ภาษาครีโอลเฮติ
ภาษาครีโอลเฮติ | |
---|---|
Kreyòl ayisyen | |
ออกเสียง | [kɣejɔl ajisjɛ̃] |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศเฮติ |
จำนวนผู้พูด | 9.6 ล้านคน (2007)[1] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | ลาติน (อักษรครีโอลเฮติ) |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | เฮติ |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | บาฮามาส[4] คิวบา[4] สาธารณรัฐโดมินิกัน[4] สหรัฐอเมริกา[4] |
ผู้วางระเบียบ | Akademi Kreyòl Ayisyen[5] |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | ht |
ISO 639-2 | hat |
ISO 639-3 | hat |
Linguasphere | 51-AAC-cb |
ที่ตั้งของประเทศเฮติ | |
ภาษาครีโอลเฮติ (ครีโอลเฮติ: Kreyòl ayisyen[6]; ฝรั่งเศส: Créole haïtien; อังกฤษ: Haitian Creole) เป็นภาษาครีโอลที่ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่มาจากภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากภาษาโปรตุเกส ภาษาสเปน ภาษาอังกฤษ ภาษาตาอีโน และภาษาต่าง ๆ ในแถบแอฟริกาตะวันตก[7]โดยมีผู้พูดประมาณกว่า 10–12 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นชาวเฮติ[8][9][10]
ก่อนช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาครีโอลเฮติเป็นภาษาที่มีการใช้กันในวงจำกัด[8] โดยประเด็นเกี่ยวกับการใช้และการเรียนการสอนภาษาครีโอลเฮติซึ่งเป็นภาษาที่ชาวฝรั่งเศสไม่สามารถเข้าใจได้เป็นประเด็นที่มีการโต้เถียงกันมาแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากชาวเฮติบางคนมองว่าภาษาฝรั่งเศสเป็นอิทธิพลของพวกล่าอาณานิคม และชนชั้นสูงในฝรั่งเศสมักดูถูกภาษาครีโอลเฮติว่าเปรียบเสมือนภาษาฝรั่งเศสของคนที่ไร้การศึกษาหรือคนยากจน[11]
ภาษาครีโอลเฮติเป็นภาษาที่มีการใช้กันในวงจำกัด การเรียนการสอนในโรงเรียนส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก โดยก่อนหน้านี้เมื่อปี พ.ศ. 2521 ก็เคยมีการเสนอให้ใช้ภาษาครีโอลเฮติในการเรียนการสอนในสี่ปีแรกของชั้นประถมศึกษา แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก[12] แต่ก็ส่งผลให้มีการใช้ภาษาครีโอลเฮติในวงกว้างขึ้นเล็กน้อย ปัจจุบันรัฐบาลเฮติได้พยายามขยายการใช้ภาษาครีโอลเฮติให้กว้างขึ้น รวมถึงปรับปรุงระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วย[13][14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mikael Parkvall, "Världens 100 största språk 2007" (The World's 100 Largest Languages in 2007), in Nationalencyklopedin
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGurevich2004
- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Haitian". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Dufour, Fritz, บ.ก. (2017). "Exploring the Possibilities for the Emergence of a Single and Global Native Language". Language Arts & Disciplines. p. 4. สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
- ↑ "Cérémonie de lancement d'un partenariat entre le Ministère de l'Education Nationale et de la Formation Professionnelle et l'Académie Créole" (ภาษาฝรั่งเศส และ เฮติครีโอล). Port‑au‑Prince, Haiti: Government of the Republic of Haiti. 8 July 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2015. สืบค้นเมื่อ 5 December 2015.
- ↑ Valdman, Albert (2002). "Creole: The National Language of Haiti". Footsteps. 2 (4): 36–39. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2015.
- ↑ Bonenfant, Jacques L. (2011). "History of Haitian-Creole: From Pidgin to Lingua Franca and English Influence on the Language" (PDF). Review of Higher Education and Self-Learning. 3 (11). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2015.
- ↑ 8.0 8.1 DeGraff, Michel; Ruggles, Molly (1 August 2014). "A Creole Solution for Haiti's Woes". The New York Times. p. A17. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2015.
Under the 1987 Constitution, adopted after the overthrow of Jean‑Claude Duvalier’s dictatorship, [Haitian] Creole and French have been the two official languages. But at least 95 percent of the population speaks only Creole.
- ↑ Léonidas, Jean-Robert (1995). Prétendus Créolismes: Le Couteau dans l'Igname [So‑Called Creolisms: The Knife in the Yam] (ภาษาฝรั่งเศส). Montréal: Editions du CIDIHCA. ISBN 978-2-920862-97-5. LCCN 95207252. OCLC 34851284. OL 3160860W.
- ↑ Nadeau, Jean-Benoît; Barlow, Julie (2008) [1st pub. 2006]. "Far from the Sun". The Story of French. New York: St. Martin's Press. p. 97. ISBN 978-0-312-34184-8. LCCN 2006049348. OCLC 219563658.
There are more speakers of French-based Creoles than all other Creoles combined (including English), thanks mostly to Haiti, the biggest Creole-speaking nation in the world...
- ↑ DeGraff, Michel (2003). "Against Creole exceptionalism" (PDF). Language. 79 (2): 391–410. doi:10.1353/lan.2003.0114. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2015.
- ↑ World Education Encyclopedia: A Survey of Educational Systems Worldwide. Detroit, MI: Gale Group. 2002. ISBN 978-0-02-865594-9.
- ↑ Daniel, Trenton (6 February 2013). "Haitian schools expand use of Creole language". US News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2017.
- ↑ Hebblethwaite, Benjamin (2012). "French and underdevelopment, Haitian Creole and development" (PDF). Journal of Pidgin and Creole Languages. 27:2 (2): 255–302. doi:10.1075/jpcl.27.2.03heb. ISSN 0920-9034. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-27. สืบค้นเมื่อ 2018-10-18.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Anglade, Pierre (1998). Inventaire Étymologique des Termes Créoles des Caraibes d'origine Africaine (ภาษาฝรั่งเศส). Editions L'Harmattan. ISBN 9782296352582.
- DeGraff, Michel (2001). "Morphology in Creole genesis: Linguistics and ideology" (PDF). ใน Kenstowicz, Michael (บ.ก.). Ken Hale: A life in language. Cambridge, Massachusetts: MIT Press. pp. 52–121. ISBN 978-0-262-61160-2. LCCN 00-061644. OCLC 44702224. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2015.
- Lang, George (2004). "A Primer of Haitian Literature in Kreyòl ". Research in African Literatures. 35 (2): 128–140. doi:10.1353/ral.2004.0046. ISSN 1527-2044. JSTOR 3821349. S2CID 162026210.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Indiana University Creole Institute".
- Haitian Creole basic vocabulary (from Wiktionary's Swadesh-list appendix)
- Haitian Creole-English dictionary (PDF) เก็บถาวร 2021-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน