ยี่เข่ง
ยี่เข่ง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Myrtales |
วงศ์: | Lythraceae |
สกุล: | Lagerstroemia |
สปีชีส์: | L. indica |
ชื่อทวินาม | |
Lagerstroemia indica (L.) Pers. |
ยี่เข่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagerstroemia indica) หรือ คำฮ่อ[1] เป็นไม้ประดับในวงศ์ตะแบก ลักษณะเป็นไม้พุ่มผลัดใบ สูงได้ถึง 7 เมตร มีขนประปรายตามกิ่ง ช่อดอกและเส้นแขนงใบด้านล่าง ใบรูปรี รูปไข่กว้างหรือรูปขอบขนาน ยาว 2.5-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมน มีติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่มกว้างหรือกลม เส้นแขนงใบข้างละ 3-7 เส้น ดอกออกเป็นช่อแบบแยกแขนง ยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร ฐานดอกยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงยาว 4-5 มิลลิเมตร กลีบดอกบางและจีบย่น สีขาว ชมพูหรืออมม่วง ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร บานช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม เมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ผลรูปรี ยาว 1-1.2 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก[2][3]
ยี่เข่งมีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นและเขตร้อนในทวีปเอเชีย[4] ใบและดอกใช้ตำพอกรักษาแผล แก้ผดผื่น แก้กลากเกลื้อน[5]
ในวรรณคดี
[แก้]สารภียี่เข่งเบญจมาศ | บุนนาคการเกดลำดวนหอม | |
แถมนางแย้มแกมสุกรมต้นยมโดย | พระพายโชยชื่นใจในไพรวัน | |
— พระอภัยมณี ประพันธ์โดยสุนทรภู่ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "'คำฮ่อ' ใบพอกแผลสด". คมชัดลึก. July 31, 2015. สืบค้นเมื่อ March 13, 2019.
- ↑ สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 365, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
- ↑ "ยี่เข่ง". สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ March 13, 2019.
- ↑ "Lagerstroemia indica". Centre for Agriculture and Bioscience International. สืบค้นเมื่อ March 13, 2019.
- ↑ "'ยี่เข่ง' ดอกแก้แผล-ฝี". คมชัดลึก. July 20, 2015. สืบค้นเมื่อ March 13, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ยี่เข่ง
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Lagerstroemia indica ที่วิกิสปีชีส์