พระราชวิสุทธิประชานาถ (อลงกต ติกฺขปญฺโญ)
พระราชวิสุทธิประชานาถ (อลงกต ติกฺขปญฺโ) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | พระคุณท่าน ท่านเจ้าคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นโท วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดพระบาทน้ำพุ ลพบุรี |
อุปสมบท | พ.ศ. 2521 |
พรรษา | 42 |
ตำแหน่ง | ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3 เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ |
พระราชวิสุทธิประชานาถ นามเดิม อลงกต พลมุข ฉายา ติกฺขปญฺโ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3 เป็นผู้ให้การอุปการะช่วยเหลือผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี-เอดส์ หลายราย ปัจจุบันทางวัดยังคงรับผู้ป่วยมาดูแลอยู่เนือง ๆ
ประวัติ
[แก้]พระราชวิสุทธิประชานาถนามเดิม อลงกต นามสกุล พลมุข เกิดวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2496 อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี บิดาของท่านเป็นข้าราชการกรมทางหลวง ส่วนมารดาได้จากไปเมื่อท่านมีอายุเพียง 3 ขวบ จากนั้นท่านได้รับการดูแลจากคุณย่า โดยใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบวินัยเคร่งครัด ร่วมกับพี่น้องอีก 5 คน
การศึกษา
[แก้]เริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนโพธารามคุณารักษ์วิทยาคาร มัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ ก่อนที่จะได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับชั้นปริญญาโทสาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย และเมื่อเข้าสู่วัย 25 ปี ได้อุปสมบทที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหารใน พ.ศ.2522 ได้รับฉายา "ติกฺขปญฺโญ" และเดินทางมาฝึกสมาธิที่ถ้ำเขาเขียวในเขตวัดพระบาทน้ำพุรูปเดียวเป็นระยะเวลาประมาณ 6-7 ปี ใน พ.ศ. 2529 ได้อุปสมบทและย้ายมาจำพรรษาสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ณ วัดเขาสมโภชน์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และเริ่มศึกษาทางธรรมอย่างจริงจังโดยออกธุดงค์ ไปตามเขาและถ้ำต่างๆ หลายจังหวัด เป็นระยะเวลาประมาณ 2 - 3 ปี จนธุดงค์กลับมาที่จังหวัดลพบุรี ในปี พ.ศ. 2531 พระเถรานุเถระได้ขอให้มาจำพรรษาที่วัดพระบาทน้ำพุ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีเจ้าอาวาส และได้ตั้งพระอาจารย์อลงกต ติกขปัญโญเป็นเจ้าอาวาสมาจนถึงปัจจุบัน
ประวัติการทำงาน
[แก้]พ.ศ. 2535 เริ่มมีผู้ได้รับโรคเอชไอวีกันมากขึ้น ท่านจึงรับมาดูแล ทั้งป้อนอาหาร ซักเสื้อผ้า เช็ดตัวผู้ป่วย และให้กำลังใจเรื่อยมา ท่ามกลางกระแสการคัดค้านในเบื้องต้น มีการร้องเรียนให้ย้ายโครงการไปที่อื่น บ้างก็ประท้วงด้วยการไม่ใส่บาตร แต่ต่อมาท่านได้พยายามชี้แจงให้ผู้คนเข้าใจ จนเริ่มมีอาสาสมัครคอยให้การช่วยเหลือในหลายๆด้าน
ตำแหน่งงานทางคณะสงฆ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3[1]
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
[แก้]จากการเสียสละอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยของท่าน จึงได้ส่งผลให้ท่านได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง ดังต่อไปนี้
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
รางวัลเกียรติยศ
[แก้]รางวัลพระราชทาน
[แก้]- รางวัลมหิดลวรานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทาน
- รางวัลเสาเสมาธรรมจักร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทาน
- รางวัลแสงเทียนส่องใจ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ประทาน
- รางวัลน้ำใจงาม ประจำปี 2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทาน
อื่น ๆ
[แก้]- รางวัลคนดีศรีสังคม จากสโมสรโรตารี่
- รางวัลพลเมืองดีเด่น จากสโมสรไลอ้อนส์
- รางวัลบริการสังคมเพื่อคุณธรรม จากสำนักข่าวกรุงเทพมหานคร
สมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามที่ พระครูอาทรประชานาถ[2]
- พ.ศ. 2546 รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ในราชทินนามที่ พระอุดมประชาทร,สย.[3]
- พ.ศ. 2559 รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชวิสุทธิประชานาถ พิลาสวรกิจประชาทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". mahathera.onab.go.th.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 113, ตอนที่ 23 ข, 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539, หน้า 33
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 125, ตอน 3 ข, 14 มกราคม พ.ศ. 2551, หน้า 21
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 133, ตอนที่ 22 ข, 11 สิงหาคม 2559, หน้า 4
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2496
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- พระราชาคณะชั้นราช
- ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
- ภิกษุจากจังหวัดราชบุรี
- ภิกษุจากวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
- ภิกษุจากจังหวัดลพบุรี
- เจ้าอาวาส
- บุคคลจากอำเภอโพธาราม
- บุคคลจากอำเภอเมืองลพบุรี
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์