มารี ฟร็องซวซแห่งซาวอย
มารี ฟร็องซวซแห่งซาวอย | |
---|---|
สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลการ์วึ | |
ครั้งที่ 1 | 2 สิงหาคม ค.ศ. 1666 – 24 มีนาคม ค.ศ. 1668 |
ครั้งที่ 2 | 12 กันยายน ค.ศ. 1683 – 27 ธันวาคม ค.ศ. 1683 |
พระราชสมภพ | 21 มิถุนายน ค.ศ. 1646 ณ โฮเต็ล เดอ เนมัวส์ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส |
สวรรคต | 27 ธันวาคม ค.ศ. 1683 ณ ปาลฮาวา ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส (พระชนมายุ 37 พรรษา) |
พระราชส��ามี | พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส พระเจ้าเปดรูที่ 2 แห่งโปรตุเกส |
พระราชบุตร | เจ้าหญิงอิซาเบล ลุยซาแห่งเบย์รา |
ราชวงศ์ | ซาวอย บราแกนซา |
พระราชบิดา | ชาร์ล อาเมดี ดยุกแห่งเนอมัวร์ |
พระราชมารดา | เอลีซาแบ็ตแห่งบูร์บง |
มารี ฟร็องซวซแห่งซาวอย(มารี ฟร็องซวซ เอลีซาแบ็ต; 21 มิถุนายน พ.ศ. 2189 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2226) ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งซาวอยและสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าอัลฟองโซที่ 6 แห่งโปรตุเกสและเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเปโดรที่ 2 แห่งโปรตุเกส
ภูมิหลัง
[แก้]เจ้าหญิงมารี ฟรานซัวส์ เอลิซาเบธ เดอ ซาวอเอีย หรือ เจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอย ประสูติวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2189 เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในชาร์ล อาเมดี ดยุกแห่งเนอมัวร์กับเอลีซาแบ็ตแห่งบูร์บง เจ้าหญิงเป็นพระปนัดดาในพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศสกับพระสนมของพระองค์คือ กาเบรียล เดสเทร่ส์ พระเชษฐภคินีของเจ้าหญิงคือ เจ้าหญิงมารี ณานน์แห่งซาวอย ก่อนอภิเษกสมรสเจ้าหญิงทรงดำรงพระอิศริยยศ "มาดมัวแซล เดอ ออเมล" ซึ่งมาจากชื่อของรัฐดัชชีแห่งออเมลซึ่งเป็นดินแดนของพระราชบิดาของเจ้าหญิง
อภิเษกสมรสครั้งแรกและความขัดแย้งกับพระเจ้าอัลฟองโซที่ 6
[แก้]เนื่องมาฝรั่งเศสต้องการการสนับสนุนจากโปรตุเกสในการคานอำนาจสเปน พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสทรง���ัดการอภิเษกสมรสนี้ขึ้นระหว่างเจ้าหญิงมารี ฟรานซัวส์กับชนชั้นสูงของโปรตุเกส และครองราชบัลลังก์โปรตุเกสซึ่งก็คือ สมเด็จพระเจ้าอัลฟองโซที่ 6 แห่งโปรตุเกส กษัตริย์หนุ่มซึ่งประชวรและพระวรกายซีกซ้ายคล้ายจะเป็นอัมพาต
เจ้าหญิงมารี ฟรานซัวส์เสด็จออกจากท่าลาโรช โดยเรือ"วันโดเม" ฤดูร้อนปีพ.ศ. 2209 เจ้าหญิงมารี ฟรองซัวส์ เอลิซาเบธ เดอ ซาวอเอียเสด็จถึงกรุงลิสบอน เจ้าหญิงทรงปราบปลื้มที่จะได้ดำรงพระอิศริยยศสมเด็จพระราชินี พระนางไม่ทรงเชื่อเสียงเล่าลือที่ว่า ผู้กำลังจะเป็นพระสวามีนั้นทรงอ้วน ทรงไร้สมรรถภาพและสติปัญญาทึบ ฝูงชนได้กรูเข้าไปต้อนรับว่าที่พระราชินีของพวกเขา เจ้าหญิงทรงต้องผิดหวังเพราะพระเจ้าอัลฟองโซไม่ทรงมาต้อนรับพระนางแต่กลับประทับอยู่ในพระราชวัง เนื่องจากไม่ประสงค์ที่จะเข้าพิธีอภิเษกสมรส ซึ่งพระเจ้าอัลฟองโซทรงจำยอมอภิเษกสมรสเพราะว่า ไม่ทรงปรารถนาให้เจ้าชายเปโดร ผู้เป็นพระอนุชาที่เป็นที่รักใคร่ของราษฎรขึ้นมาสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์
