ข้ามไปเนื้อหา

ลิขิต เอกมงคล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลิขิต เอกมงคล
ชื่ออื่นลิขิต เอกมงคล
เกิด15 ธันวาคม พ.ศ. 2501 (66 ปี)
ลิขิต ศุกรเสพย์
ไทย จังหวัดอ่างทอง ประเทศไทย
ส่ว���สูง180 เซนติเมตร
อาชีพนายแบบ
นักแสดง
นักการเมือง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2547
ผลงานเด่นโตมร ครั้งเดียวก็เกินพอ (2530)
หฤษฏ์ จำเลยรัก (2531)
ชนะชล แม่เบี้ย (2532)
โยธิน เชลยศักดิ์ (2534)
เชษฐา / พระยาอักษรธำรงค์ ภาพอาถรรพ์ (2535)
เจ้าคุณสีหโยธิน นางทาส (2536)
พ.ต.ต.ใหญ่ สารวัตรใหญ่ (2537)
นาคิม เสราดารัล (2538)
สังกัดสหมงคลฟิล์ม
พูนทรัพย์โปรดักชั่น
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
ThaiFilmDb

ลิขิต เอกมงคล มีนามสกุลเดิมคือ ศุกรเสพย์ (ชื่อเล่น แด็กซ์) เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2501 ที่จังหวัดอ่างทอง อดีตนักแสดงและนายแบบชาวไทย ปัจจุบันได้หันหลังให้กับวงการบันเทิงแล้ว โดยยังมีแฟนคลับที่ติดตามและเฝ้ารอคอยการกลับมาของเขาอยู่เสมอ

ประวัติ

[แก้]

ลิขิต เอกมงคล เป็นชาวอำเภอวิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง เป็นลูกคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน[1] พ่อแม่ส่งมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ เริ่มเรียนที่โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์สารวิทยา บางเขน ตั้งแต่ชั้น ป.4 จนถึงมัธยมต้น ต่อมัธยมปลายที่โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา เดิมทีฝันอยากเป็นตำรวจมุ่งมั่นจนสอบข้อเขียนติดโรงเรียนนายร้อยสามพราน แต่ก็พลาดเพราะตาบอดสี จึงหันเหไปเรียนคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

เส้นทางในวงการบันเทิง เริ่มในปี 2523 จากการเป็นนายแบบ เดินแบบในงานแฟชั่นโชว์ ถ่ายแบบลงนิตยสารและผลงานโฆษณา โดยมีผลงานถ่ายแบบเป็นครั้งแรกลงในนิตยสารดิฉันฉบับที่ 105 ปักษ์แรกกรกฎาคม2524 อีกทั้งยังได้เป็นนายแบบให้ยีนส์ Hara

ในฐานะนายแบบ ลิขิตได้รับรางวัลที่แสดงถึงความสำเร็จในวงการแฟชั่น ด้วยตำแหน่งนายแบบยอดนิยมจากการโหวตของนิตยสารแพรวและแพรวสุดสัปดาห์ในปี 2527 (ไม่ใช่รางวัลหนุ่มสาวแพรว ที่เป็นการประกวดนายแบบนางแบบหน้าใหม่) ต่อมาภายหลังในปี 2532 นิตยสารได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นการประกาศผล 10 ยอดนายแบบ ลิขิตก็ได้รับรางวัลของนิตยสารอีกครั้งในปี 2533

หลังจากเป็นที่รู้จักในฐานะนายแบบที่ได้รับความนิยม ลิขิตเริ่มงานด้านการแสดงช่วงปี 2525 จากบทสมทบในละครช่อง 7 เรื่อง "จดหมายจากเมืองไทย" และเนื่องด้วยเป็นนักแสดงหน้าใหม่จึงได้เข้าเรียนการแสดงเพิ่มเติมกับ ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล ซึ่งท่านได้แนะนำและสนับสนุนให้ไปเทสต์หน้ากล้อง เพื่อเป็นพระเอกใหม่กับสหมงคลฟิลม์ และเมื่อผ่านการทดสอบ ลิขิตตกลงเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงในสังกัดเป็นระยะเวลา 3 ปี

ลิขิต เกิดในวงการบันเทิงด้วยการปลุกปั้นของ คิด สุวรรณศร ในยุค “ปฏิวัติหนังไทยของค่ายสหมงคลฟิล์ม”

ลิขิต ศุกรเสพย์ (อ่าน ศุ-กระ-เสพย์) คือชื่อจริงของเขา มาเปลี่ยนเป็น ลิขิต เอกมงคล คำว่า “เอกมงคล” นั้นมีที่มาดังนี้

“เอก” โดยความหมายก็คือเขาเป็น พระเอกคนเดียวของค่าย ที่หมายมั่นปั้นมือจะทำให้เกิดให้ได้

“มงคล” ก็มาจาก “สหมงคลฟิล์ม” ค่ายหนังที่เต็งหนึ่งคู่แข่งสำคัญของค่าย ไฟว์สตาร์(สมัยนั้น)

ลิขิตเคยมีโอกาสร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง ซุปเปอร์ลูกทุ่ง ในปี 2521 จนกระทั่งในปี 2527 ได้เริ่มรับบทพระเอกอย่างเต็มตัว ประเดิมเรื่องแรกคู่กับ อรพรรณ พานทอง ในภาพยนตร์วัยรุ่น กุ๊กกิ๊ก เรื่อง "ป.ล.ผมรักคุณ" ตามมาด้วยภาพยนตร์ตลก สนุกสนาน เรื่อง "เฮฮาเมียนาวี" และเรื่องที่ 3 ภาพยนตร์ชีวิตโศกนาฏกรรม ของ ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล เรื่อง "เพลิงพิศวาส" ในบทพระเอกผู้หล่อเหลา ดุดัน แต่เปราะบาง อ่อนไหว ซึ่งได้สร้างชื่อให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และได้รับความนิยมขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ผลิตภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ มองเห็นถึงแนวทางในการแสดง ภาพลักษณ์ของผู้ชายที่มีความหล่อเหลา มาดแมน เข้มแข็ง มีเสน่ห์ทางเพศ

และในยุคเฟื่องฟูของละครเวที ในปี 2529 ได้มีผลงานแสดงเรื่อง เทพธิดาบาร์ 21 โดยการกำกับของ ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล แสดงคู่กับ วันทิพย์ ภวภูตานนท์ และอีกครั้งในปี 2531 เรื่อง แม่เบี้ย แสดงคู่กับ กาญจนา จินดาวัฒน์

ลิขิตโลดแล่นในวงการบันเทิง มีผลงานทั้งงานถ่ายแบบ งานภาพยนตร์ และงานละคร แต่อีกสิ่งที่ลิขิตให้ความสนใจคือ เรื่องการเมือง ทำให้เมื่อมีโอกาสและจังหวะทางการเมือง ก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง สจ.อ่างทอง ในปี 2528-2532

ลิขิตมีผลงานการแสดงภาพยนตร์อย่างต่อเนื่อง นับจากเรื่องแรกในปี 2521 จนถึงปี 2538 รวมทั้งสิ้น 50 กว่าเรื่อง และมีผลงานเด่นหลายเรื่อง เช่น ช่างมันฉันไม่แคร์, แม่เบี้ย, ทอง 3 ทั้งนี้ ลิขิตได้รับรางวัลทางการแสดงภาพยนตร์ถึง 2 ครั้ง ในฐานะดารานำชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง "ครั้งเดียวก็เกินพอ" ปี 2530 และเรื่อง "ขยี้" ปี 2534 ซึ่งรับร่วมกับ สามารถ พยัคฆ์อรุณ นับเป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ที่ดารานำชายมี 2 คนและจากเรื่องเดียวกัน แต่เรื่องนี้ประสบปัญหาในการถ่ายทำและการตัดต่อ จึงไม่ได้เข้าฉายในโรง และถึงแม้ว่าในช่วงหลังที่ภาพยนตร์ไทยเริ่มซบเซา ก็ยังคงมีผลงานอยู่ แต่จะออกในแนวหนังบู๊ภูธรเกรดบี

ลิขิตมีผลงานการแสดงละครโทรทัศน์ทั้งหมด 20 เรื่องซึ่งผลงานส่วนใหญ่เป็นละครทางช่อง 7 หลังจากละครเรื่องแรกในปี 2525 ลิขิตได้หวนกลับมารับงานแสดงละครอีกครั้งในปี 2531 โดยรับบทพระเอกเต็มตัวเรื่องแรก คือ จำเลยรัก คู่กับ สาวิตรี สามิภักดิ์ เป็นละครที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีผลงานละครดังอย่างต่อเนื่อง เช่น เชลยศักดิ์ (แสดงคู่กับ จินตหรา สุขพัฒน์ ที่ประเดิมลงเล่นละครเป็นเรื่องแรก), นางทาส, สารวัตรใหญ่, เสราดารัล มีเพียงเรื่องเดียวที่รับแสดงทางช่อง9 คือ ท่าฉลอม ต่อมาบทบาททางการแสดงก็ยุติลงเนื่องจากเป็น งูสวัดใกล้ดวงตา จึงต้องทำการรักษาและศัลยกรรม หลังจากรับเล่นละครเรื่องสุดท้ายในปี 2547 คือ 7 พระกาฬ

และถึงแม้ประสบความสำเร็จในด้านการแสดงมากมาย แต่น้อยครั้งที่จะเห็น ลิขิตออกรายการสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์แบบเต็มรูปแบบ นับจากครั้งแรกในปี 2534 รายการ "สี่ทุ่มสแควร์" ช่วงหลังจากละครเชลยศักดิ์อวสานจบไป อีกครั้งในปี 2551 รายการ "วันวานยังหวานอยู่" กับการย้อนความทรงจำละครนางทาส และในปี 2556 ลิขิตได้ให้สัมภาษณ์ใน รายการเพชรรามา บอกเล่าประสบการณ์ด้านการแสดงและการทำธุรกิจส่วนตัว

ถึงแม้ปัจจุบัน ลิขิตจะหันหลังให้กับวงการบันเทิงแล้วก็ตาม แต่ในฐานะนักแสดงระดับพระเอกยอดนิยมของวงการในช่วงยุค 80 ถึงช่วงกลางยุค 90 ถือเป็นอีกหนึ่งนักแสดงที่ผู้ชมมากมาย คิดถึงและรอคอยให้เขานั้นกลับมารับงานแสดงอีกสักครั้ง

ผลงานละครโทรทัศน์

[แก้]

ผลงานภาพยนตร์

[แก้]


พ.ศ. 2521


พ.ศ. 2526

  • เพื่อนแพง (ผู้ใหญ่ผาด) !!ไม่ได้แสดง


พ.ศ. 2527

  • ป.ล.ผมรักคุณ (แด็ก)
  • เฮฮาเมียนาวี (ผู้การผไท)
  • เพลิงพิศวาส (ธนันท์)


พ.ศ. 2529

  • ช่างมันฉันไม่แคร์ (สมหวัง)
  • สะใภ้ (ถมทวี)


พ.ศ. 2530

  • ฉันรักผัวเขา (มนัสวิน)
  • ฉันผู้ชายนะยะ (อั้น อนากร พิพัฒน์)
  • มันแอบอยู่ในหอ (จอห์น)
  • นางนวล (เทพ)
  • ฟ้าสีทอง (ยอดธง)
  • บาปสวาท (ตราบุญ)


