ข้ามไปเนื้อหา

วาสตุศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนผังการสร้างยอดหอคอยตามวาสตุศาสตร์ ดังที่ที่พบในการสร้างหอโคปุรัม ศิขร วิมาน

วาสตุศาสตร์ (สันสกฤต: वास्तुशास्त्र Vāstu śāstra) หรือ วัสดุศาสตร์ หมายถึงระบบการวางแผนทางสถาปัตยกรรมแบบฮินดู[1] ซึ่งแปลตรงตัวว่า "ศาสตร์แห่งสถาปัตยกรรม" วาสตุศาสตร์เป็นเอกสารที่พบในอนุทวีปอินเดียอันอธิบายถึงหลักในการออกแบบ โครงสร้าง การจัดวางองค์ประกอบ การเตรียมพื้นที่ การจัดแบ่งพื้นที่โล่ง และ เรขาคณิตเชิงพื้นที่[2] วาสตุศาสตร์พบทั่วไปในคติของศาสนาฮินดู แต่ก็พบในศาสนาพุทธเช่นกัน[3] เป้าหมายในการออกแบบแบบวาสตุศาสตร์คือการผสมผสานสถาปัตยกรรมเข้ากับธรรมชาติ การใช้���านที่เชื่อมโยงกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ และการใช้แบบแผนเรขาคณิตแบบโบราณ (ยันตร์ [en]) หรือมณฑลมาผสมผสาน

วาสตุศาสตร์เป็นส่วนเอกสารของ วาสตุวิทยา (Vastu Vidya) ซึ่งเป็นแขนงความรู้อย่างกว้างที่เกี่ยวกับการออกแบบ ศิลปะ อันเป็นทฤษฎีที่สืบทอดมาแต่อินเดียโบราณ[4] วาสตุวิทยาจึงเป็นศาสตร์ที่กว้างและมีหลักการที่ซับซ้อน อันผสมผสานพลังทางธรรมชาติและเหนือธรรมชาติ เข้ากับสิ่งก่อสร้างและเทวรูป ไปจนถึงศิลปกรรมที่ใช้ตกแต่ง ส่วนแปลนที่ใช้ในการสร้างสิ่งก่อสร้างนั้นจะอ้างจากส่วนของ "วาสตุบุรุษมณฑล" (Vaastu Purusha Mandala)[5]

หลักการของวาสตุศาสตร์นั้นรวมถึงหลักการออกแบบ "มนเทียร" (โบสถ์พราหมณ์)[6] การออกแบบบ้าน คฤหาสน์ เมือง หมู่บ้าน สวน สถานที่ราชการ การวางผังเมือง ไปจนถึงระบบการคมนาคม เช่น ระบบถนน และ ระบบการประปา[7][8]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Quack, Johannes (2012). Disenchanting India: Organized Rationalism and Criticism of Religion in India. Oxford University Press. p. 119. ISBN 9780199812608. สืบค้นเมื่อ 17 August 2015.
  2. "GOLDEN PRINCIPLES OF VASTU SHASTRA Vastukarta". www.vastukarta.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-05. สืบค้นเมื่อ 2016-05-08.
  3. Kumar, Vijaya (2002). Vastushastra. New Dawn/Sterling. p. 5. ISBN 978-81-207-2199-9.
  4. Vibhuti Sachdev, Giles Tillotson (2004). Building Jaipur: The Making of an Indian City. p. 147. ISBN 978-1861891372.
  5. Thapar, Bindia. Introduction to Indian Architecture (ภาษาอังกฤษ). Singapore: Periplus. ISBN 0-7946-0011-5. สืบค้นเมื่อ 20 March 2019.
  6. George Michell (1988), The Hindu Temple: An Introduction to Its Meaning and Forms, University of Chicago Press, ISBN 978-0226532301, หน้า 21–22
  7. GD Vasudev (2001), Vastu, Motilal Banarsidas, ISBN 81-208-1605-6, pp 74–92
  8. Sherri Silverman (2007), Vastu: Transcendental Home Design in Harmony with Nature, Gibbs Smith, Utah, ISBN 978-1423601326

อ่านเพิ่ม

[แก้]