตกบ่าย ฮามัด บิน มุฮามเม็ด ชาวอาหรับที่อังกฤษนิยม ได้รับการสถาปนาเป็นสุลต่านโดยมีพระราชอำนาจลดลงมาก[40] เรืออังกฤษและลูกเรือยิงกระสุนปืนใหญ่ไปประมาณ 500 นัด กระสุนปืนกล 4,100 นัด และกระสุนปืนเล็กยาว 1,000 นัดระหว่างการรบปะทะ[41]
ผลที่ตามมา
[แก้]ชายหญิงแซนซิบาร์ราว 500 คนเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บระหว่างการระดมยิง ส่วนใหญ่เสียชีวิตเพราะเพลิงที่ลุกไหม้พระราชวัง[1][6] ไม่ทราบว่าผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเหล่านี้เป็นพลรบมากเท่าใด แต่กล่าวกันว่าพลปืนใหญ่ของสุลต่านคาลิด "เสียชีวิตไปมาก"[42] กำลังพลสูญเสียฝ่ายอังกฤษมีหนึ่งนาย เป็นจ่าบนเรือทรูชซึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัส ภายหลังหายเป็นปกติ[1] แม้ชาวเมืองแซนซิบาร์ส่วนใหญ่จะเข้าข้างอังกฤษ แต่ย่านคนอินเดียของเมืองกลับถูกฉวยโอกาสปล้น และผู้อยู่อาศัยราวยี่สิบคนเสียชีวิตไปในความวุ่นวาย[43] ทหารซิกอังกฤษ 150 นายถูกย้ายจากเมืองมอมบาซามาลาดตระเวนตามท้องถนน เพื่อฟื้นฟูความสงบเรียบร้อย[40] กะลาสีจากเรือเซนต์จอร์จและเรือฟิโลเมลขึ้นบกเพื่อตั้งกองดับเพลิงเพื่อจำกัดเพลิงที่ลุกลามจากพระราชวังไปยังอาคารตรวจสอบทางศุลกากร (customs shed) ที่อยู่ใกล้เคียง[44] มีความกังวลอยู่บ้างเกี่ยวกับเพลิงที่อาคารตรวจสอบทางศุลกากร เพราะมีวัตถุระเบิดเก็บไว้จำนวนหนึ่ง แต่โชคดีที่ไม่เกิดการระเบิดขึ้น[42]
สุลต่านคาลิด ร้อยเอกซาเลห์ และผู้ติดตามอีกประมาณ 40 คนลี้ภัยในสถานกงสุลเยอรมนีหลังการหลบหนีจากพระราชวัง[42][45] โดยมีกะลาสีและนาวิกโยธินเยอรมันติดอาวุธสิบนายคอยพิทักษ์ ขณะที่แมตทิวส์ประจำคนอยู่ข้างนอกเพื่อจับกุมหากพวกเขาพยายามหลบหนี[46] แม้มีการขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่กงสุลเยอรมันปฏิเสธไม่ส่งองค์สุลต่านคาลิดให้แก่อังกฤษ เพราะตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างแซนซิบาร์และอังกฤษนั้นเจาะจงยกเว้นนักโทษการเมือง[40] กงสุลเยอรมันสัญญาว่าจะนำองค์สุลต่านคาลิดไปยังแอฟริกาตะวันออกของเยอรมนีแทน โดยมิให้พระองค์ "เหยียบแผ่นดินแซนซิบาร์" เมื่อเวลา 10.00 น. ของวันที่ 2 ตุลาคม เรือหลวงเซอัดเลอร์ (SMS Seeadler) แห่งกองทัพเรือเยอรมันเดินทางถึงท่า เมื่อเวลาน้ำขึ้น เรือเล็กลำหนึ่งของเซอัดเลอร์สามารถแล่นมาถึงประตูสวนของสถานกงสุลได้ และคาลิดเดินทางพื้นที่สถานกงสุลไปยังเรือรบเยอรมันทันที จึงปลอดการจับกุม[46] เขาถูกย้ายจากเรือเล็กสู่เรือเซอัดเลอร์และนำไปยังเมืองดาร์ เอส ซาลาม (Dar es Salaam) ในแอฟริกาตะวันออกของเยอรมนี[47] คาลิดถูกกองกำลังอังกฤษจับกุมใน ค.ศ. 1916 ระหว่างการทัพแอฟริกาตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และถูกเนรเทศไปยังเซเชลส์และเซนต์เฮเลนาก่อนได้รับอนุญาตให้กลับแอฟริกาตะวันออก เขาเสียชีวิตที่เมืองบอมบาซาใน ค.ศ. 1927[48] ผู้สนับสนุนคาลิดถูกลงโทษโดยถูกบังคับให้จ่ายค่าปฏิกรรมให้ครอบคลุมค่ากระสุนปืนใหญ่ที่ยิงใส่พวกเขา และสำหรับความเสียหายอันเกิดจากการปล้นซึ่งคิดเป็นมูลค่า 300,000 รูปี[40]
