วิลเลียม โฮลแมน ฮันท์
วิลเลียม โฮลแมน ฮันท์ |
---|
วิลเลียม โฮลแมน ฮันท์ (อังกฤษ: William Holman Hunt; 2 เมษายน ค.ศ. 1827 – 7 กันยายน ค.ศ. 1910) เป็นจิตรกรชาวอังกฤษ และหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มพรีราฟาเอลไลท์ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมสีน้ำมัน
วิลเลียม โฮลแมน ฮันท์เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1827 ที่ชีพไซด์ ลอนดอน อังกฤษ และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1910 ที่เค็นซิงตัน
ชีวิตและงาน
[แก้]เดิมชื่อกลางของฮันท์ คือ “ฮอบแมน” แต่ฮันท์ไม่ชอบเอามากๆ และเลือกเรียกตัวเองว่า “โฮลแมน” ตามที่พบว่าสะกดผิดโดยนายทะเบียนหลังจากที่ได้รับศีลจุ่มที่วัดเซนต์แมรีที่อีเวลล์[1] แม้ว่านามสกุลจะเป็น “ฮันท์” เมื่อมีชื่อเสียงในบั้นปลายฮันท์ก็พ่วงชื่อกลางเป็นส่วนหนึ่งของนามสกุลแยกด้วยไฮเฟ็นเป็น “โฮลแมน-ฮันท์”
ในที่สุดฮันท์ก็ได้เข้าศึกษาในราชสถาบันศิลปะหลังจากที่ไม่ถูกยอมรับก่อนหน้านั้น แต่ฮันท์ก็ต่อต้านอิทธิพลของเซอร์โจชัว เรย์โนลด์ส ผู้ก่อตั้งสถาบัน ใน ค.ศ. 1848 ฮันทก็ก่อตั้งกลุ่มพรีราฟาเอลไลท์หลังจากที่ได้พบกับศิลปินดานเต เกเบรียล รอสเซ็ตติ และกับจอห์น เอเวอเรทท์ มิเลส์ พยายามแสวงหาที่ทำให่ศิปปะมีชีวิตชีวาขึ้นและเน้นการสังเกตรายละเอียดของสิ่งแวดล้อมของธรรมชาติรอบตัวทำนองกึ่งศรัทธาต่อการแสวงหาความเป็นจริง แนวที่เอียงไปทางศาสนาเป็นอิทธิพลที่มาจากศิลปะยุคกลางที่ตรงกันข้ามกับการหาเหตุผลของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาที่เห็นในผลงานของราฟาเอล ฮันท์มีลูกศิษย์หลายคนรวมทั้งโรเบิร์ต เบรธเวท มาร์ตินโน (Robert Braithwaite Martineau) ผู้ได้รับความสำเร็จพอสมควรแต่เสียชีวิตตั้งแต่ยังหนุ่ม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Amor, Anne Clark, William Holman Hunt: the True Pre-Raphaelite, Constable, London, 1989, p.15
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ วิลเลียม โฮลแมน ฮันท์
สมุดภาพ
[แก้]-
ภาพประกอบโคลงของทอมัส วูนเนอร์ (Thomas Woolner) “สาวสวยของฉัน” (ค.ศ. 1850)
-
“คลอดิโอและอิสซาเบลลา” (ค.ศ. 1850)
-
“แสงส่องโลก” (The Light of the World) (ค.ศ. 1854)
-
“แพะรับบาป” (The Scapegoat) (ค.ศ. 1856)
-
“พระเยซูในหมู่นักปราชญ์” (The Finding of the Saviour in the Temple) (ค.ศ. 1860)
-
“อิสซาเบลลา, หรือกระถางใบโหระพา” (ค.ศ. 1868)
-
“เงาแห่งความตาย” (ค.ศ. 1871)
-
“The Awakening Conscience” (ค.ศ. 1853)
-
“เลดี้แห่งแชลล็อต” (ค.ศ. 1905)
-
สตีเฟน ลัชชิงตัน โฮลแมน-ฮันท์