พระเจ้าอัลฟองโซทรงพยายามลบเลือนข่าวลือที่ว่า พระองค์ทรงไร้สมรรถภาพโดยการประทับอยู่กับหญิงโสเภณีและทรงแสวงหาเด็กที่ละม้ายคล้ายพระองค์มาอ้างว่าเป็นบุตรนอกสมรสและทรงพาเด็กผู้นั้นเข้าในวงการสังคมด้วย เมื่อเจ้าหญิงเสด็จมาถึง คณะบาทหลวงได้เกลี้ยกล่อมให้พระองค์ไปพบพระพักตร์เจ้าหญิง เมื่อพระเจ้าอัลฟองโซเสด็จมาถึงเรือใหญ่ พระนางจึงเชื่อในคำเล่าลือว่าเป็นจริง พระสวามีในอนาคตทรงอ้วนมาก พระเจ้าอัลฟองโซทรงกลัวการเป็นหวัดมากพระองค์สวมฉลองพระองค์กันหนาวทับกันหลายๆชั้นซึ่งแต่ละชุดไม่เข้ากันเลย และพระเจ้าอัลฟองโซไม่ทรงพอพระทัยว่าที่พระมเหสีของพระองค์
อย่างไรก็ตาม พระราชพิธีอภิเษกสมรสได้ถูกจัดขึ้นในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2209 โดย เจ้าหญิงมารี ฟรองซัวส์ เอลิซาเบธ เดอ ซาวอเอีย ต้องเปลี่ยนพระนามเป็น เจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกา อิซาเบล เดอ ซาวอย และดำรงพระอิศริยยศสมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส หลังการอภิเษกสมรส พระเจ้าอัลฟองโซไม่เสด็จไปพบพระนางเลย พระองค์ทรงปฏิเสธที่จะมอบเงินค่าใช้จ่ายในราชสำนักให้แก่สมเด็จพระราชินีและยังปฏิเสธไม่มอบเงินสินสอดห้าหมื่นฟรังก์ที่ทรงสัญญาว่าจะมอบให้ในวันอภิเษกสมรส จึงมีผู้เห็นว่าพระนางมาเรีย ฟรานซิสกาทรงสะอึกสะอื้นเสียงดังอยู่บ่อยครั้ง พระเจ้าอัลฟองโซแทบไม่เคยย่างพระบาทไปพบพระมเหสีเลยสักครั้ง ขณะที่พระอนุชาเสด็จมาไต่ถามสุขทุกข์หลายครั้ง พระนางมาเรีย ฟรานซิสกาจึงหันมาสนิทสนมกับพระอนุชาของพระสวามีแทน และบางคนกล่าวว่าทรงสนิทสนมมากเกินไป ต่อมาเกิดสงครามฟื้นฟูโปรตุเกสขึ้นอีกครั้ง พระเจ้าอัลฟองโซทรงดำเนินนโยบายผิดพลาดทำให้ความนิยมตกต่ำ
แต่เนื่องจากพระเจ้าอัลฟองโซและพระมเหสียังไม่ทรงมีบุตร ทำให้หลายคนตากถกเถียงเรื่องนี้ ทำให้พระเจ้าอัลฟองโซจำต้องแก้ไขเหตุการณ์นี้ มีรายงานว่าพระองค์จะให้ข้าราชบริพารคนสนิทในที่ประทับของพระองค์มีเพศสัมพันธ์กับพระราชินีแทนพระองค์เอง และถ้าพระนางทรงพระครรภ์ก็จะสามารถกำจัดพระราชอำนาจของพระอนุชาได้ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2210 พระเจ้าอัลฟองโซทรงเชื้อเชิญพระนางมาเรีย ฟรานซิสกามาเยือนที่พระตำหนักในกลางดึก โดยมีข้าราชบริพารคนสนิทสองคนอยู่ด้วย ซึ่งผิดหลักธรรมเนียมโบราณที่ว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชประสงค์ที่จะหลับนอนกับพระมเหสี พระองค์จะต้องเป็นฝ่ายไปประทับที่ตำหนักของพระมเหสี โดยมีเหล่านางสนองพระโอษฐ์อยู่ใกล้ๆ แต่แผนการของพระองค์ต้องล้มเหลวเพราะพระราชินีสงสัยว่าพระสวามีมีแผนการบางอย่างในพระทัย พระนางจึงปฏิเสธที่จะเสด็จไปยังที่ประทับของพระสวามี เป็นเหตุให้พระเจ้าอัลฟองโซทรงกุมดาบ พร้อมพระพักตร์แดงก่ำด้วยความโกรธ พระองค์สาบานว่า หากพระราชินีไม่เสด็จมาด้วยความสมัครใจภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง พระองค์จะเสด็จไปลากพระราชินีมาที่แท่นบรรทมด้วยพระองค์เองหรือไม่ก็มีรับสั่งให้มหาดเล็ก 4 คนไปกุมตัวพระนางมายังที่ประทับ
