ยุทธการที่ทาลัส
ยุทธการที่ทาลัส | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การพิชิตทรานส์ออกเซียนาโดยมุสลิม | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ จักรวรรดิทิเบต ทหารรับจ้างชาวคาร์ลุก[1] |
จักรวรรดิถัง ทหารรับจ้างชาวคาร์ลุก[2] | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
อัสซัฟฟาห์ แอบูมูสลีม ซิยาด อิบน์ ศอเลียะห์[3] |
เกา เซียนจือ หลี่ ซี่เย่ ต้วน ซิ่วฉือ[3] | ||||||
กำลัง | |||||||
30,000–50,000 นาย[4] | 30,000–50,000 นาย[5] 91,000 นาย[6][7] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ไม่ทราบ | 20,000–50,000 นาย |
ยุทธการที่ทาลัส (จีน: 怛羅斯戰役; พินอิน: Dáluósī Zhànyì; อาหรับ: معركة نهر طلاس, อักษรโรมัน: Maʿrakat nahr Ṭalās; เปอร์เซีย: نبرد طراز, อักษรโรมัน: Nabard-i Tarāz) เป็นการสู้รบระหว่างรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ร่วมมือกับจักรวรรดิทิเบตเข้าต่อกรกับราชวงศ์ถังของจีนสมัยถังเฉวียนจงฮ่องเต้ ยุทธการนี้เกิด ณ เอเชียกลางในปี ค.ศ. 751 สนามรบนี้นักประวัติศาสต์ยังไม่สามารถระบุได้ว่าอยู่ ณ ที่ใดแต่เชื่อว่าอยู่ใกล้พรมแดนประเทศคาซัคสถานและประเทศคีร์กีซสถาน ริมฝั่งเแม่น้ำ Talas ในปัจจุบัน
หลังพิชิตจักรวรรดิแซสซานิดได้ในปี ค.ศ. 651 ราชวงศ์มุสลิมอุมัยยะฮ์ได้แผ่อำนาจเข้ามาในเอเชียกลางและปะทะกับชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม รวมถึงราชวงศ์ถังที่ครอบครองดินแดนในเอเชียกลางเช่นกัน ในปี ค.ศ. 715 จีนส่งทหารไปช่วยกษัตริย์อิคชิดแห่งเฟอร์กานายึดบัลลังก์คืนจากอลูตาร์ กษัตริย์องค์ใหม่ที่ได้รับหนุนจากอุมัยยะฮ์ สองปีต่อมา ทัพอุมัยยะฮ์ถูกทัพจีนตีแตกหลังล้อมเมืองอัคซู ต่อมาในปี ค.ศ. 750 อัส-ซัฟฟะห์แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์โค่นล้มราชวงศ์อุมัยยะฮ์ได้สำเร็จ ก่อนจะส่งทหารไปที่เอเชียกลางเพื่อปกป้องดินแดน[8]
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 751 ทัพอับบาซียะฮ์พบกับทัพราชวงศ์ถังที่ริมฝั่งแม่น้ำทาลัส โดยฝ่ายอับบาซียะฮ์มีกำลังสนับสนุนจากทิเบต ในขณะที่ฝ่ายกองทัพถังนำโดยแม่ทัพ เกาเซียนจื่อ (แม่ทัพกองกำลังอันซี Anxi รักษาดินแดนตะวันตก) มีกองทัพจากเมืองเฟอร์กานาและทหารรับจ้างชาวคาร์ลุครวมกันประมาณ 30,000 นาย (ทัพถัง 10,000 นาย คาร์ลุค 20,000 นาย) แหล่งข้อมูลหลายแหล่งบันทึกถึงกำลังพลที่ต่างกัน โดยบางแหล่งประเมินทัพทั้งสองฝ่ายไว้สูงถึง 100,000 นาย ซึ่งอาจเป็นการกล่าวเกินจริง ทั้งสองฝ่ายตั้งทัพโดยมีพลธนูและพลหอกอยู่ด้านหน้าและมีทหารม้าด้านข้าง ทั้งสองฝ่ายผลัดกันแพ้ชนะเป็นเวลา 3 วัน ก่อนที่วันที่ 4 ทัพจีนแตกพ่ายเนื่องจากถูกทหารชาวคาร์ลุคที่แปรพักตร์โจมตีด้านข้างและถูกทัพอับบาซียะฮ์ตีขนาบจากด้านหน้า[9]
หลังยุทธการนี้ ฝ่ายอับบาซียะฮ์มีโอกาสรุกเข้าเอเชียกลางมากขึ้น ในขณะที่ฝ่ายทัพถังต้องถอยร่นกลับไปที่เมืองโชวสือ (Qiuci) เพื่อเตรียมตัวโต้กลับอีกครั้ง แต่เหตุการไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อส่วนกลางได้เรียกกองกำลังกลับไปเมืองหลวง เพื่อนำกำลังไปรบกับกบฏอันลูชานที่มีต้นกำเนิดในตอนเหนือของจีน การขยายอำนาจในเอเชียกลางของอับบาซียะฮ์ทำให้ราชวงศ์นี้รับวัฒนธรรมและวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตกระดาษจากจีน[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ในช่วงสงครามแปรพักตร์เข้าฝ่ายอับบาซียะฮ์
- ↑ ในช่วงสงครามแปรพักตร์เข้าฝ่ายอับบาซียะฮ์
- ↑ 3.0 3.1 Bai, Shouyi (2003), 中囯回回民族史 (A History of Chinese Muslims, vol. 2, Beijing: Zhonghua Book Company, pp. 224–225, ISBN 7-101-02890-X
- ↑ Hugh Kennedy (17 June 2013). The Armies of the Caliphs: Military and Society in the Early Islamic State. Routledge. pp. 96–99. ISBN 978-1-134-53113-4.
- ↑ Barthold, William (2003), Turkestan down to the Mongol invasion, London: Oxford University Press, p. 196
- ↑ Muhamad Olimat (2013). China and the Middle East: From Silk Road to Arab Spring. Routledge. p. 9. ISBN 978-1-85743-631-0.
- ↑ Graff, David A. (2017). THE REACH OF THE MILITARY: TANG. Journal of Chinese History. 1 (02): 243–268. doi:10.1017/jch.2016.35. ISSN 2059-1632.
- ↑ Szczepanski, Kallie (July 13, 2018). "Battle of Talas River". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- ↑ Putz, Catherine (January 8, 2016). "The Battle That Kept the Chinese Out of Central Asia". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- ↑ Andrews, Stefan (March 6, 2017). "The art of papermaking was first invented by the Chinese Han Dynasty two thousand years ago". The Vintage News. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.