พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ประจิน จั่นตอง (รักษาการ) |
ถัดไป | พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | พีรพันธุ์ พาลุสุข |
ถัดไป | อรรชกา สีบุญเรือง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 กันยายน พ.ศ. 2498 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | สภา ดุรงคเวโรจน์ |
พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมคนแรกของกระทรวง กรรมการในคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล[1] กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ[2]กรรมการ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ [3]ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และเป็นอดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประวัติ
[แก้]พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เกิดเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของนายเหลี่ยงฉื่อ แซ่เบ๊ กับนางเอ๊กเตียง แซ่แต้ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2522 ระดับปริญญาโทด้านพลังงานแสงอาทิตย์ จาก Trinity University และปริญญาโท-เอก สาขานโยบายและการจัดการสาธารณะ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
การทำงาน
[แก้]พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เคยเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี[4] และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ในระหว่างปี พ.ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ. 2540 เป็นผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึงปี พ.ศ. 2544 และเป็นประธานคณะทำงานของอาเซียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปี พ.ศ. 2544 ถึงปี พ.ศ. 2546[5]
ในปี พ.ศ. 2546 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ และในปี พ.ศ. 2552 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[5]
ในปี พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[6]
ในปี พ.ศ. 2559 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[7]อาศัยตามมาตรา 6 ตามพระราชบัญญัติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 เขาจึงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมคนแรกที่ได้เป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/067/T_0057.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/085/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/057/T_0008.PDF
- ↑ "ศูนย์นวัตกรรมนโยบาย มจธ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-17. สืบค้นเมื่อ 2014-09-11.
- ↑ 5.0 5.1 "กรรมการมูลนิธิสิ่งแวดล้อมไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-09-11.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
- ↑ พระราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอน ๔๗ ข หน้า ๒, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๑๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
ก่อนหน้า | พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง (รักษาราชการแทน) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) |
พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ | ||
พีรพันธุ์ พาลุสุข (น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รักษาราชการแทน) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559) |
อรรชกา สีบุญเรือง |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักวิจัย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.