พ.ศ. 2531

  • ครั้งเดียวก็เกินพอ (โตมร)
  • อุบัติโหด (อรรคเดช)
  • เรือมนุษย์ (ดัมพ์)
  • ทายาทคนใหม่ (พิพัฒน์)
  • เหยื่ออารมณ์ (กษิต)
  • ทอง3 (ดอน)
  • ตำนานรักภูพาน (อินตา) (ถ่ายทำไม่เสร็จ/ไม่ได้ฉาย)


พ.ศ. 2532

  • แม่เบี้ย (ชนะชล)
  • รักคืนเรือน (หมอวิทมน)
  • รักเธอเท่าฟ้า (หมอน้ำมนต์)
  • นางฟ้าอีดิน (อมร)
  • ปล้น เช็คบิล (แด๊กซ์)
  • แด่เพื่อนพ้องและตัวกู (เมฆ)
  • กลกามแห่งความรัก (ธง)


พ.ศ. 2533

  • ก่อนจะสิ้นแสงตะวัน (ธงชาติ)
  • หัวใจห้องที่5 (ทำเนียบ)
  • ก้อนหินในดินทราย (อาม)
  • ข้ามฟ้ามาหารัก (สารวัตรนำพล)
  • แม่นาคคืนชีพ (มารุต)
  • ดอกแก้วดำ (พลัง)
  • ดอกฟ้าในมือมาร (ชาคริต)
  • 3อันตราย (ผู้พันมงคล)
  • กว่าจะถึงสวรรค์ (โทน)
  • ข้ามากับปืน (บดินทร์)
  • เพชรพระอุมา (พันโท หม่อมราชวงศ์เชษฐา วราฤทธิ์) (ถ่ายทำไม่เสร็จ/ไม่ได้ฉาย)
  • บ่อเพลิงที่โพธิ์ทะเล (ริมโขง)
  • มายาเพชรฆาต (เพชร)
  • เพลิงอารมณ์ (อนุวัตร)


พ.ศ. 2534

  • ขยี้ (อภิเดช) (ถ่ายทำไม่เสร็จ/ไม่ได้ฉาย)
  • สงครามเมีย (ภาคภูมิ)
  • เลือดเข้าตา (ทิว)
  • ทะนง (ระห่ำสะท้านโลก) (ทะนง)
  • แผนกับดัก (สารวัตรลิขิต)
  • หน่วยรบทมิฬ 1728 (จ่าเดิม)


พ.ศ. 2535

  • สองฝั่งโขง (เรือเอกนาวิน)
  • ยากูซ่า แก๊งค์ค้าคน (สารวัตรเกียรติ)


พ.ศ. 2536

  • สะเหร่อซะไม่เมี๊ย (รักชาติ)
  • ฉีกป่าล่าเดนนรก (เอกลักษณ์) (ถ่ายทำไม่เสร็จ/ไม่ได้ฉาย)
  • อาข่า (สารวัตรลิขิต) (ทีมงานญี่ปุ่น ถ่ายทำและนำไปฉายเป็นซีรีย์ในประเทศญี่ปุ่น)


พ.ศ. 2537

  • นักฆ่าตาปีศาจ (หมวดพิชิต)
  • สยึ๋มกึ๋ย 2 (คะน้า !!รับบทโดย พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง)
  • เสือล่าเสือ (ก้อง กัมปนาท)
  • เหตุเกิด ณ.หมู่บ้านแล้งซ้ำซาก (ถ่ายทำไม่เสร็จ/ไม่ได้ฉาย)


พ.ศ. 2538

  • รำปืนลำเพลิน (ปลัดสายฟ้า)
  • สันติบาลเหล็ก (สารวัตรลิขิต) (ถ่ายทำไม่เสร็จ/ไม่ได้ฉาย) !!ไม่มีเรื่องนี้
  • แม่น้ำไม่ไหลกลับ (ภาพยนตร์ในความร่วมมือกับทีมงานประเทศญี่ปุ่นกับช่อง3)

ผลงานละครเวที

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ผลงานของ ลิขิต เอกมงคล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-09. สืบค้นเมื่อ 2008-03-10.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]