ในที่สุดพระนางมาเรีย ฟรานซิสกาก็สิ้นความอดทน วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2210 พระนางจึงเสด็จไปประทับที่คอนแวนต์แห่งหนึ่ง และส่งข่าวไปทูลพระเจ้าอัลฟองโซทราบว่าพระนางถือว่าการอภิเษกสมรสถือเป็นโมฆะ เนื่องจากไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศเกินขึ้นหลังจากการอภิเษกสมรสผ่านไป 16 เดือน ทันทีที่พระเจ้าอัลฟองโซทรงได้รับหนังสืบฉบับนั้น พระองค์ก็เสด็จไปคอนแวนต์เพื่อจับกุมพระราชินี แต่เจ้าชายเปโดรพร้อมด้วยทหารได้เสด็จมาและทรงปฏิญาณว่าจะปกป้องพระราชินีทุกวิถีทาง ทำให้พระเจ้าอัลฟองโซจำต้องเสด็จกลับไป ขณะถึงพระราชวังพระองค์ได้ถูกจับกุมเป็นนักโทษและยอมรับในการไต่สวนว่าพระองค์ไร้สมรรถภาพ บิชอปแห่งลิสบอนจึงประกาศให้การอภิเษกสมรสถือเป็นโมฆะ
เมื่อพระราชินีทรงมีหนังสือถึงสภานิติบัญญัติ โดยทรงขอเสด็จกลับภูมิลำเนาพร้อมสินเดิมก่อนอภิเษกสมรส สมาชิกสภาทุกคนได้เดินทางมาและขอร้องไม่ให้พระนางจากแผ่นดินนี้ พวกเขาขอร้องให้พระนางอภิเษกสมรสกับเจ้าชายเปโดรและประทับอยู่ในฐานะพระราชินีของตน ซึ่งทุกคนต่างชื่นชมในความสามารถของพระนางที่กระทำการรัฐประหารด้วยสติปัญญา จากนั้นสมาชิกสภาได้ไปขอร้องให้เจ้าชายเปโดรอภิเษกสมรสกับพระราชินี ซึ่งพระองค์ก็ยินดีแต่ทรงปฏิเสธที่จะครองราชย์ตราบใดที่พระเชษฐายังมีพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์จะทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เท่านั้น พระนางมาเรีย ฟรานซิสกาและเจ้าชายเปโดรได้ก่อรัฐประหารรัฐบาลของลูอิส เดอ วาสคอนเซลอส เคานท์ที่ 3 แห่งคาสเตโล เมลฮอร์ ซึ่งสนับสนุนพระเจ้าอัลฟองโซ
พระเจ้าอัลฟองโซทรงถูกกักกันอย่างสมพระเกียรติ พอพระองค์ทราบว่าการอภิเษกสมรสถือเป็นโมฆะและพระมเหสีอภิเษกสมรสใหม่กับเจ้าชายเปโดร พระองค์ตรัสว่า "อา...ดีแล้ว! ไม่มีอะไรให้สงสัยเลยว่า อีกไม่ช้าน้องชายที่น่าสงสารของข้าจะต้องเสียใจเหมือนกับข้า ที่เกลือกกลั้วกับนังผู้หญิงฝรั่งเศสน่าเบื่อคนนี้"[1]
อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 และสวรรคต
[แก้]พระนางมาเรีย ฟรานซิสกาได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายเปโดรอย่างสมพระทัย โดยที่ยังคงเป็นสตรีที่ทรงอำนาจสูงสุดในโปรตุเกส อีก 9 เดือนหลังอภิเษกสมรสพระนางมีพระประสูติกาลพระราชธิดาหนึ่งพระองค์ในปีพ.ศ. 2212 พระนามว่า เจ้าหญิงอิซาเบล ลุยซาแห่งเบย์รา แม้จะทรงเกษมสำราญแต่พระนางไม่เคยให้อภัยอดีตพระสวามี และทรงเพลิดเพลินกับการประจานอดีตพระสวามีตลอดเวลา พระนางมาเรีย ฟรานซิสกาทรงเขียนจดหมายไปถึงพระขนิษฐาว่า "หลังจากที่พระองค์ดื่มเหล้าจนเมาตามนิสัย ก็ล้มพระเศียรทิ่มอ่างน้ำ หากไม่มีใครมาพบและดึงพระองค์ขึ้นมาก็คงจมน้ำสวรรคตไปแล้ว ถึงจะอยู่เยี่ยงสัตว์เดรัจฉาน พระองค์ก็ยังรอดชีวิตอยู่ได้ เพียงแค่นั้นก็เป็นเหตุผลมากพอที่จะทำให้เราวิตกกังวล และเสี่ยงต่อการถูกศัตรูมุ่งร้าย"[2] ชาวโปรตุเกสหลายคนรู้สึกกังวลไม่ต่างจากพระราชินีมากนัก พวกเขากลัวว่าพระเจ้าอัลฟองโซจะเสด็จหนีออกจากที่คุมขัง และรวบรวมอดีตขุนนางที่จงรักภักดีต่อพระองค์จากนั้นชำระโทษผู้ที่ปลดพระองค์ออกจากบัลลังก์และนำประเทศสู่ความหายนะ
