ข้ามไปเนื้อหา

วาโย อัศวรุ่งเรือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วาโย อัศวรุ่งเรือง
วาโยใน พ.ศ. 2566
ประธานคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม [a]
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 สิงหาคม พ.ศ. 2567
(0 ปี 113 วัน)
ก่อนหน้าฐากร ตัณฑสิทธิ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 262 วัน)
รองหัวหน้าพรรคประชาชน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
22 กันยายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 80 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 ธันวาคม พ.ศ. 2530 (36 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาชน (2567–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
อนาคตใหม่ (2561–2563)
ก้าวไกล (2563–2567)
คู่สมรสเกวลิน พูลภีไกร (สมรส 2564)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล (พ.บ.)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง (น.บ.)
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (วท.ม.)
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (น.ม.)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (บธ.ม.)
อาชีพ
  • แพทย์
  • นักร้อง
  • นักแสดง
  • นักการเมือง

นายแพทย์ วาโย อัศวรุ่งเรือง (เกิด 27 ธันวาคม พ.ศ. 2530) ชื่อเล่น เก่ง เป็นแพทย์และนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อรวมทั้งรองหัวหน้าพรรคประชาชนฝ่ายกฎหมาย เป็นประธานคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมอีกทั้งยังเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำเพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย และประธานคณะอนุกรรมาธิการเพื่อการติดตามพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 อดีตสังกัดพรรคอนาคตใหม่และพรรคก้าวไกล

ประวัติ

[แก้]

วาโยเกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร ในระดับประถมศึกษาจบจาก โรงเรียนเซนต์ดอมินิก รุ่นที่ 36 ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจบจาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า รุ่น 17 มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่น 66 (โควต้านักดนตรี) [1] ในระดับอุดมศึกษา วาโยสำเร็จการศึกษาหลายหลักสูตร ได้แก่ แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง (วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก) มหาวิทยาลัยมหิดล[2]

เมื่อปี 2552 วาโยเข้าประกวดรายการเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 6 โดยเป็นตัวแทนจากภาคกลาง และผ่านเข้ารอบเป็น 8 คนสุดท้าย แต่ออกจากการแข่งขันในสัปดาห์แรก จบอันดับที่ 8[3] ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ น.ส.เกวลิน พูลภีไกร (เกรซ The Star 11)

งานการเมือง

[แก้]

วาโยเข้าสู่การเมืองครั้งแรกโดยร่วมงานกับพรรคอนาคตใหม่ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองโฆษกพรรคเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม[4] จากนั้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พรรคอนาคตใหม่ได้ประกาศรายชื่อ ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรค โดยวาโยเป็นผู้สมัครลำดับที่ 28[5] ภายหลังการการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคอนาคตใหม่ได้รับการจัดสรร ส.ส.บัญชีรายชื่อ 50 ที่นั่ง วาโยได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 แบบบัญชีรายชื่อ[6] ต่อมา 24 มิถุนายน พ.ศ.2562 วาโยในฐานะในฐานะรองโฆษกพรรคอนาคตใหม่ ได้แถลงผลงานการทำงานของพรรคในรอบ 1 สัปดาห์ อีกทั้งประเด็นที่ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค แสดงวิสัยทัศน์ ภารกิจหลักที่ประเทศไทยควรจะผลักดันในฐานะประธานอาเซียน คือ สร้างความร่วมมือที่เข้มแข็ง เพื่อรักษาสมดุลระหว่างมหาอำนาจและเสถียรภาพของประชาคมอาเซียน และรักษาผลประโยชน์ของประชาชนไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จึงจะถือเป็นการพัฒนาที่ประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง และหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ยังแสดงความกังวลเรื่องของหน่วยงานที่สังเกตการเลือกตั้งที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก หรืออัลเฟรล ประเมินว่าการเลือกตั้งและรัฐบาลใหม่ค่อนข้างไม่มีความชอบธรรม ขาดเสถียรภาพ และค���ะกรรมการการเลือกตั้งในฐานะองค์กรอิสระไม่มีความเป็นกลาง รวมทั้งสื่อต่างประเทศยังเรียกผู้นำของประเทศไทยว่าผู้นำรัฐบาลทหาร ส่วนประเด็นการทำงานคู่ขนานเชื่อมโยงกับประชาชนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา วาโยกล่าวว่า หัวหน้าพรรคและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคในจังหวัดทางภาคเหนือ พบปัญหาทั้งเรื่องปัญหาหมอกควัน, การท่องเที่ยวในพื้นที่ และการจัดการขยะ รวมถึงได้รับคำร้องเรียนจากประชาชนเรื่องที่รัฐบาลให้สัมปทานกับเอกชนเข้าทำเหมืองดีบุกใกล้แหล่งต้นน้ำของชาวบ้านด้วย และยังมีปัญหาอื่นๆ ที่ประชาชนเดือดร้อน โดยก่อนหน้านี้ไม่มีการพูดคุยรับฟังความคิดเห็นกับประชาชน ซึ่งปัญหาทั้งหมดจะนำเข้าสู่การทำงานในรัฐสภาต่อไป ส่วนที่กลุ่มภาคประชาชนไปยื่นหนังสือที่สภาผู้แทนราษฎรในการรณรงค์ “ปลดอาวุธ คสช.” ให้มีการยกเลิกประกาศและคำสั่งต่างๆ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติผ่านร่างพระราชบัญญัติแก้ไข ทบทวน ยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของพรรคที่หาเสียงมาตั้งแต่ต้น เพราะกฎหมายดังกล่าวขัดต่อสิทธิมนุษยชนและขัดกับหลักนิติรัฐ ทางพรรคจะผลักดันเสนอญัตติให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในสัปดาห์หน้า พร้อมยื่นญัตติเพื่อตั้งกระทู้ถามในประเด็นสำคัญต่างๆ อาทิ การลอบทำร้ายนักกิจกรรม, การฟื้นฟูผิวถนนจากการก่อสร้างรถไฟฟ้า และกรณีนมโรงเรียน สำหรับเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนญ มี 2 มาตราสำคัญที่พรรคอนาคตใหม่ผลักดันให้แก้ไข คือ มาตรา 279 ที่รับรองการกระทำของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้งหมด และมาตรา 272 ที่ให้อำนาจแก่สมาชิกวุฒิสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรี ได้ในอีก 5 ปีข้างหน้า[7] และเขาได้ทำหน้าที่จนกระทั่งมีคำตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ และยังติดตาม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มายังพรรคก้าวไกล โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์มาตรการโควิดของรัฐบาลโดยเฉพาะความรู้เรื่องหน้ากากอนามัยแบบผ้าที่รัฐฯไม่ได้อธิบายแก่ประชาชนให้ชัดเจนจนเกิดความนิยมในตัวหมอวาโยว่ามีความสามารถ โดยเฉพาะการแนะนำ และอธิบายสิ่งต่างๆแก่ประชาชนได้อย่างชัดเจน อีกทั้งในปีพ.ศ.2567 หมอวาโยได้กลับมามีบทบาทที่เป็นที่จับตามองอีกครั้งในการอภิปรายการแก้ปัญหาเรื่องปลาหมอคางดำ

ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

[แก้]
  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่พรรคก้าวไกล
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกลพรรคประชาชน (พ.ศ. 2567)

ผลงานในวงการบันเทิง

[แก้]

ละคร/ซิตคอม

[แก้]
ปี เรื่อง บทบาท
2554 บ้านนี้มีรัก หมอโอ (รับเชิญ)
คนเถื่อน สรวิทย์
2556 แผนรักแผนร้าย หมอวิชาญ
สุดสายป่าน ทวิช
2557 เล่ห์นางฟ้า รอน(รับเชิญ)
สงครามนางงาม ทัศนา บูรพา (หมอทัช)
2558 ผู้กองเจ้าเสน่ห์ โก้(รับเชิญ)
จุดนัดฝัน บูม
2559 เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์ แพทย์เจ้าของไข้มุกดา
2560 รักชั้นนัย นัท
แต่ปางก่อน อภัย
เธอคือพรหมลิขิต หมอแผนกสูติ-นารีเวชที่โรงพยาบาลเกาะสีชัง(รับเชิญ)
2561 กาหลมหรทึก หมอสมิต

เพลง

[แก้]
  • เพื่อดาวดวงนั้น - The Star 6
  • ยังไงก็รัก - The Star 6
  • ปากเก่ง
  • รักของฉันนั้นคือเธอ - รวม The Star 1 - 10
  • ไม่หลง...คงไม่ได้ - หมอเก่ง วาโย

พิธีกร

[แก้]
  • รายการ Entertainment Update
  • รายการ Dawn of Gaia

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""Triam Talk 2018" หมอเก่ง นพ. วาโย อัศวรุ่งเรือง (คลิปเต็ม)". youtube.com. youtube. 2019-09-29. สืบค้นเมื่อ 2018-02-01.
  2. "โปรไฟล์ หมอเก่ง จาก "เดอะสตาร์" รักเรียนสู่ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์อนาคตใหม่". thairath.co.th. Thairath. 2019-03-25. สืบค้นเมื่อ 2019-08-26.
  3. "เศร้า-ซึม-ซึ้ง เก่งอำลาเวที The Star คนแรก!!". music.thaiza.com. Thaiza. 2010-03-15. สืบค้นเมื่อ 2019-08-26.
  4. "อนาคตใหม่เปิดตัว 'หมอเก่ง เดอะสตาร์' รับตำแหน่งรองโฆษกพรรค เตรียมลงชิง ส.ส. เขต กทม". thestandard.co. The Standard. 2018-12-20. สืบค้นเมื่อ 2019-07-26.
  5. "เผยรายชื่อ ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่". thairath.co.th. Thairath. 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-08-26.
  6. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 2019-05-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-08-26.
  7. "อนาคตใหม่ แถลงผลงานรอบ 1 สัปดาห์ เดินสายรับฟังปัญหาก่อนนำเข้าสภา". thairath.co.th. Thairath. 2024-11-28. สืบค้นเมื่อ 2019-06-24.
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน