ข้ามไปเนื้อหา

พะทรอคลัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จิตรกรรม พะทรอคลัส โดยฌัก-หลุยส์ ดาวีด

ในเทพปกรณัมกรีก พะทรอคลัส (อังกฤษ: Patroclus) หรือ ปาโตรโกลส (กรีกโบราณ: Πάτροκλος) เป็นสหายสนิทและเพื่อนร่วมออกศึกของอคิลลีส เขาเป็นโอรสของท้าวมานีเชียสแห่งแคว้นโอปุส ท้าวมานีเชียสยกเขาให้แก่ท้าวพีลยูสแห่งไทอา ซึ่งท้าวพีลยูสทรงตั้งชื่อเจ้าชายน้อยว่าพะทรอคลัส ทั้งอคิลลีสและพะทรอคลัสจึงเติบโตขึ้นมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก[1] พะทรอคลัสที่อายุมากกว่าจึงเป็นเสมือนพี่ชายและผู้ให้คำปรึกษาแก่อคิลลีส[2]

ผู้เป็นดั่งพะโทรคลิสที่มีตัวตนอยู่จริง คือเฮฟีสเทียน สหายสนิทของอเล็กซานเดอร์มหาราช

สงครามกรุงทรอย

[แก้]

ในมหากาพย์อีเลียดบทสงครามกรุงทรอย เมื่อทหารทรอยสามารถผลักดันทหารกรีกเมอร์มิดอนจนเกือบจะถึงจุดเทียบกองเรือของทหารกรีกเมอร์มิดอน พะทรอคลัสเอ่ยปากกับอคิลลีสเพื่ออาสาจะนำทหารกรีกเมอร์มิดอนออกต่อต้านทหารทรอยให้ถอยห่างจากกองเรือ อคิลลีสยอมตามนั้น และมอบชุดเกราะของตนที่ได้รับมาจากพระบิดาให้แก่พะทรอคลัส เพื่อให้พะทรอคลัสปลอมตัวเป็นอคิลลีส อคิลลีสสั่งพะทรอคลัสกลับมาหาตนเมื่อผลักดันพวกรอยกลับไปได้แล้ว[3]

เมื่อพะทรอคลัสใส่ชุดเกราะของอคิลลีสออกไปรบ สถานการณ์รบก็กลับตาลปัตร ทหารกรีกเมอร์มิดอนสามารถรุกตีจนทหารทรอยหนีกลับเข้ากำแพงเมือง แต่พะทรอคลัสไล่ตามทหารทรอยไปจนถึงหน้าประตูเมืองกรุงทรอย[4] และฆ่าชาวทรอยและพันธมิตรไปมากมาย ซึ่งรวมถึงซาร์ปีดันบุตรแห่งซูส ทำให้ระหว่างต่อสู้นั้นเอง เทพอะพอลโลริบรอนความเก่งกาจของพะทรอคลัส เขาถูกฆ่าตายด้วยทวนโดยเจ้าชายเฮกเตอร์[5]

ความสัมพันธ์กับอคิลลีส

[แก้]
จิตรกรรม ความตายของพะทรอคลัส โดย Nikolay Ge

ความสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างอคิลลีสกับพะทรอคลัสนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันทั้งในสมัยคลาสสิกและสมัยใหม่ ถึงแม้ในหนังสือ Iliad เน้นย้ำความสัมพันธ์จุดนี้ในแง่สหายผู้ภักดีเป็นพิเศษ แต่ก็ไม่ได้ระบุว่าทั้งสองเป็นคู่รักกัน ฝ่ายโฮเมอร์เองก็ไม่ได้กล่าวถึงว่าอคิลลิสและสหายพะทรอคลัสเป็นคู่รักเช่นกัน[6] ถึงกระนั่น นักวิจารณ์สมัยคลาสสิกมักวิจารณ์ในมุมมองของวัฒนธรรมตนเท่านั้น แต่สำหรับวัฒนธรรมกรุงเอเธนส์ของกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ความสัมพันธ์แบบลึกซึ้งระหว่างชาย-ชายจะเรียกว่า เปเดราสตีส (παίδἐραστής) อย่างเช่นที่เพลโตเคยสรุปไว้ในหนังสือ Symposium ว่าอคิลลีสกับพะทรอคลัสเป็นคู่รักกัน หรือสรุปไว้ในหนังสือ Phaedrus ว่าอคีลลิสนั้นมีอายุน้อยกว่าและมีรูปโฉมงามกว่าพะทรอคลัส ดังนั้นอคีลลิสจึงรับบทบาทผู้ถูกรัก (eromenos) และพะทรอคลัสรับบทบาทผู้รัก (erastes)[7] แต่ขณะเดียวกัน สมัยกรีกโบราณไม่มีศัพท์ที่ใช้แบ่งแยกรักต่างเพศกับรักร่วมเพศอย่างชัดเจน[8] จึงอาจอนุมานได้ทั้งสองทางไม่ว่าพวกเขาอาจชอบทั้งเพศชายและเพศหญิงก็ย่อมเป็นไปได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lattimore, Richmond (2011). The Iliad of Homer. Chicago: The University of Chicago Press. pp. 474 b.23 l.85.
  2. Finlay, Robert (1980). Patroklos, Achilleus, and Peleus: Fathers and Sons in the Iliad. The Classical World. pp. 267–273.
  3. Lattimore, Richmond (2011). The Iliad of Homer. Chicago: The University of Chicago Press. pp. 353 b. 16 l. 64–87.
  4. Smith, William (1870). Dictionary of Greek and Roman biography and mythology. Boston: Little. p. 140.
  5. Lattimore, Richmond (2011). The Iliad of Homer. Chicago: The University of Chicago Press. pp. 373 b. 16 l. 804–822.
  6. Robin Fox (2011). The Tribal Imagination: Civilization and the Savage Mind. Harvard University Press. p. 223. ISBN 9780674060944. There is certainly no evidence in the text of the Iliad that Achilles and Patroclus were lovers.
  7. Plato, Symposium, 180a; the beauty of Achilles was a topic already broached at Iliad 2.673–674.
  8. Kenneth Dover, Greek Homosexuality (Harvard University Press, 1978, 1989), p. 1 et passim.