ข้ามไปเนื้อหา

สงครามครูเสดครั้งที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามครูเสดครั้งที่ 2
ส่วนหนึ่งของ สงครามครูเสด
Hand colored map of the Near East. At the top is the Byzantine Empire, which encircles the Seljuq Turks from north, west and south. Below those two groups are the Armenian Kingdom of Cilicia on the west and the County of Edessa on the east. Stretching along the coast below them are the Principality of Antioch, the County of Tripoli and the Latin Kingdom of Jerusalem, chief of the Catholic Crusader states. To the east of the coast is Emirate of Damascus and the Dominion of the Atabeks. At the bottom of the map is the Caliphate of Cairo.
เอเดสซาในแผนที่นี้ (ค.ศ.1140) ถูกครอบครองโดยเซนกิด ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เกิดสงครามครูเสดครั้งที่ 2
วันที่ค.ศ.1147–1150
สถานที่
ผล

อานาโตเลีย:

ลิแวนต์

คาบสมุทรไอบีเรีย:

  • ฝ่ายครูเสดชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
  • ลิสบอนถูกยึดโดยชาวโปรตุเกส และทอร์โทซาถูกยึดโดยชาวคาตาลัน
  • Wagria และPolabiaถูกยึดโดยพวกครูเสดแห่งแซกซอน
  • คู่สงคราม

    รัฐนักรบครูเสด

    คณะทหาร

    ครูเสด


    ฝั่งตะวันตก (เรกองกิสตา)


    Wendish Crusade

    รัฐลิแวนต์:


    ฝั่งตะวันตก:


    Wends:

    Wendish allies:

    ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

    Melisende of Jerusalem
    Baldwin III of Jerusalem
    Raymond II of Tripoli
    แรมงแห่งปัวตีเย
    พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และ อาลีเยนอร์แห่งอากีแตน
    Thoros II of Armenia
    Raynald of Châtillon
    Theodwin
    พระเจ้าอาฟงซูที่ 1 แห่งโปรตุเกส
    พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 แห่งเลออนและกัสติยา
    ราโมน บารังเกที่ 4
    พระเจ้าค็อนราทที่ 3 แห่งเยอรมนี
    Ottokar III of Styria
    จักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอส
    Thierry of Alsace
    พระเจ้าสตีเฟนแห่งอังกฤษ
    เจฟฟรีย์ที่ 5 เคานต์แห่งอ็องฌู
    Vladislaus II of Bohemia
    Robert de Craon
    Everard des Barres
    Vladislaus II the Exile
    ไฮน์ริชที่ 12 ดยุกแห่งบาวาเรีย
    Albert the Bear
    Canute V of Denmark
    Sweyn III of Denmark
    จักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
    Anselm of Havelberg
    Conrad the Great
    Otto of Freising
    Alfonso Jordan
    Matthias I
    Godfrey III
    Henry Jasomirgott
    Adolf II of Holstein


    Roger II of Sicily

    ฝั่งตะวันออก:
    Mesud I
    Imad ad-Din Zengi
    Nur ad-Din
    Saif ad-Din Ghazi I
    Al-Muqtafi
    Al-Hafiz


    ฝั่งตะวันตก:
    Tashfin ibn Ali
    Ibrahim ibn Tashfin
    Ishaq ibn Ali
    Abd al-Mu'min


    Wends กับพันธมิตร:

    Niklot
    Pribislav of Wagria
    Ratibor I of Pomerania
    กำลัง
    เยอรมัน:ชาย 20,000 คน[1]
    ฝรั่งเศส:ชาย 15,000 คน[1]
    รวม:20,000 คน
    ความสูญเสีย
    มาก น้อย

    แม่แบบ:Campaignbox Second Crusade

    แม่แบบ:Campaignbox Crusades Battles
    “สภาสงครามครูเสดครั้งที่ 2” -- พระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี, พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าบอลด์วินที่ 3 แห่งเยรูซาเลม

    สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (อังกฤษ: Second Crusade) (ค.ศ. 1147-ค.ศ. 1149) เป็นสงครามครูเสด[2][3] ครั้งสำคัญครั้งที่สองที่เริ่มจากยุโรปในปี ค.ศ. 1145 ในการโต้ตอบการเสียอาณาจักรเอเดสสาในปีก่อนหน้านั้น

    อาณาจักรเอเดสสาเป็นอาณาจักรครูเสดอาณาจักรแรกที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1095-ค.ศ. 1099) และเป็นอาณาจักรแรกที่ล่ม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 ได้รับการประกาศโดยสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3 และเป็นสงครามครูเสดครั้งแรกที่นำโดยพระมหากษัตริย์ยุโรปที่รวมทั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี พร้อมด้วยการสนับสนุนของขุนนางสำคัญต่างๆ ในยุโรป กองทัพของทั้งสองพระองค์แยกกันเดินทางข้ามยุโรปไปยังตะวันออกกลาง หลังจากข้ามเข้าสู่ดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในอานาโตเลียแล้ว กองทัพทั้งสองต่างก็ได้รับความพ่ายแพ้ต่อเซลจุคเติร์ก แหล่งข้อมูลของคริสเตียนตะวันตก--โอโดแห่งดุยล์ (Odo of Deuil) และคริสเตียนซีเรียคอ้างว่าจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ทรงมีส่วนในความพ่ายแพ้ครั้งนี้โดยทรงสร้างอุปสรรคแก่การเดินหน้าของกองทัพทั้งสองโดยเฉพาะในอานาโตเลีย และทรงเป็นเป็นผู้สั่งการโจมตีของเซลจุคเติร์ก กองทัพที่ร่อยหรอที่เหลือของพระเจ้าหลุยส์และพระเจ้าคอนราดก็เดินทางต่อไปยังกรุงเยรูซาเลม และในปี ค.ศ. 1148 ก็เข้าโจมตีดามาสคัสตามคำแนะนำอันไม่สมควร สงครามครูเสดครั้งที่ 2 จบลงด้วยความล้มเหลวและชัยชนะของฝ่ายมุสลิม และเป็นสงครามที่นำไปสู่การเสียกรุงเยรูซาเลม และ สงครามครูเสดครั้งที่ 3 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12

    ความสำเร็จอย่างเดียวของสงครามครูเสดครั้งนี้เกิดขึ้นนอกบริเวณเมดิเตอเรเนียนเมื่อชนกลุ่มต่างๆ ที่กำลังเดินทางทางเรือไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์เพื่อไปเข้าร่วมในสงครามที่รวมทั้งเฟล็มมิช, ฟริเชียน, นอร์มัน, อังกฤษ, สกอต และเยอรมันมีโอกาสหยุดช่วยฝ่ายโปรตุเกสจากการเสียเมืองลิสบอนจากการล้อมโดยชาวมัวร์ในปี ค.ศ. 1147

    ขณะเดียวกันในยุโรปตะวันออกสงครามครูเสดตอนเหนือครั้งแรกก็เริ่มขึ้นโดยมีจุดประสงค์ในการเปลี่ยนกลุ่มชนที่เป็นเพกันให้มารับนับถือคริสต์ศาสนาซึ่งเป็นสงครามที่ดำเนินต่อมาเป็นเวลาอีกหลายร้อยปี

    อ้างอิง

    [แก้]
    1. 1.0 1.1 Norwich 1995, pp. 94–95.
    2. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Crusades[1]
    3. The Crusades[2] เก็บถาวร 2009-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

    ดูเพิ่ม

    [แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น

    [แก้]

    วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สงครามครูเสดครั้งที่ 2