ข้ามไปเนื้อหา

วัลเทอร์ เชลเลินแบร์ค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัลเทอร์ เชลเลินแบร์ค
เกิด16 มกราคม ค.ศ. 1910
ซาร์บรึคเคิน, ปรัสเซีย, จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต31 มีนาคม ค.ศ. 1952(1952-03-31) (42 ปี)
ตูริน, ประเทศอิตาลี
รับใช้ ไรช์เยอรมัน
แผนก/สังกัด ชุทซ์ชตัฟเฟิล
ประจำการค.ศ. 1933–1945
ชั้นยศนายกลุ่มตรี (Brigadeführer)
หน่วยทบวงอำนวยความปลอดภัย (SD)
บำเหน็จกางเขนเหล็กชั้นหนึ่ง
กางเขนวีรกรรมสงครามชั้นหนึ่งคาดดาบ

วัลเทอร์ ฟรีดริช เชลเลินแบร์ค (เยอรมัน: Walter Friedrich Schellenberg) เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยชุทซ์ชตัฟเฟิลของนาซีเยอรมนี และเป็นหนึ่งในบุคลากรระดับสูงสุดในทบวงอำนวยความปลอดภัย (SD) และยังมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าโดยพฤติการณ์ของฝ่ายข่าวกรองนอกแผ่นดินไรช์ภายหลังยุบหน่วยข่าวกรองอับแวร์ในปี ค.ศ. 1944

เดิมเขาเป็นสายลับสังกัดสำนักอำนวยความปลอดภัย (SD) ภายใต้การบังคับบั��ชาของไรน์ฮาร์ท ไฮดริช[1] จากการที่เขาพูดอังกฤษและฝรั่งเศสได้อย่างคล่องแคล่วทำให้ไฮดริชมักจะมอบหมายงานข่าวกรองต่างประเทศให้เขาเสมอ และกลายเป็นมือขวาของไฮดริช นอกจากนี้ ในปี 1941 เมื่อเอ็สเอ็สต้องการขยายพื้นที่ปฏิบัติการของหน่วยไอน์ซัทซ์กรุพเพิน ในแนวรบด้านตะวันออก เชลเลินแบร์คก็เป็นคนที่ไปคุยกับกองทัพเพื่อขอการสนับสนุนด้านการลำเลียง ซึ่งทำให้ไอน์ซัทซ์กรุพเพินสามารถสังหารหมู่ชาวยิวได้โดยรวดเร็วยิ่งขึ้น[2]

แม้เชลเลินแบร์คจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของไฮดริชโดยตรง เชลเลินแบร์คผู้ชาญฉลาดเลือกที่จะส่งรายงานการข่าวกรองให้แก่ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ ผู้นำสูงสุดเอ็สเอ็ส ก่อนส่งไปให้ไฮดริช ซึ่งทำให้เขาเริ่มได้รับความไว้วางใจจากฮิมเลอร์ และหลังจากที่ไฮดริชเสียชีวิตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1942 เชลเลินแบร์คก็กลายเป็นบุคคลใกล้ชิดและผู้ได้รับความไว้วางใจที่สุดของฮิมเลอร์[3] ถึงขนาดที่ฮิมเลอร์แต่งตั้งเชลเลินแบร์คเป็นผู้มีอำนาจแทนเป็นการพิเศษ (Sonderbevollmächtigter)[4] เขาได้รับยศนายกลุ่มตรี (เทียบเท่าพลจัตวา) ในปี 1944 ขณะมีอายุเพียง 34 ปี

หลังสงคราม เชลเลินแบร์คถูกจับกุมโดยกำลังสารวัตรทหารอังกฤษและถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดีที่เมืองเนือร์นแบร์ค เขาถูกตัดสินเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1949 ต้องโทษจำคุกเป็นเวลา 6 ปีฐานเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดการสังหารเชลยชาวโซเวียต ซึ่งนาซีได้ว่าจ้างเชลยโซเวียตเหล่านี้ให้ทำปฏิบัติการเซฟเพลิง (Operation Zeppelin) อันเป็นปฏิบัติการลอบสังหารโจเซฟ สตาลินแต่ล้มเหลว

อ้างอิง

[แก้]
  1. Weale 2012, p. 141.
  2. Rhodes 2003, p. 15.
  3. Weale 2012, p. 398.
  4. Doerries 2003, p. 29.