ข้ามไปเนื้อหา

สงครามพม่า–สยาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สงครามพม่า–สยาม คือรายการของสงครามการต่อสู้กันระหว่างพม่ากับสยามจากคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19[1][2]

ตองอู–อยุธยา

[แก้]
ลำดับ ชื่อ ผล หมายเหตุ
1 สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ (ค.ศ. 1547–1549) สยามป้องกันสำเร็จ การล้อมอยุธยาครั้งที่หนึ่ง
พม่ายึดทวายจากสยามในปี ค.ศ. 1547–1548[3][4] และบุกสยามในปี ค.ศ. 1548–1549 แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการยึดกรุงศรีอยุธยา[5]
2 สงครามช้างเผือก (ค.ศ. 1563–1564) พม่าชนะ การล้อมอยุธยาครั้งที่สอง
สยามกลายเป็นเมืองประเทศราชของพม่า[6]
3 การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1568–1569) พม่าชนะ การล้อมอยุธยาครั้งที่สาม
สยามกลายเป็นเมืองประเทศราชของพม่าอีกครั้ง[7]
4 สงครามยุทธหัตถี (ค.ศ. 1584–1593) สยามชนะ การล้อมอยุธยาครั้งที่สี่
สยามได้เอกราช (ค.ศ. 1584) พม่าบุกสยามห้าครั้งแต่พ่ายกลับไป[8][9]
5 สงครามพม่า–สยาม (ค.ศ. 1593–1600) สยามชนะ การบุกพม่าครั้งที่หนึ่งของสยาม
สยามพิชิตชายฝั่งตะนาวศรีทั้งหมดรวมถึงเมาะตะมะ
สยามได้อาณาจักรล้านนาเป็นเมืองประเทศราช (ค.ศ. 1602)[10][11][12]
6 สงครามพม่า–สยาม (ค.ศ. 1609–1622) พม่าชนะ สงครามฟื้นฟูสมัยญองยาน
พม่ายึดคืนเมาะตะมะ ทวาย (ค.ศ. 1613) และล้านนา (ค.ศ. 1614)[13][14]
7 สงครามตองอู–อยุธยา (ค.ศ. 1662–1664) พม่าป้องกันสำเร็จ การบุกพม่าครั้งที่สองของสยาม
สยามยึดชายฝั่งตะนาวศรีตอนบนถึงเมาะตะมะ ในปี ค.ศ. 1662 ก่อนถูกขับไป ในปี ค.ศ. 1663 สยามบุกชายฝั่งตะนาวศรีตอนบนและล้านนาอีกครั้ง ยึดเชียงใหม่ กองกำลังสยามออกจากเชียงใหม่ในปี ค.ศ. 1664[15][16][17][18]
8 สงครามพม่า–สยาม (ค.ศ. 1675–1676) พม่าป้องกันสำเร็จ
สยามป้องกันสำเร็จ
พม่าป้องกันอ่าวตะนาวศรีตอนบนสำเร็จ (ค.ศ. 1675)
สยามชนะการบุกของพม่า (ค.ศ. 1675–1676)
9 สงครามพม่า–สยาม (ค.ศ. 1700–1701) สยามป้องกันสำเร็จ สยามชนะการบุกของพม่า

โก้นบอง–อยุธยา

[แก้]
ลำดับ ชื่อ ผล หมายเหตุ
1 สงครามพระเจ้าอลองพญา (ค.ศ. 1759–1760) บทสรุป​ไม่แน่ชัด​ การปิดล้อมอยุธยาครั้งที่ห้า
พม่ายึดคืนชายฝั่งตะนาวศรีจนถึงทวายและมะริด พม่าปิดล้อมอยุธยาแต่ภายหลังยกทัพกลับเนื่องจากพระมหากษัตริย์พม่าทรงพระประชวร[19][20]
2 การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1765–1767) พม่าชนะ การปิดล้อมอยุธยาครั้งที่หก
พม่าบุกสยามและปิดล้อมกรุงศรีอยุธยา สิ้นสุดอาณาจักรอยุธยา[21][22]

โก้นบอง–ธนบุรี

[แก้]
ลำดับ ชื่อ ผล หมายเหตุ
1 สงครามอะแซหวุ่นกี้ (ค.ศ. 1775–1776) สยามป้องกันสำเร็จ สยามปกครองล้านนา
ล้านนาประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1775 ด้วยความช่วยเหลือจากสยาม พม่าบุกล้านนาและสยาม ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้ามังระ พม่าถอนทัพออกจากสยาม ปล่อยให้สยามปกครองล้านนา สิ้นสุดการปกครองของพม่ากว่าสองศตวรรษ[23]

โก้นบอง–รัตนโกสินทร์

[แก้]
ลำดับ ชื่อ ผล หมายเหตุ
1 สงครามเก้าทัพ (ค.ศ. 1785–1786) สยามป้องกันสำเร็จ สยามชนะการบุกของพม่า[24][25]
2 สงครามตีเมืองทวาย (ค.ศ. 1788) พม่าป้องกันสำเร็จ สยามบุกทวายและชายฝั่งตะนาวศรีแต่ไม่สำเร็จ
3 ยุทธการที่ทวาย (ค.ศ. 1792–1794) พม่าป้องกันสำเร็จ สยามบุกคืนชายฝั่งตะนาวศรีตอนล่างแต่ไม่สำเร็จ (ทวายและมะริด)[26][27]
4 สงครามพม่าตีเชียงใหม่ (ค.ศ. 1797–1798) สยามป้องกันสำเร็จ พม่าบุกล้านนาและล้อมเชียงใหม่ แต่พระเจ้ากาวิละขอกำลังเสริมจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกซึ่งช่วยให้ยึดเมืองคืนมาได้[28]
5 สงครามเชียงแสน (ค.ศ. 1802–1805) สยามชนะ พม่าบุกล้านนาแต่พ่ายแพ้อีกครั้ง สยามและล้านนาโจมตีและขับพม่าออกจากที่มั่นที่เชียงแสน[29]
6 สงครามพม่าตีเมืองถลาง (ค.ศ. 1809–1812) สยามป้องกันสำเร็จ พม่าบุกถลางแต่ไม่สำเร็จ และถูกขับในปี ค.ศ. 1810 และ 1812[30][31]
7 สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1824–1826) อังกฤษชนะ ความขัดแย้งส่วนใหญ่ระหว่างพม่าและอังกฤษ สยามในฐานะพันธมิตรของอังกฤษได้ทำสนธิสัญญาเบอร์นี กับบริษัทอินเดียตะวันออกและช่วยอังกฤษรบพม่าชั่วครู่หนึ่ง[32][33][34]
8 สงครามเชียงตุง (ค.ศ. 1849–1855) พม่าป้องกันสำเร็จ สยามพยายามบุกเชียงตุงและเชียงรุ่งระหว่างสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สอง เจ้าฟ้าเชียงตุงยืนหยัดไว้จนกระทั่งกองทัพพม่าจัดการขับทัพสยามออกไปในปี พ.ศ. 1855[35][36]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. Harvey, pp. xxviii-xxx
  2. James, p. 302
  3. Harvey 1925: 158
  4. Hmannan Vol. 2 2003: 238–239
  5. Damrong, pp. 14–26.
  6. Damrong, pp. 27–41.
  7. Damrong, pp. 42–64.
  8. Harvey 1925: 181
  9. Damrong, pp. 65–144.
  10. Damrong, pp. 145–179.
  11. Fernquest, pp. 51–52.
  12. Wood, p. 144.
  13. Hmannan Vol. 3 2003: 175–178
  14. Harvey 1925: 189
  15. Harvey 1925: 198
  16. Hmannan Vol. 3 2003: 277
  17. Damrong, pp. 220–239.
  18. Wood, pp. 191–194.
  19. Damrong, pp. 240–311.
  20. Wood, pp. 240–242.
  21. Damrong, pp. 312–357.
  22. Wood, pp. 243–250.
  23. Wood, pp. 263–267.
  24. Wood, p. 273.
  25. Symes, pp. 96–97.
  26. Phayre 1967: 218–219
  27. Symes, p. 97-98.
  28. Ongsakul, p. 155.
  29. Ongsakul, p. 150.
  30. Skinner, pp. 59–61.
  31. Gerini, pp. 81–82.
  32. Wood, pp. 276–277
  33. Turton, p. 119-20
  34. Van Roy, p. 172-73
  35. Hardiman, Vol. 1 1901: 38, and Vol. 2 1901: 408–409
  36. Ratchasomphan, Wyatt 1994: 119
บรรณานุกรม
  • Fernquest, Jon (Spring 2005). "The Flight of Lao War Captives from Burma Back to Laos in 1596: A Comparison of Historical Sources". SOAS Bulletin of Burma Research. SOAS, University of London. 3 (1). ISSN 1479-8484.
  • Hardiman, John Percy (1901). Sir James George Scott (บ.ก.). Gazetteer of Upper Burma and Shan States Part 2. Vol. 1. Government Press, British Burma.
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • James, Helen (2004). "Burma-Siam Wars and Tenasserim". ใน Keat Gin Ooi (บ.ก.). Southeast Asia: a historical encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor, Volume 2. ABC-CLIO. ISBN 1-57607-770-5.
  • Rajanubhab, Damrong (2001). Chris Baker (บ.ก.). Our Wars with the Burmese: Thai-Burmese Conflict 1539–1767. แปลโดย Aung Thein. White Lotus Co. Ltd. ISBN 974-7534-58-4.
  • Steinberg, David Joel (1987). David Joel Steinberg (บ.ก.). In Search of South-East Asia. Honolulu: University of Hawaii Press.
  • Siam Society (1904). The Journal of the Siam Society. Vol. 1–3. Bangkok: Siam Society.
  • Symes, Michael (Spring 2006). "An Account of an Embassy to the Kingdom of Ava, Sent by the Governor-General of India, in the year of 1795". SBBR. SOAS, University of London. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-01. สืบค้นเมื่อ 2019-07-25.
  • Wyatt, David K. (2003). History of Thailand (2 ed.). Yale University Press. ISBN 978-0-300-08475-7.