เจ้าชายเปโดรทรงให้พระเชษฐาเสวยสุราอย่างหนัก ดัวยหวังว่าพระเชษฐาจะสวรรคตจากการดื่มสุรา อย่างไรก็ดี วันหนึ่งพระเจ้าอัลฟองโซได้ปฏิญาณว่าจะไม่ทรงแตะต้องเครื่องดื่มมึนเมาอีก สร้างความขุ่นเคืองแก่คณะรัฐบาลมาก เอกอัครราชทูตแห่งซาวอยเขียนเล่าว่า ผู้ตวบคุมพระเจ้าอัลฟองโซที่นับถือคริสต์นิกายเยซูอิต พูดถึงการฟื้นฟูสุขภาพของพระเจ้าอัลฟองโซว่า "เป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างเห็นได้ชัด"[3]
ทว่าสุดท้ายพระเจ้าอัลฟองโซกลับสวรรคตด้วยพระกระยาหารมิใช่สุรา พระองค์มีพระวรกายใหญ่มากขึ้น พระองค์แทบจะเสด็จออกจากพระแท่นไม่ไหว จากรายงานบางฉบับบอกว่า การเสด็จดำเนินกลายเป็นเรื่องทุกข์ทรมาน หลังจากทรงถูกจองจำเป็นเวลา 15 ปี พระองค์ก็สิ้นพระชนม์เดือนกันยายน ปีพ.ศ. 2226 เนื่องจากเส้นพระโลหิตในสมองแตก ขณะมีพระชนมายุ 40 พรรษา
เจ้าชายเปโดรจึงได้ครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าเปโดรที่ 2 แห่งโปรตุเกส และทรงสถาปนาเจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกาเป็นสมเด็จพระราชินี เนื่องจากพระนางทรงมีแต่พระราชธิดาทำให้พระเจาเปโดรทรงเกรงว่าราชวงศ์บราแกนซาจะสูญสิ้น เพราะพระองค์ทรงต้องการรัชทายาทที่เป็นชาย หลังจากที่พระเจ้าอัลฟองโซเสด็จสวรรคตเพียง 4 เดือน พระนางมาเรีย ฟรานซิสกาก็เสด็จสวรรคตในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2226 มีพระชนมายุเพียง 37 พรรษาเท่านั้น พระเจ้าเปโดรที่ 2 ได้อภิเษกสมรสใหม่กับ เจ้าหญิงมาเรีย โซเฟียแห่งพาลาทิเนต-เนาบูร์ก และมีพระราชโอรสสืบราชวงศ์ต่อไป ส่วนเจ้าหญิงอิซาเบล ลุยซาพระธิดาเพียงพระองค์เดียวของพระนางมาเรีย ฟรานซิสกาก็สิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุเพียง 21 พรรษา
พระบรมศพของพระนางเดิมได้ถูกฝังที่ คอนแวนต์แห่งฟรานซ์ชินฮาส และต่อมาในปีพ.ศ. 2455 ได้ถูกย้ายไปฝังร่วมกับพระราชวงศ์บราแกนซาที่มหาวิหารเซา วิเซนเต เดอ ฟอรา
รัชทายาท
[แก้]พระนาม | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา | |
เจ้าหญิงอิซาเบล ลุยซา โจเซฟาแห่งเบย์รา | พ.ศ. 2212 |
6 มกราคมพ.ศ. 2233 |
22 ตุลาคมเตรียมเพื่ออภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ อมาเดอุสที่ 2 แห่งซาร์ดิเนีย ผู้เป็นพระญาติ แต่แผนการต้องล้มเหลวเพราะความขัดแย้งระหว่างราชสำนักทั้งสอง เจ้าหญิงเอลิซาเบธ หลุยซาสิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุเพียง 21 พรรษาปราศจากรัชทายาท |
พระราชตระกูล
[แก้]16. ฟิลิปเป ดยุคแห่งเนมัวส์ | ||||||||||||||||
8. จาคส์ ดยุคแห่งเนมัวส์ | ||||||||||||||||
17. โคลดีน เดอ บรอส | ||||||||||||||||
4. อองรีที่ 1 ดยุคแห่งเนมัวส์ | ||||||||||||||||
18. เออร์คอลที่ 2 เดอ เอสเต ดยุคแห่งเฟอร์เรรา | ||||||||||||||||
9. แอนนา เดอ เอสเต ดัสเชสแห่งเนมัวส์ | ||||||||||||||||