สุลต่านฮามัดนั้นภักดีต่ออังกฤษและประพฤติตนเป็นหุ่นเชิดของรัฐบาลซึ่งแท้จริงแล้วอังกฤษเป็นผู้ดำเนินงาน อังกฤษยังคงรัฐสุลต่านไว้เพียงเพื่อเลี่ยงค่าใช้จ่ายของการบริหารแซนซิบาร์เป็นมกุฎราชอาณานิคม (crown colony) โดยตรง[40] หลายเดือนให้หลังสงคราม สุลต่านฮามัด ด้วยการกระตุ้นของอังกฤษ ทรงเลิกความเป็นทาสในทุกรูปแบบ[40] การเลิกทาสกำหนดให้ทาสต้องแสดงตนที่สำนักงานรัฐบาล และพิสูจน์ด้วยกระบวนการอันเชื่องช้า ภายในสิบปี มีทาสถูกปล่อยเป็นไทเพียง 17,293 คน จากที่ประมาณไว้ 60,000 คน ใน ค.ศ. 1891[49]
สงครามทำให้กลุ่���อาคารพระราชวังที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ฮาเร็ม ประภาคาร และพระราชวังถูกทำลายจากการระดมยิง ทำให้ไม่ปลอดภัย[43] ที่ตั้งพระราชวังกลายเป็นสวน ขณะที่พระราชวังหลังใหม่ถูกสร้างเหนือที่ตั้งฮาเร็ม[11][50] House of Wonder แทบไม่ได้รับความเสียหาย และภายหลังเป็นสำนักงานเลขานุการหลักของทางการอังกฤษ[42][51] ระหว่างการบูรณะ House of Wonder ใน ค.ศ. 1897 หอนาฬิกาถูกสร้างเพิ่มด้านหน้าอาคารแทนประภาคารที่ถูกทำลายไปในการระดมยิง[50] ซากเรือกลาสโกว์ยังคงอยู่ในท่าเรือด้านหน้าพระราชวัง ด้วยเป็นบริเวณน้ำตื้น ทำให้เสากระโดงเรือยังสามารถมองเห็นได้อีกหลายปีต่อมา กระทั่งถูกทำลายเป็นเศษเล็กเศษน้อยในที่สุด เมื่อ ค.ศ. 1912[52]
ผู้นำฝ่ายอังกฤษในเหตุการณ์ได้รับการยกย่องอย่างสูงจากรัฐบาลในกรุงลอนดอนและแซนซิบาร์สำหรับการกระทำของพวกเขาทั้งก่อนและระหว่างสงคราม และหลายคนได้รับรางวัลการแต่งตั้งและเกียรติยศ พลเอกไรคีส ผู้นำทหารอัสคารี ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Order of the Brilliant Star of Zanzibar ชั้นที่หนึ่ง (ระดับสอง) เมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1896 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ Order of Hamondieh ชั้นที่หนึ่ง ของแซนซิบาร์ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1897 และภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองทัพแซนซิบาร์[53][54] พลเอกแมตทิวส์ ผู้บัญชาการกองทัพแซนซิบาร์ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Grand Order of Hamondieh ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1897 และกลายเป็นนายกรัฐมนตรีและขุนคลังของรัฐบาลแซนซิบาร์[54] บาซิล เคฟ กงสุล ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Companion of the Order of the Bath เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1897[55] และได้รับเลื่อนตำแหน่งเป็นกงสุลใหญ่ในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1903[56] แฮร์รี รอว์ซันได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Knight Commander of the Order of the Bath สำหรับผลงานในแซนซิบาร์ และภายหลังเป็นผู้ว่าการรัฐนิวเซาท์เวลส์ในออสเตรเลีย และได้รับการเลื่อนยศเป็นพลเรือเอก[57] รอว์สันยังได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Order of the Brilliant Star of Zanzibar ชั้นที่หนึ่ง ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1897 และ Order of Hamondieh ในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1898[58][59]
อาจเป็นเพราะแสนยานุภาพของกองทัพเรืออังกฤษที่แสดงให้เห็นในระหว่างการระดมยิง ส่งผลให้ไม่มีการกบฏต่อต้านอิทธิพลของอังกฤษอีกใน 67 ปีที่เหลือในฐานะรัฐในอารักขา[60] สงครามครั้งนี้ ซึ่งกินเวลาราว 40 นาที[nb 1] ได้รับการพิจารณาว่าเป็นสงครามที่สั้นที่สุดในประวัติศาสตร์[61]
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 ระยะเวลาขึ้นกับแหล่งที่มา ประกอบด้วย 38,[1][2] 40[3] และ 45[4] นาที แต่ช่วงเวลา 38 นาทีถูกอ้างถึงบ่อยที่สุด ช่วงเวลาที่หลากหลายนั้นเกิดจากความสับสนในเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดสงคราม แหล่งที่มาบางแหล่งนับคำสั่งเปิดฉากยิงที่เวลา 09:00 น. เป็นเวลาเริ่มต้นสงคราม ขณะที่บางแหล่งนับจากการเริ่มยิงที่เวลา 09:02 น. เวลาสิ้นสุดสงครามทั่วไปใช้เวลา 09:40 น. เมื่อกระสุดนัดสุดท้ายยิงออกไปและธงของพระราชวังหักลง แต่บางแหล่งใช้เวลา 09:45 น. จากปูมเรือของเรือสหราชอาณาจักร St George แสดงว่ามีคำสั่งหยุดยิงและคาลิดหลบหนีเข้าสถานกงสุลเยอรมันเมื่อเวลา 09:35 น., Thrush ที่เวลา 09:40 น., Racoon ที่เวลา 09:41 น. และ Philomel และ Sparrow ที่เวลา 09:45 น.[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 Hernon 2003, p. 403.
- ↑ Haws & Hurst 1985, p. 74.
- ↑ Cohen, Jacopetti & Prosperi 1966, p. 137.
- ↑ Gordon 2007, p. 146.
- ↑ Patience 1994, pp. 20–26.
- ↑ 6.0 6.1 Bennett 1979, p. 179 .
- ↑ Editor-in-chief, Craig Glenday (2007), Guinness World Records 2008, London: Guinness World Records, p. 118, ISBN 978-1-904994-19-0
{{citation}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help). - ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Hernon 2003, p. 397.
- ↑ Hoyle 2002, pp. 156–157.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Hernon 2003, p. 402.
- ↑ 11.0 11.1 Hoyle 2002, p. 160.
- ↑ Bennett 1978, pp. 131–132.
- ↑ Hernon 2000, pp. 146–147.
- ↑ Bennett 1978, pp. 124–131.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 Hernon 2003, p. 398.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 Hernon 2000, p. 147.
- ↑ Bennett 1978, p. 165.
- ↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 Hernon 2003, p. 399.
- ↑ Text of the Heligoland-Zanzibar Treaty (PDF), German History in Documents and Images, 1 July 1890, สืบค้นเมื่อ 08-09-29
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Parliamentary Debates เก็บถาวร 2017-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, House of Commons, 1 สิงหาคม ค.ศ. 1890, แถว 1530–1533.
