ข้ามไปเนื้อหา

ภูมิศาสตร์มนุษย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"การแบ่งเหนือ-ใต้" ลักษณะสำคัญของภูมิศาสตร์การพัฒนาและเศรษฐกิจ
คาร์ล ริทเทอร์ นักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมัน - ถือกันว่าเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกภูมิศาสตร์สมัยใหม่ คู่กับ อเล็กซานเดอร์ ฟอน ฮุมโบลด์ท

ภูมิศาสตร์มนุษย์ เป็นหนึ่งในสองสาขาหลักของภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์มนุษย์คือการศึกษาความเข้าใจและการใช้งานผืนโลกของมนุษย์ และกระบวนการที่มีผลกระทบต่อสิ่งนั้น มันเกี่ยวโยงกับทั้งสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ภูมิศาสตร์มนุษย์นั้นโดยทั่วไปแตกต่างอยากมากจากภูมิศาสตร์กายภาพ โดยมันเน้นมากกว่าในการศึกษาแบบแผนที่จับต้องไม่ได้หรือเป็นนามธรรมรอบ ๆ กิจกรรมของมนุษย์ และเปิดรับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมากกว่า ภูมิศาสตร์มนุษย์รวมเอาแง่มุมทางมนุษย์ การเมือง วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของสังคมศาสตร์เอาไว้ ในขณะที่จุดเน้นหลักของภูมิศาสตร์มนุษย์จะไม่ใช่ภูมิทัศน์เชิงกายภาพของโลก แต่มันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะคุยเรื่องภูมิศาสตร์มนุษย์ โดยไม่พูดถึงภูมิทัศน์ทางกายภาพที่กิจกรรมของมนุษย์ดำเนินอยู่ในนั้น และโดยไม่พูดถึงภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นตัวเชื่อมสำคัญระหว่างมนุษย์และโลก

ภูมิศาสตร์มนุษย์นั้นมีความหลากหลายทั้งในวิธีวิทยาและทฤษฎี ซึ่งรวมถึงวิธีในแบบสตรีนิยม มาร์กซิสม์ หลังโครงสร้างนิยม ฯลฯ และใช้ทั้งระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ (เช่น ชาติพันธุ์วรรณาและการสัมภาษณ์) และเชิงปริมาณ (เช่น การสำรวจทางสถิติ, การวิเคราะห์ทางสถิติ, และการสร้างตัวแบบ)

สาขาหลักของภูมิศาสตร์มนุษย์ ได้แก่ วัฒนธรรม, การพัฒนา, เศรษฐกิจ, สุขภาพ, ประวัติศาสตร์, การเมือง, ประชากร, การท่องเที่ยว, และเมือง

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]