พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ
พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ | |
---|---|
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (2 ปี 231 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | ทัศนีย์ ชาญวีรกูล (คู่สมรสรักษาการนายกรัฐมนตรี) เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (คู่สมรสนายกรัฐมนตรี) |
ถัดไป | อนุสรณ์ อมรฉัตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พิมพ์เพ็ญ ศกุนตาภัย 5 สิงหาคม พ.ศ. 2507 |
คู่สมรส | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (สมรส 2531) |
บุตร | ปราง เวชชาชีวะ ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
บุพการี |
|
เป็นที่รู้จักจาก | ภริยานายกรัฐมนตรี |
ศาสตราจารย์[1] ทันตแพทย์หญิง พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ (เกิด 5 สิงหาคม พ.ศ. 2507) อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นภรรยาอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรรมการ และรองประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ประวัติ
[แก้]พิมพ์เพ็ญมีชื่อเล่นว่า "แตงโม" แต่มักเรียกสั้น ๆ ว่า "แตง" เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2507 เป็นบุตรสาวของศาสตราจารย์ (พิเศษ) พงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับประพาพิมพ์ ศกุนตาภัย (สกุลเดิม: สุวรรณศร) อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[2](ธปท.)
พิมพ์เพ็ญเป็นหลานยายของอัมพา สุวรรณศร (สกุลเดิม: ณ ป้อมเพชร) ซึ่งเป็นน้องสาวของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยาปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรี และยังเป็นญาติกับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร (สกุลเดิม: ดามาพงศ์) อดีตภรรยาทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[3][4]
พิมพ์เพ็ญสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีจากคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาวิชาคณิตศาสตร์จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชีวิตสมรส
[แก้]ในปี พ.ศ. 2531 หลังจากพิมพ์เพ็ญ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้สมรสกับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นเพื่อนนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้ติดตามอภิสิทธิ์ไปยัง เมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ในช่วงที่อภิสิทธิ์ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ โดยใช้ชีวิตอยู่ในประเทศอังกฤษเป็นระยะเวลา 2 ปี หลังจากกลับมาใช้ชีวิตในประเทศไทย ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ ปราง เวชชาชีวะ (บุตรสาว) กับ ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ (บุตรชาย)[5] ปัณณสิทธิ์นั้นเป็นโรคออทิซึมมาแต่กำเนิด ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจึงสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของอภิสิทธิ์ผู้เป็นบิดาตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2555[6]
การทำงาน
[แก้]พิมพ์เพ็ญ ได้ประกอบอาชีพทันตแพทย์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2539 ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาคณิตศาสตร์ ที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นวิชาที่รักมาตั้งแต่เยาว์วัย(อาจารย์พิมพ์เพ็ญเคยตอบถึงสาเหตุว่าทำไมจึงเลือกทำงานเป็นอาจารย์ในค��ะวิทยาศาสตร์ "อาจารย์ชอบเรียนคณิตศาสตร์มากกว่าเรียนหมอฟัน")[7] จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทนี้ด้วยผลการเรียนเฉลี่ย 4.00 ซึ่งทำให้ได้รับรางวัลมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ เนื่องจากเป็นผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2541 และได้รับการบรรจุให้รับราชการ ตำแหน่งอาจารย์ สังกัดภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีเดียวกัน และสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาเอก สาขาคณิตศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2546
ปัจจุบัน ศ.ทญ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ สาขาคณิตศาสตร์ ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2567 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของพิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์ หน้า ๗ เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๒๓ ง, ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔
- ↑ นกน้อยบางขุนเทียน. "ความรักและการเมือง บนถนนชีวิต 'อภิสิทธิ์-พิมพ์เพ็ญ'". เนชั่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-22. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ณ ป้อมเพชร ตระกูล "First Lady" 3 รัฐบาล เรื่องชวนทอล์กในนิตยสาร TALK". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 8 มกราคม 2557. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "3 สตรี ณ ป้อมเพชร ลมใต้ปีก 3 ผู้นำรัฐบาล". ข่าวสด. 9 มกราคม 2557. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ The Nation, Abhisit, Chuan's young protege gets his turn at last เก็บถาวร 2008-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 15-12-2008
- ↑ "ประกาศศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เรื่อง ศาลมีคำสั่งว่า นายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลงวันที่ 3 กันยายน 2555" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา (ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 129, ตอนที่ 124 ง, หน้า 6). 8 พฤศจิกายน 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2013-08-01. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2555.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ จากการสอบถามอาจารย์ในชั่วโมงบรรยายแคลคูลัส 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๐, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๑๘๗, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ
- ความรักและการเมือง บนถนนชีวิต 'อภิสิทธิ์-พิมพ์เพ็ญ' เก็บถาวร 2008-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เนชั่น สุดสัปดาห์
- ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ก่อนหน้า | พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ | คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย (17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554) |
อนุสรณ์ อมรฉัตร |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2507
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- สกุล ณ ป้อมเพชร์
- สกุลเวชชาชีวะ
- ทันตแพทย์ชาวไทย
- ทันตแพทย์หญิง
- นักวิชาการชาวไทย
- นักคณิตศาสตร์ชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์
- อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์
- คู่สมรสของนายกรัฐมนตรีไทย
- อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นิสิตเก่าคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.