ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์/การทับศัพท์ภาษาเปอร์เซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนื่องจากภาษาเปอร์เซียยังไม่เคยมีหลักเกณฑ์การทับศัพท์มาก่อน หน้านี้จึงเป็นแนวทางการทับศัพท์ภาษาเปอร์เซียสำหรับชื่อเฉพาะต่าง ๆ เพื่อใช้ในสารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทย

หลักทั่วไป

[แก้]

1. การทับศัพท์ภาษาเปอร์เซียนี้ยึดการออกเสียงตามภาษาเปอร์เซียที่ใช้ในประเทศอิหร่าน (ภาษาฟอร์ส) ซึ่งมีลักษณะทางเสียงบางอย่างแตกต่างจากภาษาเปอร์เซียที่ใช้ในประเทศอัฟกานิสถาน (ภาษาดารี) ภาษาเปอร์เซียที่ใช้ในประเทศทาจิกิสถาน (ภาษาทาจิก) และภาษาเปอร์เซียที่ใช้ในประเทศอื่น ๆ

2. ภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียซึ่งมีพื้นฐานมาจากอักษรอาหรับ โดยทั่วไปอักษรอาหรับแต่ละตัวใช้แทนหน่วยเสียงที่ต่างกันในภาษาอาหรับ แต่บางหน่วยเสียงไม่ปรากฏในระบบเสียงภาษาเปอร์เซีย ผู้พูดภาษาเปอร์เซียจึงออกเสียงตัวอักษรอาหรับที่ใช้แทนหน่วยเสียงเหล่านั้นด้วยเสียงที่ปรากฏในภาษาของตนแทน[1] ส่งผลให้ชุดตัวอักษรเปอร์เซียมีอักษรจำนวนหนึ่งที่ออกเสียงเหมือนกัน ระบบการถอดอักษรเปอร์เซียด้วยอักษรโรมันในปัจจุบันมีหลายระบบ ในที่นี้จะแสดงไว้ 2 ระบบ ได้แก่ ระบบของสมาคมบูรพคดีเยอรมัน (เดเอ็มเก) ซึ่งเน้นการถอดอักษรที่ต่างกันแต่ละตัวเพื่อให้ทราบที่มาของคำและเพื่อให้สามารถถอดกลับไปเป็นอักษรเปอร์เซียได้ และระบบของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านชื่อภูมิศาสตร์แห่งสหประชาชาติ (อังเกเกิน) ซึ่งเน้นการถอดอักษรแบบถ่ายเสียงเป็นหลักเพื่อให้สอดคล้องกับระบบเสียงภาษาเปอร์เซียและเพื่อให้นำไปใช้งานได้ง่าย เช่น

อักษรอาหรับ/
เปอร์เซีย
หน่วยเสียง อักษรโรมันสำหรับ
ถอดอักษรเปอร์เซีย
ภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย เดเอ็มเก[2] อังเกเกิน[3]
 ز  z  z  z  z
 ذ  ð  z    z
 ض    z  ż  z
 ظ  ðˤ  z    z
ในที่นี้จะแสดงอักษรโรมันตามระบบของสมาคมบูรพคดีเยอรมันก่อน จากนั้นจึงแสดงอักษรโรมันตามระบบของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านชื่อภูมิศาสตร์แห่งสหประชาชาติ ทั้งนี้ ถ้าอักษรโรมันจากทั้งสองระบบสะกดเหมือนกันก็จะแสดงเพียงครั้งเดียว

3. "สระสั้น" ภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่มีเสียงสระเดี่ยว 6 เสียงซึ่งตามธรรมเนียมดั้งเดิมจัดอยู่ในสองประเภท ได้แก่ "สระสั้น" คือ /æ/ /e/ และ /o/ และ "สระยาว" คือ /ɒː/ /iː/ และ /uː/ อย่างไรก็ตาม ในการออกเสียงจริง สิ่งที่ทำให้เสียงสระเหล่านี้มีลักษณะเปรียบต่างคือระดับและตำแหน่งของลิ้นมากกว่าที่จะเป็นความสั้นยาว โดย "สระสั้น" ในบางบริบทสามารถออกเสียงกึ่งยาวหรือเสียงยาวได้เช่นเดียวกับ "สระยาว"[4][5] นอกจากนี้ อักขรวิธีภาษาไทยในปัจจุบันไม่มีรูปสระที่สามารถแสดงเสียงสระสั้นในบางบริบทได้อย่างเหมาะสม การทับศัพท์ในที่นี้จึงไม่คำนึงถึงความเป็น "สระสั้น" หรือ "สระยาว" และให้ถอดเสียง "สระสั้น" ในภาษาเปอร์เซียโดยใช้รูปสระยาวในภาษาไทย เช่น