19. เจ้าหญิงเรอเนแห่งฝรั่งเศส | ||||||||||||||||
2. ชาร์ลส์ อมาเดอุส ดยุคแห่งเนมัวส์ | ||||||||||||||||
20. โคลด ดยุคแห่งออเมล | ||||||||||||||||
10. ชาร์ลส์ ดยุคแห่งออเมล | ||||||||||||||||
21. หลุยส์ เดอ บรีเซ | ||||||||||||||||
5. แอนน์ เดอ ลอร์เรน | ||||||||||||||||
22. เรเน มาควิสแห่งเอลบลัฟ | ||||||||||||||||
11. มารี เดอ ลอร์เรน | ||||||||||||||||
23. หลุยส์ เดอ รูกซ์ | ||||||||||||||||
1. มาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส | ||||||||||||||||
24. สมเด็จพระเจ้าแอนโทนแห่งนาวาร์ | ||||||||||||||||
12. พระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส | ||||||||||||||||
25. สมเด็จพระราชินีนาถโจนที่ 3 แห่งนาวาร์ | ||||||||||||||||
6. ซีซาร์ ดยุคแห่งเวนโดเม | ||||||||||||||||
26. แอนโทน เดอ เอสเต | ||||||||||||||||
13. กาเบรียล เดสเทร่ส์ | ||||||||||||||||
27. ฟรังซ้วส์ บาโบ เดอ ลา โบดายซิเอ | ||||||||||||||||
3. เอลิซาเบธ เดอ บูร์บง | ||||||||||||||||
28. นิโคลัส ดยุคแห่งเมอร์ซัวส์ | ||||||||||||||||
14. ฟิลิปเป เอ็มมานูเอล ดยุคแห่งเมอร์ซัวส์ | ||||||||||||||||
29. ดัสเชสโจนแห่งซาวอย | ||||||||||||||||
7. ฟรังซัวส์ เดอ ลอร์เรน ดัสเชสแห่งเวนโดเม | ||||||||||||||||
30. เซบาสเตียน ดยุคแห่งเพนทีฟเร | ||||||||||||||||
15. มารี เดอ ลักเซมเบิร์ก ดัสเชสแห่งเพนทีฟเร | ||||||||||||||||
31. มารี เดอ โบแคร์ | ||||||||||||||||
พระอิศริยยศ
[แก้]- 21 มิถุนายน พ.ศ. 2189 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2209 : มาดมัวแซล เดอ ออเมล
- 2 สิงหาคม พ.ศ. 2209 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2211 : สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ
- 24 มีนาคม พ.ศ. 2211 - 2 เมษายน พ.ศ. 2211 : ท่านหญิงมาเรีย ฟรานซิสกา เดอ บราแกนซา
- 2 เมษายน พ.ศ. 2211 - 12 กันยายน พ.ศ. 2226 : ดัสเชสแห่งเบจา
- 12 กันยายน พ.ศ. 2226 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2226 : สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ
อ้างอิง
[แก้]- http://womenshistory.about.com/od/rulerspre20th/tp/women_rulers_early_modern.01.htm
- http://ann-lauren.blogspot.com/2009/06/17th-cent-maria-francisca-of-savoy.html
ก่อนหน้า | มารี ฟร็องซวซแห่งซาวอย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าหญิงหลุยซาแห่งเมดินา-ซิโดเนีย | สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ (2 สิงหาคม พ.ศ. 2209 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2211) |
เจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอยในการอภิเษกสมรสครั้งที่สอง | ||
เจ้าหญิงมาเรีย ฟรานซิสกาแห่งซาวอยในการอภิเษกสมรสครั้งแรก | สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกสและอัลเกรฟ (12 กันยายน พ.ศ. 2226 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2226) |
เจ้าหญิงมาเรีย โซเฟียแห่งพาลาทิเนต-เนาบูร์ก |