รอเบิร์ต มูกาบี
รอเบิร์ต มูกาบี | |
---|---|
ภาพถ่ายรอเบิร์ต มูกาบีในปี ค.ศ. 2015 | |
ประธานาธิบดีซิมบับเว คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 31 ธันวาคม ค.ศ. 1987 – 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 (29 ปี 325 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | มอร์แกน แชงกิราย (2009–2013) |
รองประธานาธิบดี | Joshua Nkomo (1987–1999) Simon Muzenda (1987–2003) Joseph Msika (1999–2009) Joice Mujuru (2004–2014) John Nkomo (2009–2013) เอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวา (2013-2017) เพเลเกเซลา อึมโพโก (2014-2017) |
ก่อนหน้า | เคนัน บานานา |
ถัดไป | เอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวา |
นายกรัฐมนตรีซิมบับเว คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 18 เมษายน ค.ศ. 1980 – 31 ธันวาคม ค.ศ. 1987 (7 ปี 257 วัน) | |
ประธานาธิบดี | เคนัน บานานา |
รอง | Simon Muzenda |
ก่อนหน้า | Abel Muzorewa (ซิมบับเวโรดีเชีย) |
ถัดไป | มอร์แกน แชงกิราย (2009) |
ผู้นำพรรค ZANU–PF ZANU (1975–1987) | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มีนาคม ค.ศ. 1975 – 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 (42 ปี 246 วัน) | |
ก่อนหน้า | Herbert Chitepo |
ถัดไป | เอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวา |
ประธานสหภาพแอฟริกา คนที่ 13 | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มกราคม ค.ศ. 2015 – 30 มกราคม ค.ศ. 2016 (1 ปี 0 วัน) | |
ก่อนหน้า | มุฮัมมัด อูลด์ อับดุลอะซีซ |
ถัดไป | อีดริส เดบี |
เลขาธิการขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด | |
ดำรงตำแหน่ง 6 กันยายน ค.ศ. 1986 – 7 กันยายน ค.ศ. 1989 (3 ปี 1 วัน) | |
ก่อนหน้า | Zail Singh |
ถัดไป | Janez Drnovšek |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | รอเบิร์ต เกเบรียล มูกาบี 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924 Kutama, เซาเทิร์นโรดีเชีย (ซิมบับเวในปัจจุบัน) |
เสียชีวิต | 6 กันยายน ค.ศ. 2019 (95 ปี) สิงคโปร์ |
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
พรรคการเมือง | National Democratic Party (1960–1961) Zimbabwe African People's Union (1961–1963) Zimbabwe African National Union (1963–1987) Zimbabwe African National Union-Patriotic Front (1987–2017) |
คู่สมรส | Sally Hayfron (1961–1992; เสียชีวิต) Grace Marufu (1996–ปัจจุบัน) |
บุตร | Nhamodzenyika (เสียชีวิต) Bona Robert Peter Bellarmine Chatunga |
การศึกษา | Kutama College |
ศิษย์เก่า | University of Fort Hare University of South Africa University of London |
ลายมือชื่อ | |
รอเบิร์ต เกเบรียล มูกาบี (อังกฤษ: Robert Gabriel Mugabe; 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924 – 6 กันยายน ค.ศ. 2019) เป็นอด��ตประธานาธิบดีซิมบับเว ดำรงตำแหน่งระหว่างปี ค.ศ. 1987–2017 เขาเป็นหนึ่งในผู้นำในสงครามประกาศเอกราชซิมบับเว ในฐานะที่เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปต่อต้านชาวผิวขาว เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี ค.ศ. 1980 โดยก่อนหน้านั้นเคยเป็นผู้นำพรรคสหภาพแห่งชาติแอฟริกาแห่งซิมบับเว-แนวหน้ารักปิตุภูมิมาก่อน
ตำแหน่งประธานาธิบดี
[แก้]มูกาบีเป็นผู้นำที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในเรื่องการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อเข้ารับตำแหน่งใน ค.ศ. 1987 ผลจากการเปลี่ยนนโยบายเป็นสังคมนิยมอย่างกะทันหัน ทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของซิมบับเวลดลงอย่างมาก ประกอบกับการเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง ในปี ค.ศ. 2008 อันเป็นผลเนื่องมาจากมาตราคว่ำบาตรจากนานาชาติ อย่างไรก็ตามจากรายงานของธนาคารโลก ยังมีมุมมองในแง่ดีของพัฒนาการทางสังคมในแง่อัตราการถือครองที่ดินของเกษตรกรรายย่อยที่ขยายตัวขึ้นอย่างมากในช่วงปี ค.ศ. 1980 ถึง ค.ศ. 1990[1]
รัฐประหารในประเทศซิมบับเว ค.ศ. 2017
[แก้]ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ประธานาธิบดีมูกาบีวัย 93 ปี ปลดรองประธานาธิบดีเอ็มเมอร์สัน มนังกากวา หลังการแย่งชิงอำนาจเพื่อเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีระหว่างมนังกากวากับเกรซ มูกาบี ภรรยาของรอเบิร์ต มูกาบี[2] กองทัพซิมบับเวเริ่มก่อการรัฐประหารในวันที่ 14 พฤศจิกายน กักขังมูกาบีไว้ในบ้านพักในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 และประกาศว่าเป็นการกระทำเพื่อจัดการกับอาชญากรรอบตัวมูกาบี[3][4][5]
ในวันที่ 19 พฤศจิกายน มูกาบีถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้นำพรรค ZANU-PF และพรรคได้แต่งตั้งมนังกากวาขึ้นเป็นผู้นำพรรคแทน[6] เกรซ มูกาบีถูกขับออกจากพรรค[7] พรรคขีดเส้นตายให้มูกาบีลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีภายในเที่ยงของวันรุ่งขึ้นหรือไม่ก็จะถูกดำเนินการถอดถอน[8]
หลังเลยกำหนดเส้นตายและรัฐสภาเตรียมดำเนินการถอดถอน ในที่สุดมูกาบีก็ประกาศลาออกในวันที่ 21 พฤศจิกายน[9]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Zimbabwe Achieving Shared Growth" (PDF). World Bank. สืบค้นเมื่อ 28 June 2008.
- ↑ "Grace Mugabe warns of coup plot" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Additional political analysis by Shingai Nyoka of BBC News Harare. BBC News. 6 October 2017. สืบค้นเมื่อ 14 November 2017.
{{cite news}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ CNN, David McKenzie, Brent Swails and Angela Dewan,. "Zimbabwe in turmoil after apparent coup". CNN. สืบค้นเมื่อ 15 November 2017.
{{cite news}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - ↑ "Zimbabwe's Robert Mugabe confined to home as army takes control". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 15 November 2017.
- ↑ "Stunned Zimbabweans face uncertain future without Mugabe". สืบค้นเมื่อ 21 November 2017.
- ↑ "Ruling party sacks Mugabe as leader". BBC. 19 November 2017. สืบค้นเมื่อ 19 November 2017.
- ↑ correspondent, Jason Burke Africa; Graham-Harrison, Emma (20 November 2017). "Chaos in Zimbabwe after Mugabe fails to announce expected resignation". Theguardian.com. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
- ↑ "Robert Mugabe, in Speech to Zimbabwe, Refuses to Say if He Will Resign". The New York Times. 19 November 2017. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
- ↑ "Zimbabwe's President Mugabe 'resigns'" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). BBC News. 21 November 2017. สืบค้นเมื่อ 21 November 2017.