بد
سپهر
اردن
bad
sepehr
Ordon
[bæd]
[seehr]
ordon]
บด
พฮร์
อร์ดน
"แย่, เลว"
"ท้องฟ้า, สวรรค์"
"ประเทศจอร์แดน"

อนึ่ง เนื่องจากตัวเขียนอักษรเปอร์เซียโดยทั่วไปไม่แสดงเครื่องหมายที่บ่งชี้ "สระสั้น" (ได้แก่ ـِ ـَ และ ـُ) จึงอาจเกิดความสับสนว่า "สระสั้น" ในคำหนึ่ง ๆ คือเสียงสระใดระหว่าง /æ/ /e/ และ /o/ ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับคำที่จะเขียนทับศัพท์จำเป็นต้องเทียบกับตัวเขียนอักษรโรมันหรือตรวจสอบจากพจนานุกรมการออกเสียง

4. พยัญชนะ پ (p); ت (t); ط (, t) และ ک (k) เมื่ออยู่ในตำแหน่งต้นพยางค์จะออกเสียงพ่นลมมาก แต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งท้ายพยางค์จะออกเสียงไม่พ่นลมหรือพ่นลมน้อย[5][6] จึงทับศัพท์โดยใช้อักษรไทยดังนี้

4.1 เมื่ออยู่ในตำแหน่งต้นพยางค์ ทับศัพท์เป็น พ ท และ ค ตามลำดับ เช่น
پاپوش
تافتن
طوطی
کیهان
pāpūš, pāpuš
tāftan
ūī, tuti
keyhān
[ɒːuːʃ]
[ɒːfæn]
[iː]
[ejhɒːn]
พู
อฟแ
ทูที
ย์ฮอน
"รองเท้าแตะ"
"บิด, ฟั่น"
"นกแก้ว"
"จักรวาล"
4.2 เมื่ออยู่ในตำแหน่งท้ายพยางค์ ทับศัพท์เป็น ป ต และ ก ตามลำดับ เช่น
چپ
فرصت
خطه
کودک
čap
forsat
ae, xatte
kūdak, kudak
[t͡ʃæp]
[forsæt]
[xættʰe]
[kʰuːdæk]
แช
โฟร์แซ
แฆเท
คูแด
"ซ้าย"
"โอกาส"
"ดินแดน"
"เด็กอ่อน, ทารก"

5. เสียงพยัญชนะบางเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ทับศัพท์ดังนี้

5.1 เสียงพยัญชนะไม่ก้อง ʃ ทับศัพท์เป็น ช เช่น
شهاب
شش
šahāb
šeš
[ʃæhɒːb]
[ʃeʃ]
ฮอบ
ชช
"ดาวตก"
"หก (จำนวน)"
5.2 เสียงพยัญชนะก้อง ʒ ทับศัพท์เป็น ฌ เช่น
ژیرش
ژاژ
žīreš, žireš
žāž
[��iːreʃ]
[ʒɒːʒ]
ฌีเรช
"กิริยา (ฟิสิกส์)"
"การคุยเรื่อยเปื่อย"
5.3 เสียงพยัญชนะหยุด ɡ และ ɢ ทับศัพท์เป็น ก เช่น
گران
قشنگ
gerān
qašang
[ɡerɒːn]
[ɢæʃæŋɡ]
รอน
แชงก์
"แพง"
"สวยงาม"
5.4 เสียงพยัญชนะเสียดแทรก x และ ɣ ทับศัพท์เป็น ฆ เช่น
خاکی
قورباغه
ākī, xāki
qūrbāġe, qurbāqe
[xɒːkʰiː]
[ɢuːrbɒːɣe]
อคี
กูร์บอเ
"กากี"
"กบ"

6. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต มีหลักดังนี้

6.1 เสียงพยัญชนะ r h และ ʔ ในตำแหน่งท้ายพยางค์ เมื่อทับศัพท์ให้ใช้ ร ฮ และ อ ตามลำดับ และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับไว้ เช่น
کارزار
صحیح
تعرفه
kārzār
aḥī, sahih
taʿrefe, taʾrefe
[kʰɒːrzɒːr]
[sæhiːh]
[tʰæʔrefe]
คอร์ซอร์
แซฮีฮ์
แทอ์เรเฟ
"สนามรบ"
"ถูกต้อง"
"พิกัดอัตรา"
6.2 เสียงพยัญชนะควบในตำแหน่งท้ายพยางค์ เมื่อทับศัพท์ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้ายเพียงแห่งเดียว เช่น
کوشک
قشم
چتر
ظهر
دغد
بانگ
لعل
kūšk, kušk
Qešm
čatr
ohr, zohr
doġd, doqd
bāng
laʿl, laʾl
[kʰuːʃk]
[ɢeʃm]
[t͡ʃætr]
[zohr]
[doɣd]
[bɒːŋɡ]
[læʔl]
คูชก์
เกชม์
แชตร์
โซฮร์
โดฆด์
บองก์
แลอล์
"วัง, คฤหาสน์"
"ชื่อเกาะในประเทศอิหร่าน"
"ร่ม"
"เที่ยงวัน"
"เจ้าสาว"
"เสียง, เสียงรบกวน"
"รัตนชาติสีแดง"
แต่ถ้าพยัญชนะแรกของพยัญชนะควบนั้นเป็นเสียง r เมื่อทับศัพท์ให้เลื่อนเครื่องหมายทัณฑฆาตไปไว้บน ร แทน เช่น
گرگ
خرس
صرع
gorg
ers, xers
arʿ, sarʾ
[ɡorɡ]
[xers]
[særʔ]
โกร์
เฆร์
แซร์
"หมาป่า"
"หมี"
"ลมชัก"
6.3 เสียงสระประสม ej เมื่อทับศัพท์ให้ใช้ เ–ย์ เช่น
ایوان
حسین
ayvān, eyvān
osayn, Hoseyn
ejvɒːn]
[hosejn]
ย์วอน
โฮย์
"มุข, เฉลียงลอย"
"ชื่อบุคคล"
แต่ถ้ามีเสียงพยัญชนะ r ตามมาอีกในพยางค์เดียวกัน เมื่อทับศัพท์ไม่ต้องใส่ ย และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บน ร แทน เช่น
نخیر naayr, naxeyr [næxejr] แนร์ "ไม่"
6.4 เสียงสระประสม ow เมื่อทับศัพท์ให้ใช้ โ–ว์ เช่น
جو
صنوبر
ǧaw, jow
anawbar, sanowbar
[d͡ʒow]
[sænowbær]
ว์
แซว์แบร์
"ข้าวบาร์เลย์"
"ต้นสน"
แต่ถ้ามีเสียงพยัญชนะท้ายตามมาอีกในพยางค์เดียวกัน เมื่อทับศัพท์ให้เลื่อนเครื่องหมายทัณฑฆาตไปไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้ายแทน เช่น
صوت awt, sowt [sowt] วต์ "เสียง"

7. ในภาษาเปอร์เซียมีคำอนุภาคที่เรียกว่า เอซอเฟ (اضافه; eżāfe, ezāfe) ซึ่งเชื่อมคำต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อแสดงลักษณะหรือคุณภาพ แสดงความเป็นเจ้าของ หรือระบุชื่อของบุคคล ตระกูล สถานที่ วัน และฤดูกาล โดยใช้โครงสร้าง คำนามหลัก + เอซอเฟ + ส่วนขยาย คำอนุภาค เอซอเฟ ออกเสียงได้ 2 แบบขึ้นอยู่กับเสียงที่อยู่ท้ายคำนามหลัก จึงทับศัพท์แตกต่างกันดังนี้

7.1 ถ้าคำนามหลักลงท้ายด้วยพยัญชนะ จะออกเสียงคำอนุภาค เอซอเฟ เป็น [e] แต่เนื่องจากตามธรรมเนียมดั้งเดิมถือว่า [e] เป็น "สระสั้น" ตัวเขียนอักษรเปอร์เซียโดยทั่วไปจึงไม่แสดงรูปไว้ ส่วนตัวเขียนอักษรโรมันจะแสดงด้วยรูป -e เมื่อทับศัพท์ให้ใช้ เ– โดยโอนพยัญชนะท้ายคำนามหลักมาเป็นพยัญชนะต้นของ เ– เขียนติดกันทั้งวลี และไม่ต้องใส่เครื่องหมายยัติภังค์ เช่น
چای سبز
کتاب حمید
شهر تبریز
čāy-e sabz
ketāb-e amīd, ketāb-e Hamid
Šahr-e Tabrīz, Šahr-e Tabriz
[t͡ʃɒː.je.sæbz]
[kʰe.tʰɒː.be.hæ.miːd]
[ʃæh.re.tʰæb.riːz]
ชอเยแซบซ์
เคทอเบแฮมีด
แชฮ์เรแทบรีซ
"ชาเขียว"
"หนังสือของแฮมีด"
"นครแทบรีซ"
7.2 ถ้าคำนามหลักลงท้ายด้วยสระหรือรูปพยัญชนะ ه (h) ที่ไม่ออกเสียง จะออกเสียงคำอนุภาค เอซอเฟ เป็น [je] ตัวเขียนอักษรเปอร์เซียบางครั้งจะแสดงด้วยรูป ی หรือ هٔ (แต่บางครั้งก็ไม่แสดง) ส่วนตัวเขียนอักษรโรมันจะแสดงด้วยรูป -ye เมื่อทับศัพท์ให้ใช้ เย โดยเขียนติดกันทั้งวลีและไม่ต้องใส่เครื่องหมายยัติภังค์ เช่น
دریای سیاه
هفته‌ی دیگر
خانهٔ ما
Daryā-ye Siyāh
hafte-ye digar
ḫāne-ye mā, xāne-ye mā
[dær.jɒː.je.si.jɒːh]
[hæf.tʰe.je.diː.ɡær]
[xɒː.ne.je.mɒː]
แดร์ยอเยซียอฮ์
แฮฟเทเยดีแกร์
ฆอเนเยมอ
"ทะเลดำ"
"สัปดาห์ถัดไป"
"บ้านของพวกเรา"

8. เมื่อชื่อตัวและนามสกุลของผู้พูดภาษาเปอร์เซียปรากฏอยู่ด้วยกัน ในการออกเสียงจะแทรกคำอนุภาค เอซอเฟ ตามข้อ 7. ด้วย แต่เนื่องจากคำอนุภาค เอซอเฟ มิใช่ส่วนหนึ่งของชื่อตัวอย่างแท้จริง จึงไม่นิยมแสดงรูปเป็นอักษรโรมัน เมื่อทับศัพท์ให้เขียนชื่อตัวและนามสกุลแยกกันโดยไม่ต้องถอดเสียงของคำอนุภาค เอซอเฟ เช่น

بیژن مرتضوی‎
اصغر فرهادی
Bīžan Mortażavī, Bižan Mortazavi
Aṣġar Farhādī, Asqar Farhādi
[biː.ʒæ.ne.mor.tʰæ.zæ.vi]
[ʔæs.ɣæ.re.fær.hɑː.diː]
บีแฌ โมร์แทแซวี
แอสแฆร์ แฟร์ฮอดี

9. หน่วยคำเติม ستان‎ (-stān, -estān) ในชื่อสถานที่ที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชื่ออื่นอีก เมื่อทับศัพท์ให้ใช้ สถาน หรือ เ–สถาน เช่น

هندوستان
گلستان
گلستان
تابستان
Hendustān
Golestān
golestān
tābestān
[henduːstʰɒːn]
[ɡolestʰɒːn]
[ɡolestʰɒːn]
[tʰɒːbestʰɒːn]
เฮนดูสถาน
โกสถาน
โกเลสทอน
ทอเบสทอน
"ประเทศอินเดีย" [ชื่อสถานที่]
"ชื่อจังหวัดในประเทศอิหร่าน" [ชื่อสถานที่]
"สวนกุหลาบ" [คำนามทั่วไป]
"ฤดูร้อน" [คำนามทั่วไป]

10. คำที่มีใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน และ กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง เช่น กุหลาบ จาระบี สุหร่าย เตหะราน รวมทั้งชื่อสถานที่ที่ครอบคลุมหลายประเทศและนิยมทับศัพท์ตามภาษาอื่น เช่น เคอร์ดิสถาน ให้สะกดตามนั้น

ตารางเทียบเสียงพยัญชนะ

[แก้]
อักษรเปอร์เซีย อักษรโรมัน เงื่อนไข เสียง อักษรไทย ตัวอย่าง
อักษรเปอร์เซีย อักษรโรมัน คำอ่าน คำทับศัพท์ ความหมาย
 ؤ, ئ, أ  ʾ[# 1]
 ʔ  อ مسئول  masʾūl, masʾul  [mæsʔuːl]  แมสอุ  ที่รับผิดชอบ
سؤال  soʾāl  [soʔɒːl]  โซอล  คำถาม
تأکید  taʾkīd, taʾkid  [tʰæʔkʰiːd]  แทอ์คีด  การเน้น
 ب  b
 b  บ بهبود  behbūd, behbud  [behbuːd]  เฮ์บู  สุขภาพ, สุขภาวะ
بشقاب  bošqāb  [boʃɣɒːb]  โชฆอ  จาน
 پ  p  เมื่ออยู่ต้นพยางค์    พ پنج  panǧ, panj  [ænd͡ʒ]  แนจ์  ห้า
 เมื่ออยู่ท้ายพยางค์  p  ป چپ  čap  [t͡ʃæp]  แช  ซ้าย
 ت  t  เมื่ออยู่ต้นพยางค์    ท تافتن  tāftan  [ɒːfæn]  อฟแ  บิด, ฟั่น
 เมื่ออยู่ท้ายพยางค์  t  ต تفاوت  tafāvot  [tʰæfɒːvot]  แทฟอโว  ความต่าง
 ث  s̱, s
 s  ซ (เมื่ออยู่ต้นพยางค์) ثانیه  āniye, sāniye  [sɒːnije]  อนีเย  วินาที
 ส (เมื่ออยู่ท้ายพยางค์) اثبات  ebāt, esbāt  [ʔesbɒːt]  เอบอต  การพิสูจน์
 ج  ǧ, j
 d͡ʒ  จ جوجه  ǧūǧe, juje  [d͡ʒd͡ʒe]  จู  ลูกไก่
خارج  ḫāreǧ, xārej  [xɒːred͡ʒ]  ฆอเร  ข้างนอก
 چ  č
 t͡ʃ  ช چهار  čahār  [t͡ʃæhɒːr]  แฮอร์  สี่
بچه  bačče  [bæt͡ʃːe]  แบ  เด็ก
 ح  , h
 h  ฮ حیوان  ayvān, heyvān  [hejvɒːn]  เย์วอน  สัตว์
صحیح  ṣaī, sahih  [sæhh]  แซฮีฮ์  ถูกต้อง
 خ  , x
 x  ฆ خرما  ormā, xormā  [xormɒː]  โร์มอ  อินทผลัม
تخت  tat, taxt  [tʰæxt]  แทต์  บัลลังก์, เตียง
 د  d
 d  ด داماد  dāmād  [dɒːmɒːd]  อมอ  เจ้าบ่าว
دغد  doġd, doqd  [dd]  โด์  เจ้าสาว
 ذ  , z
 z  ซ ذرت  orrat, zorrat  [zorːæt]  โร์แรต  ข้าวโพด
کاغذ  kāġa, kāqaz  [kʰɒːɣæz]  คอแฆ  กระดาษ, จดหมาย
 ر  r
 r[# 2]  ร رفتار  raftār  [ræftʰɒːr]  แฟทอร์  ความประพฤติ
راهبردی  rāhbordī, rāhbordi  [rɒːhbordiː]  อฮ์โบร์ดี  ทางยุทธศาสตร์
 ز  z
 z  ซ زانو  zānū, zānu  [zɒːnuː]  อนู  เข่า
غاز  ġāz, qāz  [ɢɒːz]  กอ  ห่าน
 ژ  ž
 ʒ  ฌ ژرفا  žarfā  [ʒærfɒː]  แร์ฟอ  ความลึก
خاژغان  ḫāžġān, xāžqān  [xɒːʒɣɒːn]  ฆอฆอน  กาน้ำ
 س  s
 s  ซ (เมื่ออยู่ต้นพยางค์) سده  sade  [sæde]  แเด  ศตวรรษ
