ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาเบรอตาญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาเบรอตง)
ภาษาเบรอตาญ
brezhoneg
ป้ายสองภาษาในเมืองอุแอลกวต แคว้นเบรอตาญ
ออกเสียง[bʁeˈzɔ̃ːnɛk], [brəhɔ̃ˈnek]
ประเทศที่มีการพูดประเทศฝรั่งเศส
ภูมิภาคเบรอตาญตอนล่าง
ชาติพันธุ์ชาวเบรอตาญ
จำนวนผู้พูด210,000 คนในแคว้นเบรอตาญ  (2018)[1]
16,000 คนในแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์[2]
(รวมนักเรียนในการศึกษาสองภาษา)[3]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
เบรอตาญเก่า
  • เบรอตาญกลาง
    • ภาษาเบรอตาญ
ภาษาถิ่นวาน
กอร์นวย
เลอง
เทรกอร์
ระบบการเขียนอักษรละติน (ชุดตัวอักษรเบรอตาญ)
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในประเทศฝรั่งเศส
ผู้วางระเบียบสำนักงานภาษาเบรอตาญของรัฐ
รหัสภาษา
ISO 639-1br
ISO 639-2bre
ISO 639-3มีหลากหลาย:
bre – เบรอตาญสมัยใหม่
xbm – เบรอตาญกลาง
obt – เบรอตาญเก่า
นักภาษาศาสตร์xbm เบรอตาญกลาง
 obt เบรอตาญเก่า
Linguasphere50-ABB-b (วิธภาษา: 50-ABB-ba ถึง -be)
Map showing numbers of Breton speakers by pays (county) within Brittany, with higher numbers in the westernmost counties, decreasing eastward
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาเบรอตาญ (ค.ศ. 2004)
แผนที่ชุดภาษาใกล้สูญของโลกของยูเนสโกจัดให้ภาษาเบรอตาญเป็นภาษาใกล้สูญขั้นรุนแรง[4]
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาเบรอตาญ (ฝรั่งเศส: Breton, ออกเสียง: [bʁətɔ̃]; เบรอตาญ: brezhoneg, ออกเสียง [bʁeˈzɔ̃ːnɛk] ( ฟังเสียง))[5] เป็นภาษาบริตันตะวันตกเฉียงใต้ภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาเคลต์ที่มีผู้พูดในแคว้นเบรอตาญ ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นภาษาเคลต์เพียงภาษาเดียวที่มีผู้ใช้งานอย่างแพร่หลายในยุโรปภาคพื้นทวีป แม้ว่าภาษานี้จะเป็นส่วนหนึ่งของสาขาเคลต์หมู่เกาะแทนที่จะเป็นสาขาเคลต์ภาคพื้นทวีปก็ตาม[6]

ภาษาเบรอตาญนำเข้าจากบริเตนใหญ่มายังอาร์โมริกา (ชื่อโบราณของแคว้นชายฝั่งที่รวมคาบสมุทรเบรอตาญ) พร้อมกับการย้ายถิ่นเข้ามาของชาวบริตันในสมัยกลางตอนต้น ทำให้ภาษานี้จัดอยู่ในสาขาเคลต์หมู่เกาะ ภาษาเบรอตาญมีความใกล้ชิดกับภาษาคอร์นวอลล์ (ซึ่งเป็นภาษาบริตันตะวันตกเฉียงใต้อีกภาษา) มากที่สุด[7]

ในแผนที่ชุดภาษาใกล้สูญของโลกของยูเนสโกจัดให้ภาษาเบรอตาญอยู่ในกลุ่ม "ใกล้สูญขั้นรุนแรง" เนื่องจากมีผู้พูดลดลงจากจำนวนมากกว่า 1 ล้านคนเมื่อประมาณ ค.ศ. 1950 เหลือประมาณ 200,000 คนในทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21[4] อย่างไรก็ตาม จำนวนเด็กที่เข้าเรียนชั้นเรียนสองภาษาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33 ระหว่าง ค.ศ. 2006 ถึง 2012 โดยเพิ่มขึ้น 14,709 คน[3][1]

ตัวอย่าง

[แก้]

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1

เบรอตาญ:
Dieub ha par en o dellezegezh hag o gwirioù eo ganet an holl dud. Poell ha skiant zo dezho ha dleout a reont bevañ an eil gant egile en ur spered a genvreudeuriezh.[8]
ไทย:
มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ[9]

คำอธิษฐานขององค์พระผู้เป็นเจ้า

[แก้]
Hon Tad,
cʼhwi hag a zo en Neñv,
ra vo santelaet hocʼh anv.
Ra zeuio ho Rouantelezh.
Ra vo graet ho youl war an douar evel en neñv.
Roit dimp hiziv bara hor bevañs.
Distaolit dimp hon dleoù
evel m'hor bo ivez distaolet d'hon dleourion.
Ha n'hon lezit ket da vont gant an temptadur,
met hon dieubit eus an Droug.

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Enquête socio-linguistique : qui parle les langues de bretagne aujourd'hui ?". Région Bretagne. 8 October 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-06. สืบค้นเมื่อ 9 October 2018.
  2. Diagnostic de la langue bretonne en Île-de-France. Ofis Publik ar Brezhoneg.
  3. 3.0 3.1 Broudic, Fañch (2009). Parler breton au XXIe siècle : Le nouveau sondage de TMO Régions (ภาษาฝรั่งเศส). Emgleo Breiz.
  4. 4.0 4.1 Moseley, Christopher; Nicolas, Alexander, บ.ก. (2010). Atlas of the World's Languages in Danger (PDF) (3rd ed.). Paris: UNESCO. ISBN 978-92-3-104096-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2022.
  5. Bauer, Laurie (2007). The Linguistic Student's Handbook. Edinburgh University Press.
  6. Diamond, Jared (2012) The World Until Yesterday New York: Viking. p.399. ISBN 978-0-670-02481-0
  7. "Breton language". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2017-09-18.
  8. "Universal Declaration of Human Rights". Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights.
  9. "ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน". แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]