พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอัฟกานิสถาน
![]() พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอัฟกานิสถานเมื่อปี 2005 | |
![]() | |
ก่อตั้ง | 1922 |
---|---|
ที่ตั้ง | เขต 6 คาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 34°28′3″N 69°7′12″E / 34.46750°N 69.12000°E |
ขนาดผลงาน | 100,000 คน (1978), ปัจจุบัน 50,000-80,000 คน[1][2][3] |
ผู้อำนวยการ | โมฮาเมด ซูบัยร์ อาเบดี (Mohammed Zubair Abedi)[1][4] |
เว็บไซต์ | https://www.nationalmuseum.af/ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอัฟกานิสถาน (ดารี: موزیم ملی افغانستان; ปาทาน: د افغانستان ملی موزیم) เป็นอาคารความสูง 2 ชั้น ตั้งอยู่ตรงข้ามถนนกับวังดารุลอามานในย่านดารุลอามาน กรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน ในอดีตพิพิธภัณฑ์นี้เคยถือว่าเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่ดีที่สุดของโลก[5][6] และเคยมีรายงานเกี่ยวกับการขยายอาคารพิพิธภัณฑ์และการสร้างพิพิธภัณฑ์หลังใหม่อยู่[7]
ของสะสมของพิพิธภัณฑ์ในอดีตถือว่าเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญที่สุดชุดหนึ่งในเอเชียกลาง[8] ด้วยของสะสมมากกว่า 100,000 ชิ้นที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงหลายพันปีก่อน และมีวัตถุจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้งเปอร์เซีย พุทธ และอิสลามเป็นต้น อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่สงครามกลางเมืองที่เริ่มต้นในปี 1992 ได้ถูกปล้นหลายครั้งและถูกจรวดโจมตีอีกจำนวนหนึ่ง เป็นผลให้ของสะสมกว่า 70% ที่จัดแสดงสูญหายโดยถาวร[9][10] นับตั้งแต่ปี 2007 ได้มีองค์การนานาชาติจำนวนหนึ่งร่วมกันช่วยกู้คืนโบราณวัตถุราว 8,000 ชิ้น ซึ่งรวมถึงรูปปั้นแกะสลักหินทรายที่ได้คืนมาจากเยอรมนี[11] ในปี 2012 ได้มีโบราณวัตถุ 843 ชิ้นที่สหราชอาณาจักรส่งมอบคืน ซึ่งรวมถึงงาช้างเบกรามอันมีชื่อเสียง[12]
ประวัติศาสตร์
[แก้]พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอัฟกานิสถานเปิดให้บริการในปี 1919 ในรัชสมัยของกษัตริย์อามานุลลอฮ์ ข่าน[13] ของสะสมเดิมทีจัดแสดงภายในพระราชวังบาเฆบาลา และในปี 1922 ได้ย้ายออกมาพร้อมใช้ชื่อของสะสมว่า "ของสะสมหายาก" ('Cabinet of Curiosities')[14] อาคารหลังปัจจุบันของพิพิธภัณฑ์ได้ย้ายมาเริ่มต้นใช้งานในปี 1931[15] ในปี 1973 สถาปนิกชาวเดนมาร์กได้รับการว่าจ้างให้ออกแบบอาคารใหม่ของพิพิธภัณฑ์ อย่างไรก็ตามไม่มีความคืบหน้าในการก่อสร้างอาคารใหม่นี้[16] ในปี 1989 ทองคำแบกเตรียได้ถูกเคลื่อนย้ายไปยังคลังใต้ดินของธนาคารกลางอัฟกานิสถาน[9]
หลังการล่มสลายของรัฐบาลของโมฮาเมด นาญีบุลลอฮ์ และการเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 พิพิธภัณฑ์ถูกปล้นหลายรอบ เป็นผลให้ของสะสมมากกว่า 70% สูญหาย[9] ในเดือนพฤษภาคม 1993 มีการโจมตีทางจรวดลงที่พิพิธภัณฑ์ ซากของอาคารได้ถล่มลงมาทับโบราณวัตถุภายใน ซึ่งรวมถึงเครื่องปั้นดินเผาโบราณ[17] ในเดือนมีนาคม 1994 พิพิธภัณฑ์ในตอนนั้นใช้งานเป็นฐานบัญชาการของกองทัพ ได้ถูกจรวดโจมตีและเสียหายอย่างหนัก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศและวัฒนธรรม ในสมัยของประธานาธิบดีบูร์ฮานูดดีน รับบานี มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ 71 คนเริ่มทำการเคลื่อนย้ายโกดังวัตถุของพิพิธภัณฑ์ไปไว้ยังโรงแรมคาบูล (ปัจจุบันคือโรงแรมเซรีนา คาบูล) เพื่อป้องกันความเสียหายจากการโจมตีด้วยจรวดและระเบิดในอนาคต[16] การขนย้ายเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน 1996[8] ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม 2001 กลุ่มตอลิบานได้เข้าทำลายโบราณวัตถุจำนวนมากเนื่องด้วยเหตุผลทางศาสนา[18] โดยมีรายงานในช่วงปลายปีเดียวกันว่าตอลิบานทำลายโบราณวัตถุมากกว่า 2,750 ชิ้นในปีนั้น[19]
ในการโจมตีของตอลิบานปี 2021 และหลังการยึดกรุงคาบูลสำเร็จ โมฮามัด ฟาฮีม รอฮีมี (Mohammad Fahim Rahimi) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ซึ่งอยู่ในตำแหน่งตั้งแต่ปี 2016 ประกาศสัญญาว่าตนจะคงตำแหน่งนี้เพื่อพิทักษ์ของสะสมของพิพิธภัณฑ์ หลังเกิดความกังวลอย่างมากไปทั่วว่าตอลิบานอาจจะเข้ามาทำลายโบราณวัตถุอีกครั้ง ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นไปแล้วในคริสต์ทศวรรษ 1990[20] ข้อมูลจากเดือนมีนาคม 2023 ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ (แทน) คือ โมฮามัด ซูบัยร์ อาเบดี (Mohammad Zubair Abedi)[1][4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Over 50 instances of artifact smuggling prevented in last 18 months: officials". Ariana News. March 21, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-03-22.
- ↑ "The Taliban destroyed Afghanistan's ancient treasures. Will history repeat itself?". National Geographic Society. August 14, 2021. สืบค้นเมื่อ 2023-03-22.
- ↑ "National Museum of Afghanistan express growing concerns for the safety of ancient artefacts in the region". Mashable. August 18, 2021. สืบค้นเมื่อ 2023-03-22.
- ↑ 4.0 4.1 "57 Ancient Coins Handed Over to National Museum". TOLOnews. March 22, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-03-22.
- ↑ From Our Own Correspondent - a celebration of fifty years of the BBC Radio Programme by Tony Grant
- ↑ Games without Rules: The Often-Interrupted History of Afghanistan by Tamim Ansary
- ↑ "Director Says National Museum Needs Larger Building for Major Exhibits". TOLOnews. 12 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2023-03-22.
- ↑ 8.0 8.1 Girardet, Edward; Jonathan Walter, บ.ก. (1998). Afghanistan. Geneva: CROSSLINES Communications, Ltd. p. 291.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Lawson, Alastair (1 March 2011). "Afghan gold: How the country's heritage was saved". BBC. สืบค้นเมื่อ 1 March 2011.
- ↑ Burns, John F. (30 November 1996). "Kabul's Museum: The Past Ruined by the Present". The New York Times.
- ↑ (31 January 2012) Germany returns Afghan sculpture bbc.co.uk/news/
- ↑ (19 July 2012) Looted art returned to Afghanistan, bbc.co.uk
- ↑ Afghanistan: Hidden Treasures from the National Museum, Kabul (2008), p. 35. Eds., Friedrik Hiebert and Pierre Cambon. National Geographic, Washington, D.C. ISBN 978-1-4262-0374-9.
- ↑ Meharry, Joanie Eva "The National Museum of Afghanistan: In Times of War" เก็บถาวร 2010-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Levantine Review
- ↑ "National Museum of Afghanistan - SILK ROAD". en.unesco.org.
- ↑ 16.0 16.1 Grissmann, Carla (February 19, 2004). "KABUL MUSEUM". ใน Ehsan Yarshater (บ.ก.). Encyclopædia Iranica (Online ed.). United States: Columbia University.
- ↑ "Museum Under Siege: Full Text - Archaeology Magazine Archive". archive.archaeology.org.
- ↑ "Destruction in Kabul: I watched as the Taliban destroyed my life's work". BBC News. 20 January 2016. สืบค้นเมื่อ 15 February 2019.
- ↑ "Taliban destroyed museum exhibits". The Daily Telegraph. 23 November 2001.
- ↑ "Afghan national museum chief on institute's future: 'I was ready to give my life for it'". The National. 2021-09-15. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.