 ส (เมื่ออยู่ท้ายพยางค์) دوست  dūst, dust  [duːst]  ดูต์  เพื่อน
 ش  š
 ʃ  ช شمشیر  šamšīr, šamšir  [ʃæmʃiːr]  แชีร์  ดาบชนิดหนึ่ง
شپش  šepeš  [ʃepʰeʃ]  เเพ  แมลงจำพวกเห็บเหา
 ص  , s
 s  ซ (เมื่ออยู่ต้นพยางค์) صحرا  arā, sahrā  [sæhrɒː]  แฮ์รอ  ทะเลทราย
 ส (เมื่ออยู่ท้ายพยางค์) رقص  raq, raqs  [ræɣs]  แรฆส์  การเต้นรำ
 ض  ż, z
 z  ซ ضخیم  żaḫīm, zaxim  [zæxiːm]  แฆีม  หนา
عضو  ożv, ozv  [ʔozv]  โอฟ์  สมาชิก
 ط  , t  เมื่ออยู่ต้นพยางค์    ท طوطی  ūī, tuti  [iː]  ทูที  นกแก้ว
 เมื่ออยู่ท้ายพยางค์  t  ต غلط  ġala, qalat  [ɢælæt]  แกแล  ผิด
 ظ  , z
 z  ซ ظهر  ohr, zohr  [zohr]  โฮร์  เที่ยงวัน
حافظ  ḥāfe, hāfez  [hɒːfez]  ฮอเฟ  ผู้พิทักษ์
 ع  ʿ, ʾ[# 1]
 ʔ  อ عبرت  ebrat  [ʔeb.ræt]  เบแรต  บทเรียน
عقاب  oqāb  [ʔoɣɒːb]  โฆอบ  นกอินทรี
صنعت  anʿat, sanʾat  [sænʔæt]  แซนแ  อุตสาหกรรม
تعرفه  taʿrefe, taʾrefe  [tʰæʔrefe]  แทอ์เรเฟ  พิกัดอัตรา
طعم  aʿm, taʾm  [tʰæʔm]  แทม์  รสชาติ
شروع  šorūʿ, šoruʾ  [ʃoruːʔ]  โชรูอ์  การเริ่มต้น
جمع  ǧamʿ, jamʾ  [d͡ʒæmʔ]  แจมอ์  ฝูงชน
صرع  arʿ, sarʾ  [særʔ]  แซร์  ลมชัก
 غ  ġ, q  เมื่ออยู่ต้นคำหรือวลี เมื่อตามหลังพยัญชนะ
 นาสิก หรือเมื่อซ้ำเสียงต่อเนื่อง
 ɢ[5]  ก غژگاو  ġažgāv, qažgāv  [ɢæʒɡɒːv]  แฌกอฟ  จามรี
غژب  ġožb, qožb  [ɢoʒb]  โฌบ์  องุ่น
 เมื่ออยู่ในตำแหน่งอื่น ๆ  ɣ[5]  ฆ زاغی  zāġī, zāqi  [zɒːɣiː]  ซอฆี  นกสาลิกา
فروغ  forūġ, foruq  [foruːɣ]  โฟรู  ความสว่าง
 ف  f
 f  ฟ فلفل  felfel  [felfel]  เลเ  พริก
نفت  naft  [næft]  แนต์  น้ำมัน, ปิโตรเลียม
 ق  q  เมื่ออยู่ต้นคำหรือวลี เมื่อตามหลังพยัญชนะ
 นาสิก หรือเมื่อซ้ำเสียงต่อเนื่อง
 ɢ[5]  ก قایق  qāyeq  [ɢɒːjeɣ]  อเยฆ  เรือ
نقاشی  naqqāšī, naqqāši  [næɢːɒːʃiː]  แนกกอชี  จิตรกรรม
 เมื่ออยู่ในตำแหน่งอื่น ๆ  ɣ[5]  ฆ حقیقت  aqīqat, haqiqat  [hæɣɣæt]  แฮฆี  ข้อเท็จจริง
زقاق  zoqāq  [zoɣɒːɣ]  โซ  ถนน
 ک  k  เมื่ออยู่ต้นพยางค์    ค کوشک  kūšk, kušk  [uːʃk]  คูชก์  วัง, คฤหาสน์
 เมื่ออยู่ท้ายพยางค์  k  ก کمک  komak  [kʰomæk]  โคแม  ความช่วยเหลือ
 گ  g
 ɡ  ก گوزن  gavazn  [ɡævæzn]  แแวซน์  กวาง
گرگ  gorg  [ɡorɡ]  โร์  หมาป่า
 ل  l
 l  ล لاله  lāle  [lɒːle]  อเ  ทิวลิป
لعل  laʿl, laʾl  [læʔl]  แล์  รัตนชาติสีแดง
 م  m
 m[# 3]  ม مخمل  mamal, maxmal  [mæxmæl]  แฆแ  กำมะหยี่
ختم  atm, xatm  [xætm]  แฆตม์  เสร็จสมบูรณ์
 ن  n  โดยทั่วไป  n  น نشان  nešān  [neʃɒːn]  เชอ  เครื่องหมาย, เป้าหมาย
نیرومند  nīrūmand, nirumand  [niːruːmænd]  นีรูแมด์  แข็งแรง, มีพลัง
 เมื่อนำหน้าพยัญชนะริมฝีปาก เช่น ب (b)  m  ม پنبه  panbe  [pʰæmbe]  แพเบ  ฝ้าย
دوشنبه  došanbe  [doʃæmbe]  โดแชเบ  วันจันทร์
 เมื่อนำหน้าพยัญชนะเพดานอ่อน
 เช่น ک (k), گ (g)
 ŋ  ง کنکور  konkūr, konkur  [kʰoŋkʰuːr]  โคคูร์  การสอบเข้ามหาวิทยาลัย
سخنگو  soangū, soxangu  [soxæŋɡuː]  โซแฆกู  โฆษก
 เมื่อนำหน้าพยัญชนะลิ้นไก่ เช่น ق (q)  ŋ̠[5]  ง منقار  menqār  [meŋ̠ɢɒːr]  เมกอร์  จะงอยปากนก
 و  v
 v  ว (เมื่ออยู่ต้นพยางค์) ولایت  velāyat  [velɒːjæt]  เลอแยต  จังหวัด
 ฟ (เมื่ออยู่ท้ายพยางค์) تذرو  taarv, tazarv  [tʰæzærv]  แทแซร์  ไก่ฟ้า
 ه  h[# 4]
 h  ฮ هزینه  hazīne, hazine  [hæziːne]  แซีเน  ค่าใช้จ่าย
هیزم  hīzom, hizom  [hiːzom]  ฮีโซม  ฟืน
دانشگاه  dānešgāh  [dɒːneʃɡɒːh]  ดอเนชกอฮ์  มหาวิทยาลัย
 ی  y
 j  ย یواش  yavāš  [jævɒːʃ]  แวอช  ช้า
ثریا  s̱orayyā, sorayyā  [soræɒː]  โซแรย์ย  กระจุกดาวลูกไก่
پایمال  pāymāl  [pʰɒːjmɒːl]  พอมอล  ที่ถูกเหยียบย่ำ
جویبار  ǧūybār, juybār  [d͡ʒuːjbɒːr]  จูบอร์  ธารน้ำ
หมายเหตุ
  1. 1.0 1.1 ไม่นิยมถอดเสียงพยัญชนะ أ (ʾ) และ ع (ʿ, ʾ) เป็นอักษรโรมันเมื่ออยู่ต้นคำ
  2. หน่วยเสียง /r/ มีการแปรระหว่าง [r] [ɾ] และ [ɹ] แต่เนื่องจากไม่มีผลต่อการทับศัพท์ จึงไม่ได้แจกแจงไว้ในที่นี้
  3. หน่วยเสียง /m/ มีหน่วยเสียงย่อย 3 หน่วยเสียง ได้แก่ [m] [m̥] และ [ɱ] แต่เนื่องจากไม่มีผลต่อการทับศัพท์ จึงไม่ได้แจกแจงไว้ในที่นี้
  4. พยัญชนะ ه (h) เมื่อตามหลังสระ ـِ (e) และอยู่ท้ายคำจะไม่ออกเสียง จึงไม่นิยมถอดพยัญชนะ ه ในตำแหน่งดังกล่าวเป็นอักษรโรมัน

