วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ตรา��ัญญาลักษณ์ของวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน | |||||||||||||
คติพจน์ | ละติน: Rerum cognoscere causas | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คติพจน์อังกฤษ | "To Know the Causes of Things" | ||||||||||||
ประเภท | มหาวิทยาลัยรัฐ | ||||||||||||
สถาปนา | 1895 | ||||||||||||
ทุนทรัพย์ | £119.2m ( 31 กรกฎาคม 2016) | ||||||||||||
นายกสภาฯ | Alan Elias | ||||||||||||
อธิการบดี | HRH The Princess Royal (as Chancellor of the University of London) | ||||||||||||
อธิบดี | จูเลีย แบลค์ | ||||||||||||
Visitor | The Rt Hon David Lidington As Lord President of the Council ex officio | ||||||||||||
อาจารย์ | 1,655 (2015/16)[1] | ||||||||||||
ผู้ศึกษา | 10,440 (2015/16)[2] | ||||||||||||
ปริญญาตรี | 4,700 (2015/16) [2] | ||||||||||||
บัณฑิตศึกษา | 5,740 (2015/16)[2] | ||||||||||||
ที่ตั้ง | ลอนดอน , สหราชอาณาจักร 51°30′50″N 0°07′00″W / 51.51389°N 0.11667°W | ||||||||||||
วิทยาเขต | Urban | ||||||||||||
Newspaper | เดอะ บีเวอร์ | ||||||||||||
สี | ม่วง ดำ และทอง[3] | ||||||||||||
เครือข่าย | ACU, CEMS, EUA, G5, Russell Group, มหาวิทยาลัยลอนดอน, Universities UK, Golden Triangle | ||||||||||||
มาสคอต | บีเวอร์ | ||||||||||||
เว็บไซต์ | lse.ac.uk | ||||||||||||
วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน (อังกฤษ: The London School of Economics and Political Science) หรือที่รู้จักในชื่อย่อว่า แอลเอสอี (LSE - London School of Economics) เป็นหนึ่งในวิทยาลัยที่เป็นพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยลอนดอน โดยเป็นสถาบันเฉพาะทางสายสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และรัฐศาสตร์ อันดับ 1 ในสหราชอาณาจักรและทวีปยุโรป และเป็นอันดับที่ 1 ของโลก โดยการจัดอันดับมาตรฐานมหาวิทยาลัยโลกจากคอกโครัลลีไซมอนส์ โดยแอลเอสอีมีห้องสมุดด้านสังคมศาสตร์ การเมือง และ การปกครองที่ใหญ่ที่สุดในโลกและยังเป็นสถาบันแห่งแรกของโลกที่คิดค้นหลักสูตรและเปิดสอนวิชาด้านสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่ปัจจุบันมีสอนในเกือบทุกมหาวิทยาลัย เช่น มานุษยวิทยา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สังคมวิทยา และนโยบายและการวางแผนสังคม ผู้นำประเทศและองค์กรนานาชาติจำนวนมากก็ได้รับการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ อาทิ จอห์น เอฟ. เคนเนดี และ ลี กวนยู อีกทั้งนักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย ป๋วย อึ้งภากรณ์ ปัจจุบันมีประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีที่เป็นศิษย์เก่าไม่ต่ำกว่า 34 คน นอกจากนี้ยังมีนักเรียนและบุคลาการจากแอลเอสอีได้รับรางวัลโนเบลจำนวน 18 คน[4] ปัจจุบัน อธิการบดี ของแอลเอสอีคือ เจ้าฟ้าหญิงแอนน์ พระวรราชกุมารี พระราชธิดาใน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และมี เซอร์ ฮาวเวิร์ด เดวีส์ (รองผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติอังกฤษ) เป็นผู้อำนวยการ
แอลเอสอีมีอัตราส่วนการรับนักเรียนเข้าศีกษาเพียง 5 ต่อ 100 คน ระดับปริญญาตรี และต่ำถึง 3 ต่อ 100 คน ในบางคณะระดับปริญญาโท[5] จึงถูกจัดว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เข้ารับการศึกษาได้ยากที่สุดในสหราชอาณาจักร ได้มีอัตราการแข่งขันจำนวนผู้สมัครและจำนวนที่เปิดรับที่สูงกว่า มหาวิทยาลัยอื่นๆทั้งหมดในสหราชอาณาจักร รวมทั้งมหาวิทยาลัยที่รู้จักกันดีในประเทศไทย อย่างเคมบริดจ์และออกซฟอร์ด การจบการศึกษานั้นถือว่ามีมาตรฐานที่สูงและได้รับการยอมรับทั่วโลก นักศึกษาที่จบจากสถาบันแห่งนี้ได้รับการจัดอันดับอัตราเงินเดือนสูงสุดเมื่อเทียบกับนักศึกษาที่จบจากสถาบันอื่นๆทั้งหมดในสหราชอาณาจักร[6]
แต่ละปีแอลเอสอียังมีการบรรยายและกิจกรรมทางวิชาการจำนวนมากที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังสามารถติดตามการบรรยายได้ทางพอดแคสต์[7]
บุคคลสำคัญที่ได้รับการศึกษาจากแอลเอสอี
[แก้]- สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
- Sheik Hamdan bin Mohammed Al Maktoum มกุฎราชกุมารแห่งดูไบ
- เจ้าหญิงบาห์ดียา บิน ฮัสซัน
- จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
- ลี กวนยู นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศสิงคโปร์
- ลอร์ด เคลมองต์ อัตต์ลี นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และ ผู้สถาปนา องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้)
- เจ้าชาย Abdul Malik แห่งบรูไน
- Marek Belka นายกรัฐมนตรีโปแลนด์
- Mervyn King ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติอังกฤษ
- เดวิด ร็อกกี้เฟลเลอร์ ประธาน มูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์
- ทาโร อะโซ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
- จอร์จ โซรอส ประธานบริษัท Soros Fund Management และสถาบัน Open Society Institute
ชาวไทย
[แก้]- ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี
- ป๋วย อึ้งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักเศรษฐศาสตร์ชาวไทย
- จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[8]
- ณัฎฐา โกมลวาทิน ผู้ดำเนินรายการที่นี่ ไทยพีบีเอส[9]
- วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้ประกาศข่าว
- พรรณิการ์ วานิช อดีตพิธีกรรายการข่าว และนักการเมืองชาวไทย
- ฉาย บุนนาค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือเนชั่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Table 1: Staff by HE provider, academic contract marker and mode of employment". Higher Education Statistics Agency. สืบค้นเมื่อ 16 March 2017.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 แม่แบบ:HESA citation
- ↑ "Woolen Scarf with Crest Embroidery". LSE Students' Union. สืบค้นเมื่อ 15 January 2017.
- ↑ http://www.lse.ac.uk/about-lse/lse-people
- ↑ [1], Programmes and Admissions
- ↑ http://www.independent.co.uk/student/news/london-school-of-economics-graduates-are-earning-more-than-those-from-any-other-uk-university-a6982456.html
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-05.
- ↑ www.polsci.chula.ac.th http://www.polsci.chula.ac.th/?lecturer=%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%94%E0%B8%A3-%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-10. สืบค้นเมื่อ 2014-05-17.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ LSE
- สหภาพนักศึกษา LSE
- The Beaver หนังสือพิมพ์นักศึกษา LSE
- The Times' Profile of The LSE เก็บถาวร 2008-05-16 ที่ archive.today ข้อมูลเกี่ยวกับ LSE โดยหนังสือพิมพ์ The Times
- เว็บไซต์มหาวิทยาลัยลอนดอน
- College of Contract Management
51°30′50.40″N 0°07′0.12″W / 51.5140000°N 0.1167000°W{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้