- ↑ Parliamentary Debates เก็บถาวร 2017-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, House of Commons, 22 สิงหาคม ค.ศ. 1804, แถว 324–337.
- ↑ Hernon 2000, p. 148.
- ↑ 23.0 23.1 Bennett 1978, p. 178.
- ↑ 24.00 24.01 24.02 24.03 24.04 24.05 24.06 24.07 24.08 24.09 24.10 Hernon 2003, p. 400.
- ↑ Tucker 1970, p. 194.
- ↑ 26.0 26.1 "A Warning to Said Khalid", The New York Times, p. 5, 27 สิงหาคม ค.ศ. 1896, สืบค้นเมื่อ 2008-10-16
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help). - ↑ 27.0 27.1 Patience 1994, p. 9.
- ↑ Patience 1994, p. 5.
- ↑ "Zanzibar's Sultan Dead", The New York Times, p. 5, 26 สิงหาคม ค.ศ. 1896, สืบค้นเมื่อ 2008-10-16
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help). - ↑ Patience 1994, p. 8.
- ↑ 31.0 31.1 31.2 Owens 2007, p. 2.
- ↑ "Sultan of Zanzibar Dead", The New York Times, p. 9, 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1902, สืบค้นเมื่อ 2008-10-16
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help). - ↑ Hernon 2003, p. 401.
- ↑ 34.0 34.1 Patience 1994, p. 11.
- ↑ Lyne 1905, p. 200.
- ↑ Lyne 1905, p. 201.
- ↑ Thompson 1984, p. 64.
- ↑ "Bombarded by the British", The New York Times, p. 1, 28 สิงหาคม ค.ศ. 1896, สืบค้นเมื่อ 2008-10-16
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help). - ↑ Patience 1994, p. 6.
- ↑ 40.0 40.1 40.2 40.3 40.4 40.5 Hernon 2003, p. 404.
- ↑ Patience 1994, p. 14.
- ↑ 42.0 42.1 42.2 42.3 Patience 1994, p. 12.
- ↑ 43.0 43.1 Patience 1994, p. 15.
- ↑ Patience 1994, pp. 20–22.
- ↑ "Will Not Surrender Khalid", The New York Times, p. 5, 30 สิงหาคม ค.ศ. 1896, สืบค้นเมื่อ 2008-10-16
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help). - ↑ 46.0 46.1 Frankl 2006, p. 163.
- ↑ Ingrams 1967, pp. 174–175.
- ↑ Frankl 2006, p. 161.
- ↑ Bakari 2001, pp. 49–50
- ↑ 50.0 50.1 Aga Khan Trust for Culture, Sultan's Palace at Zanzibar, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04, สืบค้นเมื่อ 08-09-29
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Hoyle 2002, p. 156.
- ↑ Patience 1994, p. 16.
- ↑ The London Gazette: no. 26780. p. 5320. 25 กันยายน ค.ศ. 1896. เรียกข้อมูลเมื่อ 16 สิงหาคม ค.ศ. 2008
- ↑ 54.0 54.1 The London Gazette: no. 26886. p. 4812. 27 สิงหาคม ค.ศ. 1897. เรียกข้อมูลเมื่อ 16 สิงหาคม ค.ศ. 2008
- ↑ The London Gazette: no. 26810. p. 65. 1 มกราคม ค.ศ. 1897. เรียกข้อมูลเมื่อ 10 กันยายน ค.ศ. 2008
- ↑ The London Gazette: [www.london-gazette.co.uk/issues/27588/pages/5150 no. 27588. p. 5150.] 14 สิงหาคม ค.ศ. 1903. เรียกข้อมูลเมื่อ 10 กันยายน ค.ศ. 2008
- ↑ "Obituary: Admiral Sir Harry H. Rawson", The Times, 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1910, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-03, สืบค้นเมื่อ 2008-10-16
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ The London Gazette: no. 26821. p. 758. 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1897. เรียกข้อมูลเมื่อ 10 กันยายน ค.ศ. 2008
- ↑ The London Gazette: no. 26979. p. 3769. 21 มิถุนายน ค.ศ. 1898. เรียกข้อมูลเมื่อ 10 กันยายน ค.ศ. 2008
- ↑ Bennett 1978, p. 179.
