มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-23
หน้าตา
มิก-23 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เครื่องบินขับไล่ |
ชาติกำเนิด | สหภาพโซเวียต |
บริษัทผู้ผลิต | มิโคยัน |
สถานะ | อยู่ในประจำการของต่างชาติ |
ผู้ใช้งานหลัก | กองทัพอากาศโซเวียต กองทัพอากาศรัสเซีย กองทัพอากาศอินเดีย กองทัพอากาศลิเบีย |
จำนวนที่ผลิต | 5,047 ลำ |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | พ.ศ. 2510-2528 |
เริ่มใช้งาน | พ.ศ. 2513 |
เที่ยวบินแรก | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2510 |
ปลดประจำการ | พ.ศ. 2537 (รัสเซีย) |
สายการผลิต | มิโคยัน มิก-27 |
มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-23 (รัสเซีย: Микоян и Гуревич МиГ-23; อังกฤษ: Mikoyan-Gurevich MiG-23, รัสเซีย: Микоян и Гуревич МиГ-23) (นาโต้ใช้ชื่อรหัสว่าฟลอกเกอร์) เป็นเครื่องบินขับไล่ปีกพับได้ที่ออกแบบโดยมิโคยัน-กูเรวิชค์ของสหภาพโซเวียต มันถูกจัดว่าเป็นเครื่องบินรุ่นที่สามของโซเวียตพร้อมกับมิก-25 มันเป็นเครื่องบินขับไล่แบบแรกของโซเวียตที่มีระบบเรดาร์ติดตามเป้าหมายและขีปนาวุธเกินระยะมองเห็น และเป็นผลิตภัณฑ์แรกของมิกที่มีช่องรับลมอยู่ที่ด้านข้างลำตัว การผลิตเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2513 และมีกว่า 5,000 ลำ ในปัจจุบันมิก-23 ยังคงประจำการอย่างจำกัดโดยชาติที่เป็นลูกค้าของโซเวียต
รายละเอียด มิก-23
[แก้]- ผู้สร้าง (โรงงานสร้างอากาศยานแห่งสหภาพโซเวียต) ปัจจุบันคือสำนักงานมิโคยัน-กูเรวิชค์
- ประเภท เจ๊ตขับไล่สกัตกั้นและครองความเป็นจ้าวอากาศ ที่นั่งเดียวเปลี่ยนมุมลู่ปีกได้
- เครื่องยนต์ เทอร์โบแฟน ตูมันสกี้ ให้แรงขับสถิตเครื่องละ 6,500 กิโลกรัม และ 10,500 กิโลกรัม เมื่อใช้สันดาปท้าย 1 เครื่อง
- กางปีก 14.25 เมตร เมื่อกางเต็มที่
- 8.38 เมตร เมื่อลู่ปีกเต็มที่
- ยาว 16.8 เมตร
- พื้นที่ปีก 27.26 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า 8,165 กิโลกรัม
- น้ำหนักวิ่งขึ้นปกติ 15,700 กิโลกรัม
- น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 17,750 กิโลกรัม
- อัตราเร็ว 2.35 มัค (2,500 กม./ชม.) ที่ระยะสูง 12,000 เมตร
- 1.2 มัคที่ระยะสูง 305 เมตร
- รัศมีทำการรบ 725 กิโลเมตร เมื่อปฏิบัติภารกิจสกัดกั้น
- พิสัยบินปกติ 2,250 กิโลเมตร
- พิสัยบินไกลสุด 4,000 กิโลเมตร เมื่อติดตั้งถั้งเชื้อเพลิงภายนอกและบินด้วยความเร็ว .75 มัค
- อาวุธ ปืนใหญ่อากาศลำกล้องคู่ แบบ จีเอสเอช-23 ขนาด 23 มม. 1 กระบอก
- อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ เอเอ-7 อเป็ก (Apex) และ เอเอ-8 อฟิด (Aphid) อย่างละ 2 นัด
อ้างอิง
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ มิโคยัน-กูเรวิชค์ มิก-23
- ↑ อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522