ข้ามไปเนื้อหา

วัฒนา เซ่งไพเราะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัฒนา เซ่งไพเราะ
โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
15 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 (67 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังธรรม (2529–2532)
ประชาธิปัตย์ (2532–2543)
ไทยรักไทย (2543–2549)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
คู่สมรสตรีรัตน์ เซ่งไพเราะ

วัฒนา เซ่งไพเราะ (เกิด 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และอดีตโฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร

การศึกษา

[แก้]
  • นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปีการศึกษา 2522
  • เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ปี2525
  • ปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต พัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารการเมือง) มหาวิทยาลัยเกริก
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน รุ่นที่1 สถาบันพระปกเกล้า
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่1 สถาบันพระปกเกล้า
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่นที่2 คณะกรรมการการเลือกตั้ง[1]

บทบาททางการเมือง

[แก้]

วัฒนา เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกพรรคพลังธรรม ในปี พ.ศ. 2529 และต่อมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยเขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 เขต 4 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ได้รับไปเพียง 11,293 คะแนน ไม่ได้รับเลือก[2] จากนั้นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (สุทัศน์ เงินหมื่น) ในปี พ.ศ. 2536 และได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย ส.ส. ของ ดร.สาวิตต์ โพธิวิหค

วัฒนา ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย โดยได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้น ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2548 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 สังกัดพรรคไทยรักไทยเช่นเดิม ต่อมาหลังพรรคไทยรักไทยถูกยุบเขาย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชาชนเช่นเดียวกับสมาชิกพรรคไทยรักไทยส่วนใหญ่ และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2550 แต่พ่ายแพ้ให้กับสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ ถึงอย่างนั้นในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 วัฒนายังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง(สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์)[3] และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (สมชาย วงศ์วัสดิ์)[1] เขาลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2554 แต่พ่ายแพ้ให้กับนายสุทธิเช่นเดิม

วัฒนา ได้เข้ามาทำงานกับสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อีกครั้ง ในฐานะโฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยได้รับการแต่งตั้งในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ติดต่อโฆษก". www.parliament.go.th (ภาษาอังกฤษ).
  2. "ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2535" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-09-26. สืบค้นเมื่อ 2023-09-24.
  3. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง [นายวัฒนา  เซ่งไพเราะ]
  4. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง [นายวัฒนา เซ่งไพเราะ]