ตารางเทียบเสียงสระ

[แก้]
อักษรเปอร์เซีย[# 1] อักษรโรมัน เสียง อักษรไทย ตัวอย่าง
อักษรเปอร์เซีย อักษรโรมัน คำอ่าน คำทับศัพท์ ความหมาย
 ـَ  a  æ  แ– برادر  barādar  [bærɒːdær]  บรอดร์  พี่ชาย, น้องชาย
قلم  qalam  ælæm]  ลม  ปากกา
ضعف  żaʿf, zaʾf  [zæʔf]  ซอฟ์  ความอ่อนแอ
 ىٰآـَا  ā  ɒː~ɒ  –อ واژگان  vāžegān  [vɒːʒeɡɒːn]  วเฌก  วงศัพท์
کارزار  kārzār  [kʰɒːrzɒːr]  คร์ซร์  สนามรบ
آشتی  āštī, āšti  ɒːʃtʰiː]  อชที  สันติ
 ـِ,
 ـِه (เมื่ออยู่ท้ายคำ)
 e  e  เ– الیکا  Elīkā, Elikā  eliːkʰɒː]  อลีคอ  ชื่อบุคคล
خرس  ers, xers  [xers]  ฆร์ส  หมี
هزینه  hazīne, hazine  [hæziːne]  แฮซี  ค่าใช้จ่าย
 ـِیـِیـ  ī, i  ~i  –ี بیرونی  bīrūnī, biruni  [bruːn]  บีรูนี  ภายนอก, รอบนอก
هیچ  hīč, hič  [ht͡ʃ]  ฮี  เล็กน้อย
تیر  tīr, tir  [tʰr]  ทีร์  ลูกศร, ลูกดอก
 ـُوـُ  o  o  โ– عبید  Obayd, Obeyd  obejd]  อเบย์ด  ชื่อบุคคล
گل  gol  ol]  กล  ดอกไม้, ดอกกุหลาบ
بزرگ  bozorg  [bozorɡ]  ซร์ก  ใหญ่
 ـُو  ū, u  ~u  –ู کوتاه  kūtāh, kutāh  [kʰtʰɒːh]  คูทอฮ์  สั้น, เตี้ย
خوب  ūb, xub  [xb]  ฆู  ดี
شاپور  Šāpūr, Šāpur  [ʃɒːpʰuːr]  ชอพูร์  ชื่อบุคคล
 ـِیْ  ay, ey  ej  เ–ย์ (โดยทั่วไป) ایوان  ayvān, eyvān  ejvɒːn]  ย์วอน  มุข, เฉลียงลอย
حسین  osayn, Hoseyn  [hosejn]  โฮย์  ชื่อบุคคล
 เ– (เมื่อนำหน้า ร) خیر  naayr, naxeyr  [næxejr]  แนฆร์  ไม่
 ـُوْ  aw, ow  ow  โ–ว์ (เมื่อเป็นพยางค์เปิด) دولت  dawlat, dowlat  [dowlæt]  ว์แลต  รัฐ, รัฐบาล
 โ–ว (เมื่อเป็นพยางค์ปิด) اُوج  awǧ, owj  owd͡ʒ]  จ์  ยอด, ปลาย
چطور  čeawr, četowr  [t͡ʃetʰowr]  เชร์  อย่างไร
หมายเหตุ
  1. ตัวเขียนอักษรเปอร์เซียโดยทั่วไปไม่แสดงเครื่องหมายที่บ่งชี้ "สระสั้น" (ได้แก่ ـِ ـَ และ ـُ)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Writing System". Persian Online – Grammar & Resources. University of Texas at Austin College of Liberal Arts. 2007. สืบค้นเมื่อ 9 February 2021.
  2. Pedersen, Thomas T. (2005). "Persian (Farsi)" (PDF). Transliteration of Non-Roman Scripts. สืบค้นเมื่อ 9 February 2021.
  3. "Persian" (PDF). Report on the current status of the United Nations romanization systems for geographical names. United Nations Group of Experts on Geographical Names. 2013. สืบค้นเมื่อ 9 February 2021.
  4. Toosarvandani, Maziar Doustdar (2004). "Vowel Length in Modern Farsi". Journal of the Royal Asiatic Society. 14 (3): 242.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Majidi, Mohammad-Reza; Ternes, Elmar (2007) [1999]. "Persian (Farsi)". Handbook of the International Phonetic Association: A guide to the use of the International Phonetic Alphabet. Cambridge: Cambridge University Press. p. 125.
  6. Mahootian, Shahrzad; Gebhardt, Lewis (1997). Persian. London: Routledge. p. 287.