- ↑ Hernon 2003, p. 396.
บรรนานุกรม
[แก้]- Bakari, Mohammed Ali (2001), The Democratisation Process in Zanzibar: A Retarded Transition, Hamburg: Institut für Afrika-Kunde, ISBN 978-3-928049-71-9.
- Bennett, Norman Robert (1978), A History of the Arab State of Zanzibar, London: Methuen Publishing, ISBN 978-0-416-55080-1.
- Cohen, John; Jacopetti, Gualtiero; Prosperi, Franco (1966), Africa Addio, New York: Ballantine Books, OCLC 230433.
- Frankl, P.J.L. (2006), "The Exile of Sayyid Khalid bin Barghash Al-BuSa'idi", British Journal of Middle Eastern Studies, 33 (2): 161–177, doi:10.1080/13530190600603675, ISSN 1469-3542.
- Gordon, Philip H. (2007), Winning the Right War: The Path to Security for America and the World, New York: Times Books, ISBN 978-0-8050-8657-7.
- Haws, Duncan; Hurst, Alexander Anthony (1985), The Maritime History of the World: A Chronological Survey of Maritime Events from 5,000 B.C. until the Present Day, Brighton, Sussex: Teredo Books, ISBN 978-0-903662-10-9.
- Hernon, Ian (2003), Britain's Forgotten Wars: Colonial Campaigns of the 19th Century, Stroud, Gloucestershire: Sutton Publishing, ISBN 978-0-7509-3162-5.
- Hernon, Ian (2000), The Savage Empire: Forgotten Wars of the 19th Century, Stroud, Gloucestershire: Sutton Publishing, ISBN 978-0-7509-2480-1.
- Hoyle, Brian (2002), "Urban Waterfront Revitalization in Developing Countries: The Example of Zanzibar's Stone Town", Geographical Journal, 168 (2): 141–162, doi:10.1111/1475-4959.00044.
- Ingrams, William H. (1967), Zanzibar: Its History and Its People, London: Cass, OCLC 722777.
- Lyne, Robert Nunez (1905), Zanzibar in Contemporary Times, London: Hurst and Blackett, OCLC 251506750.
- Owens, Geoffrey R. (2007), "Exploring the Articulation of Governmentality and Sovereignty: The Chwaka Road and the Bombardment of Zanzibar, 1895-1896", Journal of Colonialism and Colonial History, Johns Hopkins University Press, 7 (2): 1–55, doi:10.1353/cch.2007.0036, ISSN 1532-5768, OCLC 45037899, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03, สืบค้นเมื่อ 2022-05-12.
- Patience, Kevin (1994), Zanzibar and the Shortest War in History, Bahrain: Kevin Patience, OCLC 37843635.
- Thompson, Cecil (1984), "The Sultans of Zanzibar", Tanzania Notes and Records (94).
- Tucker, Alfred R. (1970), Eighteen Years in Uganda and East Africa (PDF) (New ed.), Westport, Connecticut: Negro Universities Press, ISBN 978-0-8371-3280-8.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Appiah, K. Anthony; Gates, Henry Louis, Jr., บ.ก. (1999), Africana: The Encyclopedia of the African and African American Experience, New York: Basic Books, ISBN 978-0-465-00071-5.
- Ayany, Samuel G. (1970), A History of Zanzibar: A Study in Constitutional Development, 1934–1964, Nairobi: East African Literature Bureau, OCLC 201465.
- Keane, Augustus H. (1907), Africa, vol. 1 (2nd ed.), London: Edward Stanford, OCLC 27707159.
- Scientific American (26 September 1896), "Zanzibar", Scientific American, 42 (1082): 17287–17292.
- A machinima film depicting the war: http://vimeo.com/7697035